เช็กอาการ!! ปวดแบบไหน เข้าข่ายข้อเข่าเสื่อม


โดย BDMS

เผยแพร่




หากมีอาการปวดข้อเข่า และสงสัยว่าคือการปวดธรรมดาหรือเข้าข่ายข้อเข่าเสื่อมจะมีวิธีสังเกตอย่างไร เพื่อให้ดูแลรักษาได้ทันท่วงที

อาการปวดข้อเป็นอย่างไร
ข้อเข่าเป็นข้อต่อซึ่งมีองค์ประกอบ กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งมาต่อกัน มีกระดูกกลมๆเล็กๆอยู่ด้านหน้า ซึ่งเรียกว่า กระดูกสะบ้า รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาทที่มาเลี้ยง ฉะนั้นอวัยวะทั้งหมดที่ประกอบกันมาเป็นข้อเข่า หากส่วนใดส่วนหนึ่งอักเสบหรือผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อเข่าได้เช่นเดียวกัน 
การปวดข้อเข่าไม่ได้หมายความว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อมเสมอไป เนื่องจากกายวิภาคของข้อเข่ามีหลายส่วน

เช็กอาการ “มะเร็งผิวหนัง” ไม่อยากเป็นมีวิธีป้องกัน

เช็กอาการ!! ไข้แบบไหนป่วย โควิด-19 หรือ ไข้เลือดออก

แล้วอาการปวดข้อเข่าเกิดจากอะไรกันแน่?
หากเราหมั่นสังเกตอาการตัวเองอย่างละเอียดกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราก็จะบอกที่มาของอาการปวดได้ เช่น
1. ลักษณะของการปวดข้อ การปวดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทันที กระทันหัน เป็นภายใน 1 วันหรือครึ่งวัน โดยมากมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือจากการติดเชื้อ หรือมีการอักเสบอะไรบางอย่าง แต่หากค่อยๆ ปวดทีละนิดทีละหน่อย เป็นเรื้อรัง สาเหตุมักจะเกิดจากอย่างอื่น เช่น over use มีการใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบและเสื่อมของข้อ 
2. ช่วงอายุ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดกับคนที่มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป วัยเกษียณอายุการทำงาน 50-60 ปีปลายๆ การปวดข้อจะเป็นลักษณะของข้อเข่าเสื่อม แต่ถ้าหากเป็นวัยเด็ก เด็กนักเรียน วัยรุ่น ที่พบบ่อยมักจะเป็นการปวดข้อที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือการออกกำลังกายมากเกินไป ทำให้เกิดการอักเสบของข้อและเอ็นได้ ในวัยทำงานส่วนใหญ่ทำงานมักจะอยู่ในกลุ่มของออฟฟิศซินโดรมเพราะมักจะงอเข่าในท่าเดิมนานๆ หรือการใช้งานเข่าหนัก เช่น เดินบ่อย เดินขึ้นลงบันได เป็นต้น

4 วิธีป้องกันและบรรเทาอาการปวดข้อเข่า

1. เช็กน้ำหนักตัว หากพบว่ามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นถึงขั้นมากเกินไป ต้องรีบลดน้ำหนักตัวลง เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น

2. ออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักเพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรง เช่น การว่ายน้ำ เป็นต้น

3. หลีกเลี่ยงการอยู่ท่าเดิมนานๆ

4. หากปวดข้อเข้ามาก สามารถทานยาพาราเซตามอล แก้ปวดได้

หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้รีบพบแพทย์

ที่มาข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ