เงินบาทสัปดาห์นี้แนวโน้มอ่อนค่า จากเงินไหลออกรับเฟดขึ้นดอกเบี้ย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มอ่อนค่า หลังทำสถิติครั้งใหม่รอบ 5 ปีครึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตามแรงเทขายหุ้นและพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 35.25-35.70 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิด อ่อนค่าที่ 35.49 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 35.23-35.57 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง และเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ยกเว้นเงินเยนในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 11,011 ล้านบาท และมียอดขายพันธบัตร 10,280 ล้านบาท โดยมีพันธบัตรที่ถือครองโดยต่างชาติครบอายุ 6,979 ล้านบาท

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 35.35 - 35.55

นักลงทุนผ่อนคลาย เฟดยันศก.ไม่ถดถอย จับตารัสเซีย-ยูเครน ดันเงินเฟ้อลากยาว

คาดสัปดาห์หน้า "บาทอ่อน-หุ้นลง" เงินไหลออกจากเฟดขึ้นดอกเบี้ย

การเคลื่อนไหวค่าเงินบาทล่าสุด (27 มิ.ย.)

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวต่อสภาคองเกรสว่าจุดมุ่งหมายของเฟดต่อการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 40 ปีเป็นลักษณะ "ไม่มีเงื่อนไข" แม้จะยอมรับว่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมากอาจทำให้อัตราว่างงานสูงขึ้น และอาจหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยไม่ได้

เฟดตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ขนาดงบดุลของเฟดเล็กลง 2.5 หรือ 3 ล้านล้านดอลลาร์จากระดับปัจจุบัน

 กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) คาดว่า นักลงทุนจะให้ความสนใจกับงานสัมมนาที่จัดโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะเป็นเวทีสื่อสารกับตลาดเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายจากทั้งประธานอีซีบีและประธานเฟดขณะที่เครื่องบ่งชี้ภาคการผลิตของสหรัฐฯและยูโรโซนชะลอตัวลงมากเกินคาดในเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นลดลง

ตลาดเงินคาดว่าดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะแตะระดับ 3.3% ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งต่ำกว่า 3.5% ที่เคยคาดไว้เดิม ส่วน Implied Rate สำหรับสัญญาดอกเบี้ยล่วงหน้าสิ้นปี 2566 อยู่ที่ 3.18% ซึ่งสะท้อนว่าเฟดอาจจะไม่สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้มากหลังไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ นอกจากนี้ ตลาดจะติดตามการใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคลเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ และการเคลื่อนไหวของราคาก๊าซธรรมชาติ

ขณะที่เยอรมนีส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับแผนฉุกเฉินเรื่องก๊าซกรณีการจ่ายพลังงานของรัสเซียยุติลง รวมถึงความเห็นใดๆ จากที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก G-7 ที่อาจเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเยนซึ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ในภาวะเช่นนี้กรุงศรีมองว่าหากไม่มีประเด็นใหม่ค่าเงินดอลลาร์อาจย่ำฐานแกว่งตัวออกด้านข้าง

สำหรับปัจจัยในประเทศ ข้อมูลจากกรมศุลกากรบ่งชี้ว่ามูลค่าส่งออกเดือนพฤษภาคมขยายตัว 10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้าพุ่งขึ้น 24.1% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 1.87 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่าการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะส่งผลกระทบจำกัดต่อเศรษฐกิจ สนับสนุนมุมมองของกรุงศรีที่ว่ากนง.จะประเดิมขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตรา 25bp สู่ 0.75% ในเดือนสิงหาคมนี้

มิชลิน ซื้อหุ้นเพิ่มทุนพื้นที่ปลูกยางพารา 5 แสนไร่ในอินโดนีเซีย

รถยนต์ไทยส่งออกเริ่มไม่สดใส เสี่ยงสหรัฐฯ-อียู ศก.ถดถอย ฉุดกำลังซื้อ

ขึ้นทะเบียนพืชใหม่ “กัญชาเพชรชมพู” สายพันธุ์ดีที่พัฒนามากว่า 3 ปี

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ