เงินเฟ้อยังไม่จบ ดอกเบี้ยขาขึ้น คาดกดดันหุ้นไทย เป้าปีนี้เหลือ 1,740 จุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50% ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว โบรกฯประเมินหากนักเที่ยวยังทะลักเข้าไทยจำนวนมาก อาจหนุนให้เงินเฟ้อยังสูงจากความต้องการสินค้าและบริโภค ซึ่งมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นต่ออีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ และจะกดดันตลาดหุ้นไทยจำกัด Upsideให้ แคบลง พร้อมปรับเป้าปีนี้เหลือ 1,740 จุด

กนง.มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ชี้แนวโน้มเงินเฟ้อทรงตัวระดับสูง

คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก หลังเงินเฟ้อไทยพุ่ง จำกัด Upside ตลาดหุ้นไทย

จากกรณีวานนี้ (25 ม.ค.66) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี สู่ระดับ 1.50% ถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 เมื่อนับจากปี 65 ซึ่งเป็นไปตามเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากภาคท่องเที่ยวและภาคเอกชน หลังการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) มีแนวโน้มลดลง คลี่คลายตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง แต่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังอยู่ในระดับสูง

ฝ่ายวิจัยบริษัท เอเซียพลัส (ASPS) มองว่า การต้อสู้กับเงินเฟ้อยังไม่สิ้นสุด ซึ่งหากจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยมากกว่าคาดไว้ อาจกดดันราคาอาหารสำเร็จรูป จนส่งผลให้ Core CPI ปรับตัวลง ได้ค่อนข้างช้าเช่นกัน และไทยอาจเผชิญกับเงินเฟ้อในรูบแบบ Demand Pull หรือ ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการ

ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยตามกลไก จะจำกัด Upside ตลาดหุ้นไทย (SET) ให้แคบลง กดดันดัชนีช่วงสั้น ๆ และส่งผลให้กรอบเป้าหมายสิ้นปี 2566 ของ SET ลดลงมาอยู่บริเวณ 1,740 จุด

 

รวมถึงเริ่มเห็นความเสี่ยงที่กดดัน Valuation ของภาพรวมตลาดหุ้นไทยจาก 2 ทาง ได้แก่

1. แนวโน้มการปรับประมาณการกำไรปี 2566 ลง สะท้อนได้จากข้อมูล Earning Preview ไตรมาส 4 ปี 65 ในทั้ง 22 บริษัท (มีสัดส่วน 25% ของ Market Cap รวม) ลดลง  30% จากไตรมาสก่อน และ 34% จากปีก่อน รวมถึงเริ่มเห็นการรายงานกำไรของบริษัทจดทะเบียนออกมาต่ำกว่าคาดหลายบริษัท อีกทั้งยังเริ่มเห็นแนวโน้มการปรับ EPS66F จาก Bloomberg Consensus ลง

2. ความเสี่ยงที่ กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยได้อีกในช่วงที่เหลือของปีเริ่มจากวานนี้ กนง. มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% เป็น 1.5% ตามกลไกจะกดดัน P/E ตลาดลดลง และกดดันดัชนีเป้าหมายย่อตัวลงจาก 1,820 จุด เหลือ 1,740 จุด และยังมีความเสี่ยงที่กนง.จะขึ้นดอกเบี้ยอีกในช่วงที่เหลือของปี

โดยทั้ง 2 ปัจจัย กดดันให้ดัชนีเป้าหมายย่อตัวลง หรือ Upside ของตลาดแคบลง ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ สร้าง Sensitivity ของผลกระทบ เป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทย จากการขึ้นดอกเบี้ย และ ESP66F ที่ลดลง

นอกจากนี้ หากฝ่ายวิจัยฯ คิดในอีกมุมหนึ่ง คือ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% และ Market Earning Yield Gap ระดับ 4.20% แต่ขยับ EPS ลดลงทุก ๆ 1% จะกดดันเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทย 17 จุด ดังภาพข้างล่าง

คอนเทนต์แนะนำ
สงครามรัสเซีย-ยูเครน จุดชนวน ขยับเข็มนาฬิกาวันสิ้นโลกปี 2023 ลดลง 10 วินาที
ธอส.มาแล้ว ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทุกประเภท 0.25% ต่อปี 

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ