ค่าบาทอ่อนลง แต่ยังผันผวนสูง ท่ามกลางความกังวลเศรษฐกิจหลักชะลอตัวลง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ค่าบาทอ่อนคง แต่ยังมีความผันผวนสูง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.05-35.25 บาท/ดอลลาร์

“ตลาดค่าเงิน”แนวโน้มค่าเงินบาท ตลาดการเงินยังคงมีความผันผวนอยู่สูงท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจหลักชะลอตัวลงหนักหรือเสี่ยงที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอย จุดนี้อาจยังคงหนุนความต้องการเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดดภัย และเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเงินบาท

Perfect Storm กำลังมา! เศรษฐกิจถดถอย ส่อลากยาวถึงปีหน้า

ไทยเจอ "เงินเฟ้อ" กระหน่ำเศรษฐกิจ ฝากความหวังเดียวที่ ท่องเที่ยว

แต่เงินบาทยังพอมีแรงหนุนฝั่งแข็งค่า จากความหวังต่อการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวไทยมากขึ้น หลังจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการกักตัว ทำให้มีความคาดหวังว่านักท่องเที่ยวจีนอาจเริ่มกลับมาประเทศไทย ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้ เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วในวันก่อน

แต่เป็นการเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทแข็งค่า และรอจังหวะทยอยขายทำกำไรเงินบาท หากเงินบาทแข็งค่าแตะโซนแนวรับแถว 35.00 บาทต่อดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ยังเร็วเกินไปที่ทางการจีนจะเปิดให้ชาวจีนสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้อย่างสะดวก (เราประเมินว่า การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนอาจเกิดขึ้นได้ หลังการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงปลายปี)

ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง แนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.05-35.25 บาท/ดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ตลาดค่าเงิน ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดได้กลับมาหนุนให้ผู้เล่นบางส่วนเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 104.5 จุด อีกครั้ง

นอกจากนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ยังคงเป็นอุปสรรคต่อราคาทองคำ ทำให้ราคาทองคำยังคงปรับตัวลดลง แม้ว่าตลาดจะพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยงก็ตาม 

อั้นไม่ไหว! ขนส่งไฟเขียวรถโดยสารประจำทางขึ้นราคา 4 ก.ค.

ผ่างบ “หุ้นTLI - ไทยประกันชีวิต” จ่อ IPO ราคา 16 บาท/หุ้น พร้อมวิธีจองซื้อ เริ่ม 29 มิ.ย.65

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง รายงาน GDP ไตรมาสแรก นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดในงานสัมมนา ECB Forum in Sintra เพื่อประเมินมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนักหรือถดถอย และทิศทางนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต

สถานการณ์ตลาดต่างประเทศ 

บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนักหรือถดถอย จากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งสะท้อนผ่าน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) ในเดือนมิถุนายน ที่ดิ่งลงแตะระดับ 98.7 จุด แย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ระดับ 100 จุด และนับเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่ต้นปี 2021

ความกังวลดังกล่าวทำให้ ผู้เล่นในตลาดเดินหน้าเทขายสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อย่าง Amazon -5.1%, Meta (Facebook) -5.2%, Tesla -5.0% กดดันให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงกว่า -2.98% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -2.01%

ตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 สามารถปรับตัวขึ้น +0.27% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน นำโดย Total Energies +1.3%, BP +1.3% ที่ได้ รับอานิสงส์จากการรีบาวด์ขึ้นของราคาน้ำมันตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังมองว่าตลาดน้ำมันจะยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว นอกจากนี้ ความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากที่ทางการจีนผ่อนคลายมาตรการกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศ ก็ได้หนุนให้ หุ้นกลุ่มการเงินที่เน้นธุรกิจในฝั่งเอเชียและหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยปรับตัวสูงขึ้น อาทิ HSBC +1.3%, Dior +0.7%

ตลาดบอนด์ ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักหรือถดถอย ยังคงกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้ แม้ว่าระหว่างวันจะมีการปรับตัวขึ้นแตะระดับ 3.25% ก็ตาม เนื่องจากผู้เล่นบางส่วนก็รอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นในการเข้าซื้อ (Buy on Dip) กอปรกับภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงกลับสู่ระดับ 3.18% อีกครั้ง

ข้อมูลจาก : พูน พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย

เปิดโผ 18 หุ้นไทย รับมือเงินเฟ้อพุ่ง ได้อานิสงส์เปิดเมือง-ดอกเบี้ยขาขึ้น

“หมอพร้อม” มี 2 ฟังก์ชันใหม่  ประเมินภาวะลองโควิด - ตรวจสุขภาพใจ

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ