หุ้นสัปดาห์หน้าแนวโน้มขยับขึ้น แนวต้าน 1,685 ขณะเงินบาทแข็งค่า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หุ้นไทยมีโอกาสขยับขึ้นในสัปดาห์หน้า จากผลประกอบการไตรมาส 4 และเงินไหลเข้า หนุนค่าเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 32.70-33.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านสดใส ขยับขึ้นกว่า 2% ตลอดทั้งสัปดาห์ จากเงินไหลเข้า มีโอกาสขยับขึ้นจากแรงหนุนรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 1,685 จุด และแนวรับ 1,650 จุด 

ขณะที่ค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าตามทิศทางเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้า และแรงเทขายทำกำไรเงินดอลลาร์ หลังจากแข็งค่าขึ้นรับเฟดเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้ สัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ

หุ้นปิดบวก 5.17 จุด ตามตลาดเอเซีย ราคาน้ำมันพุ่งหนุนกลุ่มพลังงาน

Meta ดิ่งเหว มูลค่าสูญวันเดียว 2.3 แสนล้านดอลลาร์ ทุบสถิติหุ้นสหรัฐ

4 ธีมการลงทุนในปี 2565 รับเฟดขึ้นดอกเบี้ย-เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึง

 

 

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่าในสัปดาห์ถัดไป(7-11 ก.พ.) ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,650 และ 1,630 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,685 และ 1,700 จุด ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกนง. (9 ก.พ.) สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงผลประกอบการไตรมาส 4/64 ของบจ.ไทย ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า/ส่งออกเดือนธ.ค. 64 ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนม.ค. 65  รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ข้อมูล PMI ภาคบริการเดือนม.ค. ของจีน และดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น

หุ้นไทยดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,674.22 จุด เพิ่มขึ้น 2.12% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 65,938.28 ล้านบาท ลดลง 21.26% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 4.91% มาปิดที่ 650.01 จุด     

หุ้นไทยปรับตัวขึ้นตลอดสัปดาห์ หลังตอบรับปัจจัยลบจากความกังวลต่อการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟดไปพอสมควรก่อนหน้านี้ โดยมีแรงหนุนหลักๆ จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว (โครงการ Test & Go และเราเที่ยวด้วยกัน) และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย (โครงการคนละครึ่ง)

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มที่ขยับขึ้นโดดเด่นในสัปดาห์นี้หลักๆ ได้แก่ กลุ่มไฟแนนซ์ ซึ่งรับแรงหนุนจากการสลับกลุ่มลงทุนในช่วงรายงานงบไตรมาส 4/64 ขณะที่หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงานก็ปรับตัวขึ้นมากเช่นกัน อย่างไรก็ดีมูลค่าการซื้อ-ขายในสัปดาห์นี้ค่อนข้างเบาบาง สอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชียหลายประเทศที่ปิดทำการเนื่องในเทศกาลตรุษจีน

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (7-11 ก.พ.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.70-33.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมกนง. (9 ก.พ.) ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อจากมุมผู้บริโภคเดือนก.พ. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคบริการและข้อมูลยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนเดือนม.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน

เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายเพื่อทำกำไร หลังจากที่ตลาดปรับตัวรับรู้ความเป็นไปได้ที่เฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้

นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอในเดือนม.ค. (อาทิ การปรับตัวลงของการจ้างงานภาคเอกชน และการชะลอตัวของ PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ) ตลอดจนสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ BOE และท่าทีที่มีความกังวลมากขึ้นต่อแนวโน้มเงินเฟ้อของ ECB  

ในวันศุกร์ (4 ก.พ.) เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 32.96 เทียบกับระดับ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (28 ม.ค.)

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ