"ขี้ร้อน" เหงื่อออกมากผิดปกติ สัญญาณเสี่ยงโรค!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อาการร้อนง่าย เหงื่อออกมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคซ่อนอยู่!

เมื่ออากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำลังส่งสัญญาณเตือนร่างกายของเรา เพราะ "ขี้ร้อน" ไม่ได้สร้างแค่ผลกระทบทางด้านอารมณ์ แต่ยังบอกได้ว่าร่างกายกำลังป่วย แม้จะแตกต่างจากอาการ "ขี้หนาว" แต่สิ่งที่เหมื่อนกันคือแหล่งกำเนิด เนื่องจากมนุษย์จะมีไฮโปทาลามัส(hypothalamus) ที่รับผิดชอบการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย ทำงานควบคู่ไปกับตัวดักจับสัญญาณที่อยู่ตามผิวหนัง ซึ่งจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังไฮโปทาลามัสเพื่อจะรักษาอุณหภูมิ แต่เมื่อไฮโปทาลามัสเกิดความบกพร่องก็นำมาซึ่งอาการ "ขี้ร้อน" ได้

คอนเทนต์แนะนำ
สัญญาณเตือนฮีทสโตรก ไม่มีเหงื่อออก แม้อากาศจะร้อน
“ฮีทสโตรก” อาการเป็นอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครบ้างเสี่ยง
แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการฮีทสโตรกแตกต่างจากเป็นลมปกติอย่างไร ?

โดยปกติมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่นซึ่งร่างกายมีความสามารถในการรักษาระดับอุณหภูมิ ให้คงที่อยู่เสมอ คือ 36.5-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะเป็นอิสระกับ อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและไม่ผกผันตามสภาพอากาศภายนอกเหมือนเช่นสัตว์เลือดเย็น อื่น ๆ ดังนั้นแล้วไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะผกผันเพียงใด ร่างกายของเราจะยังคงรักษา อุณหภูมิไว้ที่เดิมและปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ

อาการ "ขี้ร้อน" เหงื่อมักจะไหลออกมาเร็วเพื่อทำให้ผิวหนังเย็นขึ้น จากการระเหยหลอดเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนังจะขยายตัวขึ้นเร็ว สังเกตได้ว่าตัวจะเริ่มเเดงขึ้น เนื่องจากเลือดที่ไหลเวียนอย่างรวดเร็วใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อให้ร่างกายได้ระบายความร้อนออกไป

คนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นคนที่ขี้ร้อน ได้แก่

1.) คนในวัยหนุ่ม-สาว

2.) คนที่ชอบทำกิจกรรมที่ใช้กำลัง

3.) คนที่มีค่า BMI สูง

จุดเริ่มต้นของ “เหงื่อ”
ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เกิดเป็นกระบวนการต่างๆ ซึ่งกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม (Metabolism) ก็เป็นอีกกระบวนการทำงานที่สำคัญของร่างกาย ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอาหารที่เราทานเข้าไปให้เป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายเกิดความร้อน ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความร้อน ร่างกายก็จะมีกลไกในการควบคุมหรือระบายความร้อน นั้นออกมาในรูปแบบของ “เหงื่อ” เพื่อให้ความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือเรียกว่า “การหลั่งเหงื่อ คือการถ่ายเทความร้อนที่เกิดจากกระบวนการต่างๆ ในร่างกายออกไป”

คอนเทนต์แนะนำ
10 ผักและผลไม้คลายร้อน ฉ่ำน้ำสรรพคุณแก้ร้อนในอ่อนเพลียจากแดด
“ใบเตยหอม” เครื่องดื่มสดชื่นคลายร้อน สรรพคุณทางยาบำรุงหัวใจ
อากาศร้อนจัด ทำร้ายปอด-อวัยวะภายในได้ ใครบ้างเสี่ยง? และวิธีการดูแลตัวเอง

สาเหตุของ “ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ”
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperthydrosis) คือภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก แม้ในสภาพอากาศปกติ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (primary hyperhydrosis) และกลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhydrosis)

1.) กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Primary Hyperhydrosis) กลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ซึ่งเกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อออกในบริเวณบางส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ศีรษะ รักแร้ ฝ่ามือ ซึ่งในกลุ่มที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณฝ่ามือ อาจเรียกว่า ภาวะเหงื่อมือ หรือ เหงื่อออกมือ เป็นต้น มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่น ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30-40 ของคนที่มีภาวะนี้ พบว่ามีญาติสายตรง หรือพ่อแม่ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติเช่นกัน ผู้ป่วยบางรายมีเหงื่อออกมากที่มือจนเขียนหนังสือหรือจับสิ่งของไม่ได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทั้งในแง่การทำงาน การเข้าสังคมและการดำรงชีวิตประจำวัน

2.) กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhydrosis)
คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อในปริมาณมาก ออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ เช่น

- โรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ร่างการมีการเผาผลาญสูง

- โรควัณโรคปอด

- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ

- หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน

- การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น

นอกจากนี้อาการ "ขี้ร้อน" จนร่างกายต้องขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมากยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

ความเครียด
เมื่อคุณเครียด หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น เลือดจะไหลเวียนเร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองแบบ fight or flight response ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นตาม ทำให้คุณรู้สึกร้อนกว่าปกติ

ความเหงา
สภาวะทางอารมณ์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการทำงานของสมองต่างไปจากเดิม จากการศึกษาพบว่า ถ้าคุณรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง รู้สึกเหงาๆ เศร้าๆ คุณจะรู้สึกหนาวขึ้นกว่าปกติ แต่คุณจะรู้สึกอุ่นขึ้นมามากขึ้น เวลาที่คุณอยู่กับเพื่อนฝูงหรืออยู่กับคนที่คุณอยากอยู่ใกล้ๆ

เพศ
จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงจะรู้สึกอ่อนไหวต่อบรรยากาศมากกว่าผู้ชาย หนึ่งในเหตุผลที่ผู้หญิงอ่อนไหวต่อสภาพอากาศโดยรอบได้อย่างรวดเร็ว คือ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะตัวเล็กกว่าผู้ชาย ผิวหนังจะเป็นตัวรับข้อมูลมาเเล้วประมวลผลได้เร็วกว่าผู้ชายที่มีตัวรับสัญญาณทางผิวหนังที่เยอะกว่า

อาการป่วย
ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองหนาวง่าย หรือรู้สึกร้อนเร็วมากกว่าคนทั่วไป ให้ตั้งข้อสังเกตเลยว่าคุณอาจจะมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น  โลหิตจาง  , มีภาวะขาดสารอาหาร , มีภาวะการติดเชื้อ , ปัญหาการควบคุมน้ำหนัก , ภาวะขาดไทรอยด์ ( hypothyroidism ) ,โรคเบาหวาน เป็นต้น

การป้องกันเหงื่อออกมาก
1.) ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ผสมสารลดเหงื่อจำพวกอะลูมิเนียมคลอไรด์ทั้งในระหว่างวันและก่อนนอน เพื่อช่วยปิดต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ มือ เท้า
2.) อาบน้ำทำความสะอาดเป็นประจำ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น การอาบน้ำเย็น เป็นการนำความเย็นเข้าสัมผัสร่างกายโดยตรง ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย
3.) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนอย่างชาและกาแฟ รวมทั้งแอลกอฮอล์และอาหารรสเผ็ด เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของเหงื่อ
4.) แตงโมผลไม้ยอดฮิต แตงโมเป็นผลไม้ที่ช่วยรักษาความเย็นในร่างกาย ถ้าแช่เย็นได้ยิ่งดีเพราะจะทำ ให้รู้สึกสดชื่น การพัดหรือเป่า
5.) พัดลม เป็นการเป่าเหงื่อบนผิวหนังให้ระเหยออกไปเร็วขึ้น ทำให้รู้สึกเย็นสบาย ดังนั้นจึงควรคู่ไปกับการการดื่มน้ำ เย็น ๆ เพื่อทดแทนน้ำ ที่สูญเสียไปจากเหงื่อ
นอกจากนี้การดื่มน้ำ เย็นยังช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น แต่สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้งท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดหรืออ่อนเพลียจากอาการลมแดด ไม่ควรดื่มน้ำ เย็นจัดในทันทีเพราะจะทำให้เกิดอาการตะคริวท้องซึ่งเป็นอันตรายมาก

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลรามา

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ