Inverted yield curve คืออะไร? สัญญาณทำให้ตลาด "หุ้น-เงิน" ทั่วโลกป่วน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Inverted yield curve เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา สร้างตื่นตระหนกในตลาดหุ้น-เงินทั่วโลก นักลงทุนเทขายอย่างหนัก เพราะนั่นเป็นสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เกิดแรงเทขายอย่างหนักในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก จากความวิตกเศรษฐกิจสหรัฐถดอถอย ซึ่งจะฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยตามไปด้วย 

แรงเทขายเกิดขึ้นจากเกิด Inverted yield curve เป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนเม.ย. หลังสหรัฐรายงานเงินเฟ้อยังพุ่งไม่หยุด นักลงทุนทองว่าเป็นสัญญาณ "แรง ๆ "ว่าเศรษฐกิจถดถอยมาแน่

แต่ผลตอบแทนพันธบัตรส่งสัญญาณอะไรบ้าง และกำไรบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ และทำนายภาวะเศรษบกิจถดถอยได้จริงหรือไม่

จับตา "inverted yield curve" สัญญาณวิกฤตกำลังมาอีกรอบ

สหรัฐฯ เสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย บททดสอบตลาดหุ้นครั้งใหญ่-จับตาประชุม Fed

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. หลังเกิด Inverted yield curve เมื่อวันจันทร์

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นหรือที่เรียกว่า “Inverted yield curve” ที่เกิดขึ้นกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

Inverted yield curve คืออะไร? 

yield curve คือ เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทน (yield) กับอายุคงเหลือของพันธบัตร (maturity) ในภาวะปกติพันธบัตรรัฐบาลที่ระยะยาวกว่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น เนื่องจากการลงทุนในระยะยาวมีความเสี่ยงโดยรวมมากกว่าจากระยะเวลาการถือครองพันธบัตรที่นานกว่า เช่น ความไม่แน่นอนของทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ดี Inverted yield curve อาจเกิดขึ้นได้ในบางช่วงเวลา ในวงการตลาดการเงิน นักลงทุนมักจะติดตามเหตุการณ์นี้โดยดูส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีและอายุ 2 ปี โดยหากมีค่าติดลบแสดงว่า เกิด Inverted yield curve ขึ้น

เหตุใดจึงต้องจับตามองภาวะดังกล่าว? เนื่องจากที่ผ่านมา Inverted yield curve มักเกิดก่อนที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลงหรือเศรษฐกิจถดถอย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มักจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้นมากและสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ ทำให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา และส่งผลให้ yield ของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับสูงขึ้น

หากนักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงท้ายของวัฏจักรขาขึ้นแล้ว หรือมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอย นักลงทุนจะคาดการณ์ว่าในระยะต่อไปธนาคารกลางจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และจะย้ายการลงทุนไปเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงมากขึ้นโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เพื่อล็อคผลตอบแทนสูงไว้ให้นานที่สุดก่อนที่ธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย

การที่นักลงทุนเน้นลงทุนในพันธบัตรระยะยาวจะกดดันให้ yield พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลง จนทำให้ yield พันธบัตรระยะยาวน้อยกว่าระยะสั้นจนเกิด Inverted yield curve ได้

เส้นกราฟพันธบัตร

กระทรวงการคลังสหรัฐออกตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาลหลายรุ่นเพื่อการบริหารจัดการงบประมาณ โดยเป็นการกู้ยืมจากตลาด ซึ่งพันธบัตรมีอายุหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนถึง 1 ปี อายุ 2-10 ปี และอายุ 20-30 ปี

เส้นกราฟผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve) เป็นเส้นผลตอบแทนพันธบัตร หากเส้นกราฟชันขึ้นมาก ก็แสดงให้เห็นว่าผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น แต่จะสวนทางกับ "ราคา" พันธบัตรที่ปรับลง

เส้นกราฟชันขึ้นมากเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าตลาดคาดการณ์ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อสูง และอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น แต่หากเส้นกราฟค่อนข้างแบนราบอาจทำให้นักลงทุนคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น และมองการเติบโตเศรษฐกิจจะไม่ดีนัก

Inverted yield curve หมายถึงอะไร?

นักลงทุนจะจับตาเส้นกราฟผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจถดถอย โดยดูจากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตร อายุ 3 เดือนกับ 10 ปี และส่วนต่างพันธบัตรอายุ 2 ปี กับ 10 ปี

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่วนต่างระหว่าง 2 ปี กับ 10 ปีเกิดการกลับตัว ซึ่งหมายถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีขยับขึ้นมากกว่า 10 ปี ชี้ว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะขยับขึ้น ขณะเดียวกัน หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสูงขึ้นต่อเนื่อง ก็เป็นสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้

การกลับตัวเป็นสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยตามมา

การกลับตัวที่เกิดขึ้นในปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019  ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย โดยเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.50% และลดงบดุลลง

เส้นผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐส่งสัญญาณกลับตัวในแต่ละครั้ง นับตั้งแต่ 1955  โดยจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยหลังจากนั้น 6-24 เดือน แต่ก็ไม่ทุกครั้งเสมอไป

จากเส้นผลตอบแทนพันธบัตรกลับตัว 28 ครั้งตั้งแต่ปี 1900  มีถึง 22 ครั้งที่เกิดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกลับตัว โดยเศรษฐกิจถดถอย 6 ครั้งหลังสุด เกิดขึ้น 6-36 เดือนหลังจากเกิดสัญญาณ

ในปี 2019 ช่วงก่อนเดือนมี.ค. เกิดผลตอบแทนพันธบัตรกลับตัวครั้งหลังสุด ในปีต่อมา เศรษฐกิจสหรัฐก็เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลก

ทำไมเกิด Inverted yield curve ตอนนี้?

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ โดยตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องทั้งปี ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะยาวปรับขึ้นน้อยกว่าจากความกังวลว่านโยบายของธนาคารกลางจะฉุดเศรษฐกิจสหรัฐ ผลก็คือทำให้เส้นผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐโดยทั่วไปชะลอตัว แต่มีบางช่วงอายุขยับขึ้น โดยเฉพาะระยะสั้น

เส้นกราฟผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นอีกครั้งในเดือนเม.ย.-พ.ค. แต่หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐประกาศออกมาพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นพุ่งขึ้นเท่ากับอายุ 15 ปี ที่ 3.25%

ส่วนอื่นของเส้นผลตอบแทนพันธบัตรยังเกิดการกลับทิศทาง  ทั้งระหว่างพันธบัตร 5/30 ปี และ 3/10 ปี อีกด้วย

จะเกิดอะไรจริง ๆ

ธนาคารกลางทุกประเทศใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือต่อสู้เงินเฟ้อ โดยสกัดความร้อนแรงเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมจากการขึ้นดอกเบี้ยในการสินทรัพย์ทุกประเภท ซึ่งกราฟผลตอบแทนพันธบัตรส่งผลกระทบทั้งต่อผู้บริโภคและธุรกิจ

เมื่อเส้นกราฟผลตอบแทนพันธบัตรชันขึ้น ธนาคารสามารถระดมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำและให้กู้ยืมในอัตราที่สูง แต่เมื่อเส้นกราฟขยับขึ้นไม่มาก ส่วนต่างจะน้อยลง ซึ่งทำให้ไม่อยากปล่อยกู้

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ