เปิดขบวนการ “บัญชีม้า” ช่องทางฟอกเงิน หลอกคนโอน แก๊งคอลเซ็นเตอร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กลโกงหนึ่งในการหลอกให้ผู้อื่นโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ คือ การเปิดบัญชีม้า ซึ่งมีทั้งม้าสมัครใจและม้าแบบไม่ตั้งใจ ใช้ทำสารพัดเรื่องทุจริต ทั้งฉ้อโกง ยาเสพติด การพนัน ฟอกเงิน และแก๊งมิจฉาชีพ call center

บัญชีม้า คืออะไร

บัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลอื่นซึ่งถูกคนร้ายนำมาใช้เป็นช่องทางในการรับเงินและถ่ายโอนเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีพยานหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัวได้ คนร้ายสามารถทำได้หลายวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งบัญชีม้า ทั้งจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้เปิดบัญชีในชื่อของคนนั้น ๆ หรือจ้างให้บุคคลอื่นเปิดบัญชี หรือรับซื้อบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลทั่วไปเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด

ปี 64 แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โทรหลอกคน 6.4 ล้านครั้ง

Who’s Call เผย 1 ปี ไทยเจอมิจฉาชีพโทรหลอกพุ่งเกิน 200% เสียหายพันล้าน

 

บัญชีม้า พบได้อย่างแพร่หลายในสังคมออนไลน์ที่มีการขายบัญชีเงินฝากธนาคารอย่างเปิดเผย ตั้งแต่ราคา 800 บาท จนถึง 20,000 บาท โดยบัญชีม้าเหล่านี้จะถูกรวบรวมเป็นแพ็กเกจพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและซิมการ์ดโทรศัพท์ที่เจ้าของบัญชีเปิดใช้งานด้วย เพื่อให้คนร้ายที่ซื้อบัญชีม้าไปแล้วสามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของบัญชีไปผูกกับ mobile banking เพื่อใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้ทันที

ส่วนใหญ่ใช้ในทางทุจริต ฟอกเงิน เช่น หลอกขายสินค้าทางออนไลน์ แก๊งมิจฉาชีพ call center เกี่ยวกับการพนัน ฉ้อโกง ยาเสพติด 

ประเภทของ บัญชีม้า มีอยู่ 2 แบบคือ

  • ม้าสมัครใจ คือ การขายบัญชีธนาคารหรือ e-Wallet ให้ผู้อื่นแล้วนำข้อมูลบัญชีไปขายต่อให้กลุ่มมิจฉาชีพ
  • ม้าแบบไม่ตั้งใจ /ถูกสวมรอย คือ ถูกหลอกเอาข้อมูลไปใช้ในการปิดบัญชีธนาคารหรือ e-Wallet เพื่อเอาไปใช้ในการธุรกรรมที่ทุจริต/ฟอกเงิน/ก่อการร้าย

ในอดีตพบว่ากลุ่มที่มีการนำบัญชีม้าไปใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเครือข่ายยาเสพติด กลุ่มวงการพนัน รวมทั้งกลุ่มนอมินีที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินแทนผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลัง

ปัจจุบัน พบว่า บัญชีม้าถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการหลอกลวงฉ้อโกง เช่น ใช้เป็นบัญชีรับเงินค่าประกันการกู้ยืมเงินที่มิจฉาชีพ หลอกว่า ผู้กู้จะได้รับเงินที่กู้เมื่อจ่ายเงินประกันการกู้ยืมเงินมาก่อน ซึ่งพบมากในการหลอกลวงให้กู้ยืมเงินผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้ต่าง ๆ และผ่านช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ รวมทั้ง การหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่โทรศัพท์มาหลอกลวงโดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ และทำการโอนเงินไปยังบัญชีม้าของคนร้าย ซึ่งการหลอกลวงผ่านแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พบว่าส่วนใหญ่มีฐานในการกระทำความผิดมาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งทำให้ยากในการติดตามจับคนร้ายมาดำเนินคดี

คนร้ายมักจะมีบัญชีม้าหลาย ๆ บัญชี เพื่อใช้โอนส่งเงินต่อกันไปเป็นทอด ๆ เพื่อป้องกันการถูกตำรวจตรวจสอบหรืออายัดเงินในบัญชีม้า เช่น เมื่อผู้เสียหายถูกหลอกให้โอนเงินเข้าบัญชีม้าที่ 1 แล้ว คนร้ายก็จะโอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวต่อไปยังบัญชีม้าที่ 2 จากบัญชีม้าที่ 2 โอนต่อไปยังบัญชีม้าที่ 3 และที่ 4 ซึ่งบางรายมีจำนวนบัญชีม้าถึง 5 บัญชี ท้ายที่สุดคนร้ายก็จะถอนเงินของเหยื่อหรือผู้เสียหายออกไป ซึ่งการโอนเงินจากบัญชีม้าหลายทอดเช่นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจอายัดบัญชีม้าบัญชีใด ก็จะเปลี่ยนไปใช้บัญชีม้าอื่น ๆ ที่ยังสามารถใช้งานแทนได้

มุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สารพัดเทคโนโลยี Deepfake หลอกเงินคน

 

 

เปิดขบวนการรับจ้างเปิดบัญชีม้าแบบออนไลน์

  1. ขายบัญชีส่งรูปบัตรประชาชนให้แม่ค้าคนกลางประกาศหาคนที่พร้อมยืนยันตัวตนในกลุ่มซื้อขายบัญชี
  2. มิจฉาชีพสั่งให้แม่ค้าคนกลางหาบัญชีธนาคารที่สามารถเปิดแบบออนไลน์ได้
  3. นำข้อมูลไปเปิดบัญชีออนไลน์และผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์ของตนเอง
  4. เมื่อเปิดบัญชีเสร็จจะได้รับ QR code-จากแอปพลิเคชัน
  5. ส่ง QR code กลับไปให้คนขาย
  6. กลุ่มคนขายบัญชี จะนำ QR code จะถูกนำไปยืนยันตัวตนที่ร้านสะดวกซื้อ
  7. ส่ง OTP ให้เจ้าของบัญชีกรอก
  8. เมื่อเจ้าของบัญชีสแกน QR code จะมี OTP ส่งมาที่โทรศัพท์ของมิจฉาชีพ

รูปแบบบัญชีม้าเปลี่ยนเป็น กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) - cryptocurrency wallet กระเป๋าเงินคริปโทเคอเรนซี

รูปแบบของการใช้บัญชีม้าเป็นช่องทางในการกระทำความผิดอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเพื่อหลบเลี่ยงการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ในปัจจุบันกลุ่มมิจฉาชีพก็เริ่มเปลี่ยนรูปแบบไปใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) ของผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) ตามกฎหมายว่าด้วยระบบชำระเงิน ซึ่งมีผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) มากยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการบางรายอาจจะยังขาดความเข้มงวดในการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับตัวตนของลูกค้าในการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ คนร้ายอาจใช้บัญชี cryptocurrency wallet ซึ่งไม่ได้เปิดใช้บริการผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset exchange) ที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย โดยคนร้ายอาจจะทำการโอน cryptocurrency แบบ Peer-to-Peer (P2P) หรือผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในต่างประเทศ ทำให้เกิดความล่าช้าหรืออาจไม่ได้รับความร่วมมือในการประสานงานขอข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน รวมถึงมีความยุ่งยากซับซ้อนในขั้นตอนการสืบสวนเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด 

จับแล้ว 3 แก๊งอุ้มหนุ่มเปิดบัญชีม้า อ้างเส้นตำรวจใหญ่ ยังหลบหนีอีก 2 ราย

นายกฯ สั่งจัดการเด็ดขาด “แก๊งคอลเซ็นเตอร์”

ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ