โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์มือถือ Nomophobia ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิต


โดย BDMS

เผยแพร่




บทความจากเว็บไซต์ Reviews.org ระบุว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาเช็กเฉลี่ย 344 ครั้งต่อวัน! หรือทุก ๆ 4 นาที! ซึ่งการที่เราหมกหมุ่นอยู่กับการเช็กมือถือ ดูโซเชียลนี่อันตรายกว่าที่คิด เพราะนั่นหมายถึงเราอาจจะเป็นโรค Nomophobia อยู่อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว

Nomophobia มาจากคำว่า No-Mobile-Phone-Phobia หลายคนอาจจะพอทราบว่า Phobia คือโรคกลัว พอรวมกับคำที่เหลือจะแปลได้ว่า “โรคกลัวไม่มีโทรศัพท์มือถือ”

อาการของโรคนี้ คือ

- ต้องมีมือถือใกล้ตัวตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนจนหัวถึงหมอน

- ใช้เวลากับมือถือเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ รวมไปถึงเวลาเข้าห้องน้ำก็ต้องเอาไปด้วย หรือบางทีต้องเอาไปวางไว้ใกล้ตัวตอนอาบน้ำ

- หากไม่มีมือถือ จะรู้สึกไร้ที่พึ่ง เหมือนชีวิตขาดอะไรไป

- เช็กมือถือตลอดเวลา เพื่อเช็กว่าพลาดการแจ้งเตือนอะไรไปหรือเปล่า

สาธารณสุข เตือนคนติดสมาร์ทโฟน ระวังเป็น “โรคโนโมโฟเบีย”

10 โรคโฟเบีย ความกลัวแปลกๆ ที่บังเกิดขึ้นบนโลกใบนี้

ฟังดูก็เป็นเรื่องปกตินี่ ก็แค่เล่นมือถือมากเกินไป... แต่อันที่จริงแล้ว โรค Nomophobia หรือโรคขาดมือถือไม่ได้ ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เหมือนกัน ทั้งสุขภาพจิต และสุขภาพกาย

ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ คือ พอมือถือห่างตัวก็จะรู้สึกวิตก กังวล ตื่นตกใจ ไปจนถึงกลัวเลยก็มี ในบางรายเมื่อรู้ว่าช่วงเวลานี้จะไม่สามารถใช้มือถือได้ อาจจะรู้สึกไม่มั่นใจ หรือขาดที่พึ่งทางใจไปเลย

ส่วนความผิดปกติทางกาย ที่ชัดเจนเลยคือ ปัญหานอนไม่หลับ นอนยาก พักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือมากเกินไป ที่สำคัญมือถือยังมีแสง Blue Light หรือแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นแสงที่ทำให้มนุษย์ตื่น ลองคิดเล่นๆว่าถ้าเรานอนเล่นมือถือบนเตียง มือถือจ่อตาจะหลับง่ายได้อย่างไร เว้นแต่เราจะเพลียหรือน็อกจริง ๆ จนหลับคาจอ ซึ่งการเล่นมือถือก่อนนอนก็ต้องระวังปัญหาเรื่องสายตาอีกด้วย

อีกพฤติกรรมหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นคือ การเล่นมือถือในขณะขับถ่าย ระหว่างที่เรานั่งชักโครกก็เล่นมือถือไปด้วย เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะทำให้การขับถ่ายนั้นยิ่งนานขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ก็จะส่งผลให้มีเลือดคั่งที่ทวารหนัก บวกกับการเบ่งอุจจาระถี่ขึ้นและนานขึ้นกว่าเดิม ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก

คนที่เป็นโรคติดมือถือและมีอาการหนักก็จะเหมือนคนเป็นโรค Phobia อื่น ๆ บางรายขาดมือถือก็อาจมีอาการตัวสั่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ

ซึ่งความผิดปกตินี้บางรายอาจไปถึงขั้น PVS หรือ Phantom Vibration Syndrome แปลเป็นไทยง่าย ๆ คืออาการคิดไปเองว่ามือถือของเราสั่น เลยต้องหยิบมาดู ซึ่งสาเหตุก็เพราะวิตกกังวล กลัวว่าจะพลาดแจ้งเตือนอะไรไป ก็เลยระแวงตามสัญชาตญานมนุษย์อัตโนมัติ

อาการนี้อาจจะไม่ร้ายแรง แต่ก็รบกวนใจให้เสียสมาธิพอสมควร โดยเฉพาะในเวลาทำงาน หากสามารถที่ละสายตาหรือพักจากการใช้โซเชียลมีเดียได้ ก็จะส่งผลดีกับสุขภาพจิตรวมไปถึงสุขภาพกายอีกด้วย

รู้จักวิธีใช้ "พลาสเตอร์" ให้ดีกว่าเดิม เป็นแผลควรปิดอย่างไร

รองโฆษกรัฐบาลติดโควิด กินฟ้าทะลายโจรรักษาตัวที่เบอร์ลิน

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ