ต่างชาติเทขายหุ้นไทย 9.7 พันล้าน โยกเข้าพันธบัตร หลบวิกฤตธนาคาร


โดย ธีรวัฒน์ หวังธิติธีรกุล

เผยแพร่




การปิดธนาคาร 3 แห่งในสหรัฐฯ และปัญหาธนาคารยักษ์ใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ที่ขาดสภาพคล่อง ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดทุนทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะต่างชาติเทขายหุ้นไทยอย่างหนัก 9.7 พันล้านบาท แต่กลับพบว่าโยกเข้าซื้อตลาดพันธบัตรไทยมากถึง 7 พันล้านบาท โบรกฯชี้สัปดาห์หน้าเคลี่อนไหวกรอบ 1,535 - 1,585 จุด จับตาประเด็นสำคัญ เฟด ประชุม 21-22 มี.ค. ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

ตลาดเงิน-ตลาดทุน-ตลาดหุ้น ตอบชัด วิกฤตแบงก์ต่างประเทศ “ไม่กระทบกับแบงก์ไทย”

ทองพุ่งรวดเดียว 500 บาท! วิกฤตธนาคาร-ดอลลาร์อ่อนหนุนแรงซื้อ

โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (13-17 มี.ค.66) ตลาดหุ้นไทย (SET Index) ดัชนีร่วงหนักแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ที่ 1,518.66 จุด ก่อนจะทยอยฟื้นตัว เนื่องจากวิตกภาคธนาคารสหรัฐฯ หลังธนาคาร 3 แห่งประสบปัญหาสภาพคล่อง จนถูกสั่งปิดกิจการ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดแรงขายหุ้นทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์

ทั้งนี้ในระหว่างสัปดาห์  SET Index ย่อตัวลงช่วงสั้น ๆ อีกครั้ง จากข่าวสถาบันการเงินรายใหญ่แห่งหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์

หลังจากนั้นเหล่าสถาบันการเงินที่มีปัญหาก็เริ่มได้รับความช่วยจากธนาคารของประเทศนั้น ๆ ซึ่งช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนลงบางส่วน จน SET Index ฟื้นตัวกลับมา เมื่อวานนี้ 17 มี.ค. 66 ปิดที่ระดับ 1,563.67 จุด ลดลง -2.25% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน

ด้านนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยอย่างหนักทั้งสัปดาห์ 9,735 ล้านบาท แต่อาจเป็นการปรับพอร์ตเท่านั้น เนื่องจากต่างชาติได้กลับเข้าซื้อตลาดพันธบัตรไทยมากถึง 7,103 ล้านบาท แบ่งเป็น  เป็นพันธบัตรระยะสั้น 162 ล้านบาท และพันธบัตรระยะสั้นระยะยาวมากกว่า 1 ปี 6,941 ล้านบาท รวมถึงมีพันบัตรหมดอายุแล้ว 3,411ล้านบาท ส่งผลให้การถือครองนักลงทุนต่างชาติ ณ วันที่ 17 ต.ค. รวม 1,067,071 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังสะท้อนได้จากเงินบาท ได้กลับมาแข็งค่ามากสุดในรอบ 1 เดือน ปิดอยู่ที่ 34.13 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายสัปดาห์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,535 และ 1,515 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,575 และ 1,585 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (21-22 มี.ค.)  ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และประเด็นการเมืองภายในประเทศ

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ. รวมถึงดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนมี.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย LPR เดือนมี.ค. ของจีน การประชุม BOE ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ของญี่ปุ่นและอังกฤษ ตลอดจนดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือน มี.ค. ของญี่ปุ่น และยูโรโซน

 

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ