TRUE ไตรมาส 1/65 ขาดทุนอ่วม 1,617 ล้านบาท จากอัตราแลกเปลี่ยน-ค่าเสื่อมเพิ่ม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น - TRUE เผยไตรมาส 1/2565 ขาดทุนเพิ่มขึ้น 178% สาเหตุจากขาดอัตราแลกเปลี่ยน และค่าเสื่อมเพิ่มสูง

TRUE เผยปี 64 ขาดทุน 1,428.4 ล้านบาท วูบกว่า 20% ปันผล0.07 บาท/หุ้น

ADVANC ไตรมาส 1 กำไร 6,311 ล้านบาท ลดลง 5% จ่อทุ่ม 3.5 หมื่นล้านขยาย 5G

โควิดวันนี้ (18พ.ค.65) ยอดติดเชื้อ PCR และ ATK ทะลุหมื่นราย

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ TRUE แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีผลขาดทุนสุทธิ 1,617.1 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลง 178.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้รวม 35,138 ล้านบาท หรือลดลง 0.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักจากผลขาดทุนทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยน 452 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และดอกเบี้ยจ่ายเพื่อสนับสนุนการขยายโครงข่าย 5G และการชำระค่าใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่

โดย EBITDA เท่ากับ 14,074 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตรากำไร EBITDA ต่อรายได้จากการให้บริการที่ร้อยละ 54 เปรียบเทียบกับร้อยละ 52 ของไตรมาส 1ในปีที่แล้ว

KEX ไตรมาส 1 พลิกขาดทุน 491 ล้านบาท เจอต้นทุนพุ่ง แม้ขนส่งเติบโต

รายได้จากการให้บริการของทรูมูฟ เอช อยู่ที่ 19,676 ล้านบาท  หรือลดลง 1% ในขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2  เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้า การใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังของผู้บริโภค และการแข่งขันในตลาดที่สูงยังคงกดดัน รายได้จากการให้บริการและรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ  (ARPU) แม้ฐานผู้ใช้บริการเติบโตต่อเนื่องเป็น 32.6 ล้านราย

 

รายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตของทรูออนไลน์ อยู่ที่ 7,318 ล้านบาท หรือเติบโต 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ฐานลูกค้าเติบโตกว่า 90,100 ราย รวมผู้ใช้บริการทั้งหมด 4.7 ล้านราย แต่ ARPU ยังถูกกดดันจากการแข่งขังสูง ที่เสนอแพ็กเกจราคาต่ำเพื่อดึงดูดลูกค้า

 

รายได้จากการให้บริการของทรูทรูวิชั่นส์ อยู่ที่ 2,378 ล้านบาท หรือลดลง 8.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากรายได้ค่าสมาชิกและค่าติดตั้งลดลงอยู่ที่ 1,325 ล้านบาท

 

รายได้จากการขาย อยู่ที่ 5,772 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากไตรมาส 4 เป็นไตรมาสฤดูกาลขายมือถือรุ่นใหม่ โดยเฉพาะการเปิดตัวเครื่องไอโฟน 13

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลัก  อยู่ที่ 14,394 ล้านบาท หรือลดลง 4.6% จากการมุ่งปรับโครงสร้างต้นทุน ซึ่งทำให้ทั้งต้นทุนการให้บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง

 

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย อยู่ที่ 12,117 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการขยายโครงข่าย และค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตการใช้งานคลื่นความถี่


สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65
โปรแกรมถ่ายทอดสดซีเกมส์ 2021 นักกีฬาไทย ประจำวันพุธที่ 18 พ.ค. 65

 

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ