ส่อง 5 กลุ่มหุ้นไทย ได้-เสีย เงินบาทอ่อนค่าสุดรอบ 5 ปี หลังสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เริ่มส่งผลต่อค่าเงินในเอเชีย ทำให้สกุลเงินอ่อนค่าในรอบหลายปี อาจกระทบถึงบริษัทจดทะเบียนในไทย

เงินบาท “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.32 บาทต่อดอลลาร์

สกุลเงินเอเชียร่วงหนัก เยนทุบสถิติ 24 ปี แห่ขายหุ้น ผวาเศรษฐกิจถดถอย

ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด (Fed) เริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวดเดียว +75%  และส่งสัญญาณทยอยจะปรับอีกภายในสิ้นปี 2565 เพื่อต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงทุบสถิติรอบหลายปี แต่ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำอยู่ที่ 0.50% ส่งผลให้เงินลงทุนต่างชาติไหลออกนอกประเทศ ทำให้เงินบาทของไทย อ่อนค่าลง 6.5%

 กราฟการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์

 

ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส ระบุผ่านบทวิเคราะห์ว่า จากกรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน 2 มิติ คือ บริษัททีมีหนี้เงินกู้สกุลดอลลาร์ และ บริษัทที่ธุรกิจอิงกับสกุลเงินดอลลาร์ทั้งการนำเข้าและการส่งออก ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงกว่านำเข้า หรือตั้งราคาขายอิงกับดอลลาร์ จะได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า

บริษัทที่มีหนี้เงินกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ คาดมีผลกระทบไม่มาก เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่เน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก เช่น บริษัทที่มีการก่อสร้างหนี้ต่างประเทศ อย่าง PTTEP และ BANBU จะเป็นบริษัทที่มีธุรกรรมการค้าต่างประเทศในสัดส่วนสูง จึงใช้สกุลดอลลาร์ในการดำเนินงาน (Functional Currency) เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน

บริษัทที่มีธุรกิจอิงกับดอลลาร์ทั้งการนำเข้าและส่งออก ซึ่งปกติจะมีการประกันความเสี่ยง ด้วยการ Hedging ค่าเงิน และผลของการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีการคาดการณ์ผลบวกที่เกิดจากการอ่อนค่าของเงินบาทในงบการเงินรายไตรมาส ทำได้ค่อนข้างลำบาก

 

กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า

กลุ่มผู้รับเหมา

SCC : ธุรกิจเคมิคอลส์ ทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดอลลาร์ จึงได้ประโยชน์ โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี

TPIPL :  มีรายได้จากการส่งออก 35% ของรายได้รวม โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี

TASCO : นำเข้าวัตถุดิบเป็นสกุลเงินดอลลาร์ทั้งหมด โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 33 ล้านบาท/ปี

STP : มีเงินฝากสกุลเงินดอลลาร์ประมาณ 60 ล้านดอลลาร์  โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 30 ล้านบาท/ปี

BJCHI : : มีสินทรัพย์ในสกุลดอลลาร์ประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิประมาณ 50 ล้านบาท/ปี

VNG  : มีรายได้จากการส่งออกสัดส่วน 80% โดยเงินบาทอ่อนค่าทุก 1 บาท/ดอลลาร์ ส่งส่งผลให้กำไรสุทธิปรับเพิ่ม 48 ล้านบาท/ปี

 

กลุ่มเกษตร-อาหาร

มีสถานะเป็นผู้ส่งออก จึงได้ประโยชน์จากแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า โดยทิศทางค่าเงินบาทในปัจจุบันจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2565 ของกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 12% จากปัจจุบัน อยู่ที่ 36,000 ล้านบาท

 

กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

มีสถานะเป็นผู้ส่งออก สัดส่วนรายได้ของกลุ่มชิ้นส่วนไทยราว 70-100% เป็นสกุลเงินดอลลาร์ และมีต้นทุนราว 50% เป็นสกุลเงินดอลลาร์ จึงได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน หากสมติฐานค่าเงินบาทอยู่ที่ 34.5 บาท/ดอลลาร์ จะส่งผลต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2565 เพิ่มขึ้น 12.6% จากปัจจุบัน อยู่ที่ 17,800 ล้านบาท

 

กลุ่มพลังงาน

มีเพียง 2 บริษัท  BANPU และ PTTEP ที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการดำเนินงานจึงไม่มีผลกระทบ แต่บริษัทที่ได้รับผลกระทบ คือ  PTT, TOP, PTTGC, IRPC เป็นต้น จะบันทึกเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหากค่าเงินบาทอ่อนค่า เพราะมีหนี้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ แต่การทำกำไรจะไม่กระทบมากนัก เพราะรายได้และต้นทุน ยังคงใช้เป็นดอลลาร์

 

 

กลุ่มหุ้นที่เสียประโยชน์

กลุ่มโรงไฟฟ้า

บริษัทส่วนใหญ่ จะได้รับผลกระทบจากสกุลเงินอ่อนค่า ในด้านการกู้ยืมเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งหากเงินบาทอ่อนจะต้องเปลี่ยนเป็นสกุลต่างประเทศในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และบันทึกเป็นขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ BGRIM, GULF, EGCO, BCPG, GUNKUL, TPIPP เป็นต้น

“บ้าน-คอนโด” เจอ 3 เด้ง เศรษฐกิจชะลอ ค่าครองชีพพุ่ง ดอกเบี้ยขาขึ้น

อั้นไม่ไหว! กนง.เตรียมขึ้นดอกเบี้ย สกัดเงินเฟ้อ-ลดความเสี่ยง

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ