“อีลอน มัสก์” เผยเหตุผล ทุ่ม 1.4 ล้านล้านบาท เทกโอเวอร์ ทวิตเตอร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ซีอีโอบริษัทเทสลา  ได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจหาร หรือบริษัททวิตเตอร์ ทั้งหมด ด้วยเงิน 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.4 ล้านล้านบาท

อีลอน มัสก์ ซื้อหุ้น 9.2% ในทวิตเตอร์

“อีลอน มัสก์” ขายหุ้นเทสลา 10% มูลค่า 36,000 ล้านบาท หลังตั้งโพลโหวตในทวิตเตอร์

อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์และซีอีโอของบริษัทเทสลา ได้ยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ โดยเสนอขอซื้อหุ้นทั้งหมดในทวิตเตอร์ Twitter ที่ราคา 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น ประเมินมูลค่าบริษัทฯอยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาในตลาดถึง 38% อีลอน มัสก์ ระบุด้วยว่า เป็นข้อเสนอที่ดีที่สุดและเป็นครั้งสุดท้าย หากไม่ได้รับการตอบรับ เขาจะพิจารณาตัวเองใหม่ฐานะผู้ถือหุ้น

ขณะเดียวกัน อีลอน มัสก์ ได้ส่งจดหมายไปถึงประธานบอร์ดของ ทวิตเตอร์ ระบุว่า ตนลงทุนในทวิตเตอ์ เพราะเชื่อในศักยภาพของของบริษัทฯนี้ ในการเป็นแพลตฟอร์มที่แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีทั่วโลก และยังเชื่ออีกว่าเสรีภาพในการพูดเป็นสิ่งที่จำเป็นทางสังคมในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่เข้าลงทุนในบริษัทฯ ตอนนี้ตนตระหนักดีว่าบริษัทยังคงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมในปัจจุบันได้ ดังนั้น ทวิตเตอร์ จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชน

“ทวิตเตอร์ มีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ และผมจะปลดล็อกมันเอง”  อีลอน มัสก์ กล่าว

 

ทั้งนี้  ทวิตเตอร์ ได้ออกแถลงการณ์ในวันต่อมาว่า บริษัทฯได้รับข้อเสนอของ อีลอน มัสก์ แล้ว และคณะกรรมการบริษัท จะทบทวบข้อเสนออย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดแนวทางที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้บริหารทวิตเตอร์ แต่อย่างไรก็ตาม ทวิตเตอร์ไม่ได้ระบุว่าคณะกรรมการจะประชุมพูดเรื่องดังกล่าวเมื่อใด

ด้านนักวิเคราะห์ มองว่า เป็นเรื่องยากที่ ทวิตเตอร์ จะปฏิเสธข้อเสนอของ อีลอน มัสก์ เนื่องจากเป็นข้อเสนอที่มีราคาสูง ขณะเดียวกันก็เรื่องที่แปลกมาก เพราะการที่ มัสก์ เข้าซื้อทวิตเตอร์ เพียงเพื่อทำให้มันแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี ซึ่งต่างจากหลาย ๆ คนที่เข้าซื้อบริษัทอื่น ที่มักสนใจแต่การทำเงินจากบริษัทที่ตัวเองเข้าซื้อ

 

ก่อนหน้านี้  ซีอีโอเทสลา เปิดเผยว่า ได้เริ่มเข้าซื้อหุ้น ทวิตเตอร์ ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม เป็นต้นมา  โดยใช้เงินทั้งหมด 2,600 ล้านดอลลาร์ หรือ 8.7 หมื่นล้านบาท ในการสะสม 73.1 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 9.1%  ต่อมาในเดือน กุมภาพันธ์ ทวิตเตอร์ ได้ประกาศซื้อหุ้นคืน 37 ล้านหุ้น มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 6.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้จำนวนหุ้นในตลาดลดลง และทำให้ อีลอน มัสก์ มีหุ้นในมือเพิ่มขึ้นเป็น 9.6% โดยไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มแต่อย่างใด

 

ด้าน เจ้าชายอัลวาลีด บิน ทาลาล เจ้าชายมหาเศรษฐีนักธุรกิจชื่อดังชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริษัททวิตเตอร์ ได้โพสต์ทวิตระบุว่า เขาไม่เชื่อว่าข้อเสนอซื้อหุ้นของอีลอน มัสก์ ที่ราคา 54.2 ดอลลาร์ต่อหุ้น มันจะใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทฯ เมื่อพิจารณจากแนวโน้มการเติบโต ในฐานะหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดและยาวนานของทวิตเตอร์  ตนจะปฏิเสธข้อเสนอนี้

ขณะที่ราคาหุ้น ทวิตเตอร์  ชื่อหลักทรัพย์ TWTR เปิดตลาดเช้าวันพฤหัสบดี (15 เม.ย 65) กระโดดขึ้นไปที่ราคา 48.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้น 5.73 % ก่อนจะค่อย ๆ ลดระดับลงมาต่ำสุดของวันที่ราคา 45.22 ดอลลาร์ต่อหุ้น

จะเกิดอะไรขึ้น หลัง "อีลอน มัสก์" ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้น ทวิตเตอร์

สตีเวน เดวิดอฟ โซโลมอน ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ระบุว่า คณะกรรมการบริษัททวิตเตอร์ จะต้องประชุมร่วมกับ โกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐฯ (Goldman Sachs) เพื่อตรวจสอบข้อเสนอของ อีลอน มัสก์ ในการพิจารณาว่าข้อตงลงดังกล่าวคุ้มค่า และมีเงินทุนเพียงพอในการเข้าซื้อกิจการหรือไม่ ซึ่งหากคณะกรรมการฯไม่พอใจกับข้อเสนอนี้ ก็ต้องหาเหตุผลมากล่าวอ้าง เช่น ความสามารถในการจัดหาเงินทุน

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ อาจใช้เวลาตรวจสอบข้อเสนอ 2-3 วัน และถ้าหากจะปฏิเสธข้องเสนอก็ทำได้หลายวิธี เช่น ใส่กลไกป้องกัน เพื่อจำกัดไม่ให้ อีลอน มัสก์ และผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ ทำข้อเสนอเข้าซื้อหุ้นในตลาดเปิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯจะยังคงขายกิจการได้อยู่ แต่จะไม่ได้รับแรงกดดันต่าง ๆ จาก อีลอน มัสก์ หรือคนอื่น ๆ ที่จะมาข่มขู่โดยการการซื้อหุ้นจำนวนมากในตลาดเปิด

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ