7 ความเสี่ยงหลังเกษียณที่คนไทยต้องระวัง วางแผนก่อนสายเกินไป


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับชีวิตผู้คนตลอดเวลา ชีวิตหลังเกษียณ เป็นช่วงเวลาที่อาจยาวนานถึง 1 ใน 3 ของชีวิตหรือมากกว่า และอาจเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุขและไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ รวมๆ แล้ว มี 7 ความเสี่ยงที่ต้องระวังและเตรียมรับมือ

1. ความเสี่ยงจากการมีอายุยืน (Longevity Risk) เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เรียกว่า Risk multiplier ซึ่งทำให้ความเสี่ยงอื่นๆ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไปด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้ามี มีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 - 2 ปีหลังจากเกษียณ และถึงแม้ตลาดหุ้นจะเป็นขาลงยาวนานแค่ไหน หรืออัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ก็ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตเพราะอายุสั้น ตรงกันข้ามถ้ามีอายุยืนยาวจะส่งผลกระทบอย่างมาก

เคล็ดลับ "ลงทุน" ให้มีเงินเก็บออม

"สิทธิผู้ถือหุ้น" ที่ไม่ควรละเลย ก.ล.ต.แนะปกป้องดูแลสิทธิของตนเอง

2. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)


 

ซึ่งทุกครั้งที่วางแผนเกษียณต้องคำนึงถึงเรื่องของ  “ผลกระทบจากเงินเฟ้อ” ด้วยทุกครั้ง

3.ความเสี่ยงจากการถอนเงินมากเกินไป (Excess Withdrawal Risk) หรือภาวะ เงินหมดก่อนตาย ในต่างประเทศมีคำที่เรียกว่า Safe Withdrawal Rate หมายถึง อัตราการถอนเงินที่ปลอดภัยที่จะทำให้เงินสามารถสร้างรายได้ให้ได้นานเท่าที่ต้องการ เป็นเรื่องที่มีการศึกษากันอย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งมีการทดลองด้วยการนำข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1926 เพื่อหาอัตราการถอนเงินเริ่มต้นสูงสุด (SAFEMAX) ที่จะทำให้เงินสร้างรายได้ให้ได้ยาวนานอย่างน้อย 30 ปี ซึ่งอาจเรียกได้ว่า 4% คือ อัตราการถอนเงินเริ่มต้น (Initial Withdrawal Rate) ที่ปลอดภัย (Safe Withdrawal Rate) ก็ได้ (บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการเงินในปี 1994โดยนักวางแผนการเงินชื่อ William Bengen)

จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วอัตราการถอนเงินที่ปลอดภัยควรจะมีค่าเท่ากับเท่าใด ทำให้เกิดองค์ความรู้และงานวิจันเรื่องวิธีการถอนเงิน (Decumulation Approach) ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีเงินใช้หลังเกษียณได้นานเท่าที่ต้องการ

4. ความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาล (Health Expense Risk) เมื่อถึงวัยสูงอายุหลังเกษียณร่างกายย่อมมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ง่าย จะตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาล ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะเจ็บป่วยมากน้อยหรือใช้ระยะเวลามากน้อยแค่ไหน แต่จากสถิติพบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล หรือเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยสูงถึง 8 - 9% แปลว่า ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุก ๆ 8 - 9 ปี (ตามกฎ 72) โดยยังไม่ได้คำนึงถึง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้วิธีการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

5. ความเสี่ยงจากสภาวะพึ่งพิง นอนติดเตียง (Long-Term Care Risk) เป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากการเจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และอาจถึงขนาดต้องนอนติดเตียง แน่นอนว่าย่อมนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมหาศาล เป็นภาระของคนในครอบครัว ความเสี่ยงข้อนี้ถูกพูดถึงบ่อยในสหรัฐอเมริกา เพราะจากสถิติพบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี มีโอกาสตกอยู่ในสภาวะนี้สูงถึง 70% แต่ในประเทศไทยยังไม่ค่อยพูดถึงกันเท่าไหร่นัก ซึ่งเชื่อว่าหากลองถามคนรอบตัว จะได้คำตอบว่ามีคนในครอบครัวที่มีผู้สูงวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างน้อย 1 คนแน่นอน

6. ความเสี่ยงที่เกิดจากความสามารถในการคิดวิเคราะห์ลดลง (Declining Cognitive Abilities Risk) และความเสี่ยงจากการถูกล่อลวงทางการเงิน (Financial Elder Abuse Risk) มีงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความรู้ความสามารถจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 

ความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ไม่เพียงเท่านี้ยังมีความเสี่ยงอื่นที่มักจะเกิดกับผู้สูงวัย คือ การถูกหลอกลวงทางการเงิน ซึ่งพบเห็นตามข่าวอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนั้น การเป็นผู้สูงวัยที่มีเงิน (ก้อน) เป็นความเสี่ยงที่อาจจะถูกล่อลวงได้ เป็นกลุ่มบุคคลเป้าหมายของ 18 มงกุฎ ทั้งจากบุคคลภายนอก ไม่เว้นแม้แต่บุคคลในครอบครัว

7. ความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดเงิน (Market Risk) และความเสี่ยงจากลำดับของผลตอบแทน (Sequence of Returns Risk) ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการทำความเข้าใจกับเรื่องอย่างจริงจัง วัยเกษียณหลายคนยังไม่รู้สึกว่ามีความผันผวน หรือ ความไม่แน่นอนรุงแรงแค่ไหน ซึ่งอาจต้องนำ วิธีหรือเครื่องมือที่เรียกว่า Monte Carlo Simulation มาใช้ในกระบวนการวางแผนการเงินหรือวางแผนเกษียณ มากขึ้นในประเทศไทย

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

 

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ