"การบินไทย" ลุยเช่าเครื่องใหม่ 9 ลำ ตั้งเป้าปีนี้โต 40% แย้มออกแผนฟื้นฟูเร็วกว่ากำหนด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ชาย เอี่ยมศิริ” ซีอีโอใหม่ บมจ.การบินไทย (THAI) ตั้งเป้าปี 66 รายได้โต 40% คาด EBITDA แตะ 2 หมื่นล้านบาท พร้อมเช่าเครื่องบินใหม่เพิ่ม 9 ลำ โละขายเครื่องเก่า 22 ลำ แย้มเตรียมออกจากแผนฟื้นฟู และกลับเทรดตลาดหุ้นก่อนกำหนด เผยอาจไม่ต้องใช้วงเงินกู้ 2.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีเงินสดในมือ 3 หมื่นล้านบาท

“บินไทย” เช่าเครื่องแอร์บัส 350-900 อีก 4 ลำ กางแผนเพิ่มทุน 31,500 ล้านหุ้น

“บินไทย” ไตรมาส 3 กำไรหาย 112% ทำขาดทุน 4,785 ล้าน สวนทางผู้โดยสารพุ่ง

“การบินไทย” เฮ ศาลเห็นชอบแก้แผนฟื้นฟู แปลงหนี้เพิ่มทุน-ลดวงเงินกู้

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2566 นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แถลงต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรก โดยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน เจรจาเจ้าหนี้ จนถึงขณะนี้คาดว่าบริษัทจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้แล้ว ซึ่งในระยะถัดไปจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ กลับเข้าไปเทรดในตลาดหุ้น

และในระยะยาว จะนำการบินไทย กลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติในระดับต้น ๆ ของโลกให้ได้ ในช่วงเวลาที่ตนดำรงตำแหน่ง 4 ปี ต่อจากนี้

ทั้งนี้ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 66 บริษัทฯ จะปรับปรุงโครงสร้างการทำภายใน หลังจากที่ผ่านมามีการลดจำนวนพนักงานจากกว่า 29,000 คน จนเหลือราว 15,000 คนในปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถใช้แผนการทำงานแบบเดิมได้ จึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ขณะที่ปี 65 ประมาณการรายได้อยู่ที่ 90,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 65% ของช่วงก่อนโควิด-19 เมื่อปี 62  และ สำหรับปี 66 คาดการณ์ว่าบริษัทจะรายได้เติบโตราว 40% จากปีก่อนหน้า ภายใต้อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 80% และคาดกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จะแตะระดับ 20,000 ล้านบาท

สำหรับเงินกู้บริษัทมีวงเงินอยู่ 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ระยาว 12,500 ล้านบาท และหมุนเวียนในกิจการ 12,500 ล้านบาท ซึ่งบริษัทอาจจะยังไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินดังกล่าวหากผลประกอบการณ์ดีขึ้น อีกทั้งในปี 65 บริษัทมีเงินสดอยู่ราว 30,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 64 ที่มีเงินสดเพียง 6,000 ล้านบาท

ด้านแผนกระบวนการฟื้นฟูกิจการ มีความคืบหน้าแล้ว 70% คาดว่าบริษัทจะออกจากแผนฯได้เร็วกว่าปี 67 และกลับเข้าไปเทรดในตลาดหุ้นได้เร็วกว่าจากแผนเดิมที่กำหนดไว้ คือ ปี 68

ปัจจุบันการบินไทยมีเครื่องบินโดยสารประจำการ 49 ลำ ซึ่งไม่เพียงต่อจำนวนเที่ยวบินในขณะนี้  จึงได้จัดหาเครื่องบินระยะสั้น ล่าสุดได้เซ็นสัญญาเช่าเครื่องบินโดยสารรุ่น แอร์บัส A350 มาเพิ่มอีก 6 ลำ คาดจะทยอยเข้าประจำการฝูงบินตั้งแต่เดือน เม.ย. ปีนี้ รวมถึงกำลังจะเจรจาเช่าเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างอีก 3 ลำ คาดรู้ผลสิ้นปีนี้

ส่วนสาเหตุที่ไม่นำเครื่องบิน แอร์บัส เอ380 จำนวน 6 ลำ กลับมาใช้งาน เนื่องจากจอดมานานถึง 2 ปี ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงหลายร้อยล้านบาท และจำนวนที่นั่งเยอะ จุดคุ้มทุนมีความเสี่ยงสูง รวมถึงต้นทุนน้ำมัน เนื่องจากมี 4 เครื่องยนต์ จึงมีอัตราสิ้นเปลืองกว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ ดังนั้นเครื่องรุ่นจึงต้องรอขาย หรือแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องบินใหม่กับทางผู้ผลิต

ขณะที่เครื่องบินที่รอขายมีจำนวน 22 ลำ ประกอบด้วย โบอิ้ง 777-300, โบอิ้ง 777-200, แอร์บัส A340 และ แอร์บัส A380

นอกจากนี้ บริษัทฯวางเพิ่มเที่ยวบินในจุดที่เคยทำการบินทั้งในยุโรป จีน และญี่ปุ่น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากยุโรป 40% เอเชีย-เหนือ 35% ซึ่งต้องรอจีนและญี่ปุ่นเปิดประเทศเต็มที่คาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 40% และอินเดีย 10%  

คอนเทนต์แนะนำ
โออาร์-บางจาก ปรับขึ้นอีก 40 สต. เบนซิน มีผลพรุ่งนี้ ตลาดโลกพุ่งไม่หยุด
สน.ทองหล่อ แจงปม ตร.เข้าตรวจร้าน "ดิว อริสรา"
“เกษตรแฟร์ 2566” เช็กวิธีเดินทาง-จุดจอดรถ เปิดปิดกี่โมงก่อนไปเที่ยว ที่นี่!

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ