วิจัยพบกลุ่มผู้ใช้กัญชาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายสูงกว่ากลุ่มควบคุมถึง 2.5 เท่า


โดย BDMS

เผยแพร่




กัญชากำลังเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจและกล่าวถึงเป็นอย่างมากในเวลานี้

กัญชาเป็นพืชล้มลุกมีช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต้นกันในกัญชามีสารชื่อสารแคนนาบินอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้เกิดอารมณ์เคลิ้มสุข คลายกังวล และช่วยสงบประสาท หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เสพติดได้ ปริมาณสารมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูก ส่วนของต้นกัญชาที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด คือ ช่อดอก และใบ สายพันธุ์ของกัญชาที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สายพันธุ์ซาร์ติวา(satiwa) สายพันธุ์อินดิกา(indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส(ruderalis)

อย.เตรียมประชาพิจารณ์ร่าง “พ.ร.บ.กัญชง-กัญชา” ย้ำปลูกในบ้านต้องขออนุญาต

ป.ป.ส. เปิดสายด่วน ถามเรื่อง “กัญชา” ย้ำ เสพ ครอบครอง จำหน่าย ยังผิดกฎหมาย

กรมสุขภาพจิต โพสต์เตือน ใช้ กัญชา เสี่ยง “หูแว่ว-ประสาทหลอน”

ส่วนคำว่า มาลีฮวนน่า ไม่ใช่สายพันธุ์ของกัญชาแต่เป็นคำสแลงที่มาจากการใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ เพราะกัญชามีฤทธิ์ที่ทำให้ติดได้การใช้สารสกัดกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังกัญชาทางการแพทย์จะต้องมาจากขั้นตอนการปลูกที่ถูกต้องรัดกุม
การควบคุมแสง
อุณหภูมิ
การไหลเวียนของอากาศ
การสะท้อนแสง
ความชื้น
และคาร์บอนไดออกไซด์


รวมถึงการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้สารสกัดที่ได้มาตรฐาน สามารถระบุสารออกฤทธิ์และสารปนเปื้อนได้อย่างชัดเจน เพราะกัญชามีสารอินทรีย์ออกฤทธิ์กว่า 300 ชนิด

 

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จักเครื่อง ECMO  พยุงหัวใจและปอดให้ผู้ป่วยโควิด-19
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกแบบไหนเสี่ยง?


ทั้งนี้แม้ว่ากฎหมายอนุญาตให้ใช้กัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แต่จากผลการสำรวจพบว่า ส่วนมากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้กัญชาจนมาพบแพทย์ มักเกิดจากการใช้เพื่อนันทนาการ ผลข้างเคียงต่าง ๆ ต่อร่างกายทางการแพทย์ เรียกว่า ภาวะพิษจากกัญชา อาการมักไม่รุนแรง แต่ในบางกรณีอาจเกิดอาการที่รุนแรงได้ เช่น ชัก เกร็ง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จนถึงเสียชีวิต การรักษาอาการพิษจากกัญชาเป็นการรักษาตามอาการ เนื่องจากยังไม่มียาถอนพิษโดยตรง ผลข้างเคียงที่น่ากังวลมากที่สุดนั่นก็คือการเสพติดกัญชา

ปัจจุบันนี้การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีข้อบ่งชี้ในการรักษาเพียง 6 กลุ่มโรคเท่านั้น
1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดโรค
2. ลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยา
3. รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
4. ภาวะปวดประสาท
5. ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย 
6. ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

ไม่แนะนำใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาเป็นการรักษาเริ่มต้นและการให้ยาควรผ่านการรับประทานเท่านั้นการเสพสูบนำส่วนใบมาประกอบอาหารหรือต้มดื่มจึงไม่ใช่การใช้กัญชามารักษาทางการแพทย์จากงานวิจัยจาก Mayo Clinic รวบรวมข้อมูลประชากร 292,770 ราย ในช่วงปี 2011 ถึง 2016 พบว่าอุบัติการณ์โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายของกลุ่มผู้ใช้กัญชาสูงกว่ากลุ่มควบคุมถึง 2.5 เท่า โดยพบว่ากลุ่มอายุน้อยและวัยกลางคนจะมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ดังนั้นถึงแม้ว่าการเลือกบริโภคกัญชาเป็นสิทธิส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานแต่ควรระมัดระวังและคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย

ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ