รถยนต์ไทยส่งออกเริ่มไม่สดใส เสี่ยงสหรัฐฯ-อียู ศก.ถดถอย ฉุดกำลังซื้อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ภาพใหญ่เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงถดถอย อาจเป็นขาลง (Downside) ในปี 2566 โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์ พ.ค. ร่วง 48% ตลาดเอเชีย-ยุโรปซบ

โออาร์จับกลุ่มไฮเอน จับมือเครือแมริออท ตั้งสถานีชาร์จ EV ทั่วประเทศ

ฝ่ายวิจัยบรัษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส เผยผ่านบทวิเคราะห์ระบุว่า ยอดผลิตรถยนต์ไทยเดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 129,213 คัน ฟื้นตัว +10% จากเดือนก่อนหน้า แต่กลับพลิกติดลบ -8% จากปีก่อน นับเป็นการติดลบครั้งแรกในปีนี้ เนื่องจากชิ้นส่วนชิปขาดแคลน

ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ลดลง 19.5% จากปีก่อน อยู่ที่ 65,839 คัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับยอดส่งออกรถยนต์อ่อนตัว 3.2% จากปีก่อน สวนทางกับการผลิตเพื่อขายในประเทศที่เพิ่ม 7.7% จากปีก่อน หนุนด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทำให้ยอดขายรถยนต์ในไทยสูงขึ้น 15.7% จากปีก่อน


 

ด้านภาพรวมยอดผลิตรถยนต์รวม 5 เดือน ปี 65 เพิ่มขึ้น 2.4% จากปีก่อน อยู่ที่ 7.27แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกและขายในประเทศ อย่างละ 8.5 แสนคันต่อเดือน ขณะที่ยอดขายรถยนต์และยอดส่งออกรถยนต์รวม 5 เดือน ปี 65 อยู่ที่ 3.59 แสนคัน และ 3.76 แสนคันตามลำดับ

ทั้งนี้เป้าหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินยอดผลิตรถยนต์ที่ 1.8 ล้านคัน หรือ +7% จากปีก่อน แต่ ส.อ.ท. อาจมีการทบทวนเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์ทั้งปีอีกครั้ง ทั้งจากความเสี่ยงระดับมหาภาค (Macro Risk) และแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินราว 0.1% -0.2% ตั้งแต่ ก.ค. เพื่อรองรับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น

สำหรับทิศทางดอกเบี้ย ภายใต้วิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) ของฝ่ายวิจัยฯ พบว่าทุก 0.2% ของภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ลูกหนี้มีภาระจ่ายต่องวดเพิ่มราว 70 บาท คิดเป็นสัดส่วน 0.24% ของรายได้ครัวเรื่อนเฉลี่ย 2.8 หมื่นบาท

โดยฝ่ายวิจัยฯมองว่า น้ำหนักจากการขึ้นดอกเบี้ยไม่น่าจะส่งผลต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศ ทั้งจากตัวเลขตามข้างต้น รวมถึงปี 2562 ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในกรอบ 1.25% -1.75% พบว่ายอดขายรถยนต์จะอยู่ในระดับ 1 ล้านคัน อย่างไรก็ดีให้น้ำหนักความเสี่ยงต่อยอดผลิตรถยนต์ปี 2565 – 66 จากตลาดส่งออกรถยนต์ หากเกิดภาวะถดถอยทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป

 

ขณะที่แนวโน้มกำไรกลุ่มฯ ไตรมาส 2/65  อ่อนตัวจากไตรมาสก่อนหน้า เพราะยอดขายหดตัวตามฤดูกาล และแรงกดดันด้านต้นทุนวัตถุดิบ อย่างไรก็ดีคาดสัดส่วนการส่งผ่านราคาไปยังโรงงานรับจ้าผลิต (OEM) จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ ไตรมาส 3/65 เป็นปัจจัยหนุนกำไรฟื้นตัว รวมถึงประเมินยอดขายกลุ่มฯ มีแรงหนุนจากการผ่าน โลว์ซีซั่น (Low Season)

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมหภาคในประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา และยุโรป มีความไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยงต่อกำลังซื้อในระยะถัดไป เชื่อว่ายากที่ราคาหุ้นในกลุ่มฯ จะวิ่งได้ดีในตลาด (Outperform) จึงลดน้ำหนักลงทุนจากเท่ากับตลาด เป็น น้อยกว่าตลาด เลือกหุ้นที่สถานะ การเงินเป็น Net Cash คาดหวังอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง (Div Yield) อย่าง SAT และ STANLY

 

- SAT มูลค่าพื้นฐาน 24 บาท  ราคาหุ้นซื้อขายบน PBV ที่ 0.97 เท่า มองว่าไม่แพง สถานะการเงินเป็น Net Cash ราว 3.5 พันล้านบาท หรือ 8.3 บาท ต่อหุ้น อีกทั้ง CFO เฉลี่ยปี 2561 - 2564 ย้อนหลังอยู่ที่ 1.29 พันล้านบาท ในขณะที่เงินสดจ่ายปันผลปี 2561- 64 เฉลี่ยเท่ากับ 462 ล้านบาท จึงคาดว่าบริษัทฯ สามารถคงระดับการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นในกรอบ 1.35 – 1.50 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ราว 7% - 8%

- STANLY มูลค่าพื้นฐาน 241 บาท กราคาหุ้นซื้อขายที่ PBV ราว 0.65 เท่า ขณะที่สถานะการเงินเป็น Net Cash ราว 6.1 พันล้านบาท คาดจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นราว 5% รวมถึงชิ้นส่วนไฟรถยนต์สามารถเติบโตไปกับรถยนต์ไฟฟ้า

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ