รู้ทันร้านทอง ต้องรู้วิธีคิดราคา "ซื้อ-ขาย" ทองคำในประเทศ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในแต่ละวัน ร้านขายทองที่เป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคำจะยึดราคา "ซื้อ-ขาย"ตามที่ประกาศไว้ เป็นราคาอ้างอิงสำหรับราคาในประเทศ แต่ก็เกิดข้อสงสัยในบางกรณี

การซื้อขายทองคำในประเทศ อาจจะแบ่งง่าย ๆ เป็น 2 ตลาดหลัก ๆ คือ ทองคำแท่ง กับ ทองรูปพรรณ โดยอย่างแรกมักจะมีการซื้อขายเพื่อ "การลงทุน" ซึ่งผู้ที่ซื้อทองคำในกลุ่มนี้มักจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวราคาทองคำในแต่ละวันเป็นอย่างดี หรือ อย่างน้อยก็ดีกว่าผูที่ซื้อขายทองคำรูปพรรณ ซึ่งเป็นอีกตลาดในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โดยแรงจูงใจจากการซื้อซื้อมีหลากหลาย ทั้งเพื่อการลงทุน ค่านิยม เป็นของขวัญ เครื่องประดับเพื่อความสวยงามและแสดงฐานะ เป็นต้น

ราคาทองวันนี้ "แปลก ๆ" สมาคมไม่ยอมประกาศช่วงบ่าย ทั้ง ๆที่น่าจะลดลง

ราคาทองวันนี้ ปิดบวก 100 บาท "ต่างประเทศขยับ-บาทอ่อน"เล็กน้อย

 

 

 

ราคาทองคำที่จำหน่ายในประเทศไทย มีการปรับราคาขึ้น-ลง ตั้งแต่ช่วงเช้าราว ๆ 09.30 น. ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ จากนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน ซึ่งบางวันปรับดุเดือดกันนับ 10 ครั้ง แต่สมาคมฯจะประกาศราคาตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ โดยเฉพสะวันเสาร์จะมีการประกาศครั้งเดียวในช่วงเช้า และเป็นราคาซื้อขายในช่วงเสาร์-อาทิตย์

หลายคนอาจสงสัยว่าบรรดาร้านทองเอาเปรียบหรือไม่ ในการซื้อขายทองคำในแต่ละวัน แต่คนทั่วไปมักจะไม่รู้ว่าการกำหนดราคาขึ้น-ลงในแต่ละวัน มีกฏกติกามารยาทกำหนดไว้ โดยจะมี "สูตรการคำนวณราคาทองในประเทศ" ซึ่งมี "ตัวแปร"ที่ใช้ในการคำนวณ "กำกับ"เอาไว้ ดังนี้ 

ราคาทองไทย = (Spot Gold + Premium) x 32.148 x ค่าเงินบาท x (.965 /65.6)

หากสรุปออกเป็นสูตรคำนวณด้านบนให้เข้าใจง่าย จะได้ ดังนี้

ราคาทองไทย = (Spot Gold + 2 ) x ค่าเงินบาท x 0.473

ทั้งนี้ ตัวเลข 0 .473 ได้มาจาก 32.148 x (.965/65.6) จะเท่ากับ 0.4729 และปัดทศนิยมเป็น 3 หลักจะได้ 0.473

สำหรับค่าต่าง ๆ ในสูตรข้างต้น มีดังนี้

  • premium คือ ต้นทุนในการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 1-2 เหรียญ ไม่เกินนี้ ปัจจุบันเหมือนว่าค่า premium จะถูกปรับให้เป็น 2เหรียญ
  • 32.148 คือ น้ำหนักของทองคำ 1 กิโลกรัม เมื่อเทียบเป็นออนซ์ ซึ่งเป็นทองคำต่างประเทศชนิด 99.99%
  • 0.965 คือ ทองคำในประเทศชนิด 96.5% คิดจาก 96.5/100
  • 65.6 คือ น้ำหนักของทองคำชนิด 96.5% 1 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับน้ำหนัก 1 บาท

ดังนั้น จะเห็นไดว่าราคาทองคำในประเทศ จะมีตัวแปรสำคัญคือ ราคาทองในตลาดสปอตต่างประเทศ (Spot Gold) เป็นราคาที่ซื้อขายในขณะนั้น ไม่ใช่ราคาทองคำฟิวเจอร์ และ ค่าเงินบาท ซึ่งการขึ้นลงของราคาทองในปต่ละวัน จึงขึ้นกับราคาทองคำในตลาดสปอตและค่าเงินบาท

ในบางประเทศ บรรดาร้านทองสามารถลดราคาลงได้ จากการลดค่า "Premium" แต่ในประเทศไทย ยังไม่เห็นว่าจะมีการปรับลดในส่วนนี้ 

สำหรับ "ทองรูปพรรณ" จะมีราคาที่ผู้ซื้อ-ขาย "ต้องจ่าย" เรียกว่า "ค่ากำเหน็จ" ซึ่ง "กำเหน็จ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "ค่าจ้างทำเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ"

ดังนั้น หากใครซื้อทองรุปพรรณ ก็ต้องจ่ายในส่วนนี้ให้ร้านทอง โดยมากร้านทองที่ขาย "สร้อยคอทองคำ" หรือ "แหวนทองคำ" ตามหน้าร้านก็จะคิดราคาบวกเพิ่มเข้าไป ซึ่งจะคิดจากต้นทุนต่าง ๆ บวกเข้าไปด้วย 

แต่ก็ใช่ว่าเสียค่ากำเหน็จจากการซื้ออย่างเดียว หากไปขายคืนก็เสียด้วยเช่นกัน แต่อาจจะไม่มากเท่ากับขาซื้อ 

ส่วนอัตราค่ากำเหน็จจะเป็นเท่าไรนั้น ขึ้นกับแต่ละร้าน และความยากง่ายในการสั่ง "ทำทองรูปพรรณ" แต่โดยมากแล้ว การไปสั่งทำต่างหากจากที่มีรูปแบบมากกว่าหน้าร้านจะมีราคาแพงกว่า

ดังนั้น การซื้อทองคำต้องดูดี ๆ โดยเฉพาะราคาเคลื่อนไหวขึ้น-ลงแต่ละวัน โดยดูง่าย ๆ จากราคาในต่างประเทศและค่าเงินบาทในระหว่างวัน โดยจำไว้ว่า หากราคาในต่างประเทศขยับขึ้น ทองในประเทศก็มักจะขึ้นตาม แต่ก็มีบางช่วงบางเวลา แม้ว่าราคาต่างประเทศจะลง แต่เป็นช่วงจังหวัดที่ค่าเงินบาทอ่อน ราคาทองก็อาจจะขึ้นก็ได้

จำไว้ว่า "ราคาทองในประเทศวิ่งไปทางเดียวกันกับต่างประเทศ แต่วิ่งสวนทางกับค่าเงินบาท (หากค่าเงินบาทแข็ง ทองในประเทศจะถูก)"

แต่ก็มีบางกรณีเหมือนกัน ที่ราคาทองในประเทศไม่ปรับตาม หรือ น่าสงสัย ในช่วงเวลานั้น พึงสงสัยไว้ก่อนว่ามีสาเหตุมาจากความผิดพลาด หรือบรรดาผู้ค้าทองคาดการณ์ผิดพลาด ทำให้ยังราคาเดิม เพราะถ้าขายในราคา "ตามสูตร"ก็จะพากันขาดทุนเท่านั้นเอง!

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ