ถอดรหัส กู้ภัย-ดับเพลิง ไม่มีแบบแผนชัดเจน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การสูญเสียนักกู้ภัย 4 คน จากเหตุไฟไหม้ อาคารถล่ม หากย้อนไปดูเรื่องทักษะการดับไฟ และ การประเมินสถานการณ์การเข้าพื้นที่เสี่ยงหนึ่งใน นักดับเพลิงของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร สะท้อนว่า ที่ผ่านมาไทยไม่เคยมีแบบแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมถึงการอบรมเรื่องวการกู้ภัย ส่วนใหญ่จะเป็นการอบรมระยะสั้นเท่านั้น

ครูฝึกดับเพลิง วิเคราะห์เสียง “ปัง” ก่อนบ้านหรูพังถล่มทับคน แนะแก้ระเบียบช่วยชีวิตผู้ปฏิบัติงาน

ไฟไหม้บ้าน เกิดทรุดตัว ถล่มทับกู้ภัยบาดเจ็บ-เสียชีวิต

คลิปวิดีโอที่ถูกบันทึกในช่วงหลังจากที่อาคารถล่มลงมา ในคลิปมีเสียงคนพูดย้ำว่า ตัวเองตะโกนบอกตลอดว่าอย่าไม่ให้เข้าไปใกล้ตัวอาคาร เพราะ ได้ยินเสียงแผ่นคอนกรีตแตก สะท้อนว่า โครงสร้างไม่แข็งแรง แต่สุดท้ายก็พบว่า มีกู้ภัยวิ่งเข้าไปช่วยกันดับไฟ

นายจักรกฤษณ์ คงคำ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญการ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสาร บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ การทำงานร่วมกันระหว่าง ปภ.กับอาสาสมัครกู้ภัย ไม่มีแบบแผน หรือ ข้อบังคับที่ชัดเจน ต่างจากในต่างประเทศที่จะมีหลักการปฏิบัติกำหนดไว้ เช่น จะต้องมีการตั้งศูนย์บัญชาการก่อนดำเนินการใดใด ขณะที่ของไทย จะเน้นการทำงานเร็ว และ ศูนย์สั่งการต่างๆ ค่อยๆ ดำเนินการตามหลังมา

นายจักรกฤษณ์  ยังบอกอีกว่า การประเมินโครงสร้างอาคาร ช่วงเวลาการเผาไหม้ เป็นสิ่งสำคัญ ก่อนให้นักผจญเพลิงเข้าทำงานด้านใน หัวหน้าชุดจะประเมินอยู่ข้างนอก สังเกตความเสียหายของอาคารทุกวินาที ซึ่งเมื่อวานนี้ที่ได้ยินเสียง ปัง ปัง เกิดจากแผ่นคอนกรีตแตก หรือ อาคารกำลังวิบัติ ทุกคนในสังกัด ปภ.รับคำสั่งผ่านเครื่องขยายเสียง และวิทยุสื่อสารให้หนีออกห่างจากอาคารโดยด่วนแล้ว แต่การทำงานร่วมระหว่างปภ.กับอาสากู้ภัย สื่อสารผ่านวิทยุคนละย่านความถี่ ทำให้อาสาที่ทำงานด้านใน ไม่ทราบถึงสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ ปภ.ประเมินว่า อาคารใกล้วิบัติแล้ว

ส่วนหลักสูตรการเรียนเป็นนักผจญเพลิง สำหรับนักดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ต้องผ่านการเรียนจากโรงเรียนดับเพลิง ใช้เวลาเรียนนานกว่า 6 เดือนถึงจบหลักสูตร แต่ปัจจุบันมีสถาบันเอกชนกว่า 15 แห่งทั่วประเทศ และการอบรมหลักสูตรที่สร้างกันขึ้นเอง แม้ใช้หลักสูตรคล้ายกันสำหรับอาสากู้ภัย แต่เป็นหลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาอบรม 3 วัน 2 คืน  ซึ่งเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายการอบรม เพราะอาสากู้ภัยไม่มีรายได้จากการทำงานช่วยเหลือประชาชน

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง คือน้ำหรือสารเคมีที่ใช้ดับเพลิงไหม้ นอกจากการประเมินโครงสร้างก่อนทำงาน ระหว่างการทำงานของนักผจญเพลิงด้านในต้องสังเกตที่พื้นอาคารแต่ละชั้นด้วย เพราะน้ำหรือสารเคมีถูกฉีดเข้าไปสะสมเป็นเวลานาน พื้นอาคารรองรับน้ำหนักไม่ไหว ประกอบกับความร้อนสูงที่ให้คอนกรีตแตกตัว เมื่อน้ำไม่มีทางระบายออก จะไหลรวมอยู่ตรงกลางเป็นแอ่งน้ำ จากนั้นพื้นเป็นลำดับแรกๆ ที่รั่วก่อนถล่มลงมา

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ