เปิดแนวทางปฏิบัติการยื่นคำร้องของปิดเว็บไซต์ (บล็อคเว็บ) ของศาล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดแนวทางที่ศาลอาญา จะปฎิบัติเมื่อได้รับคำร้องขอปิดเว็บไซต์ จากรัฐมนตรี DES โดยเรื่องนี้ผู้บริหารศาลอาญาเคยวางไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

กลายเป็นคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกประกาศข้อกำหนดตามความ  ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29)  ในราชกิจจานุเบกษา โดยมีใจความห้ามเสนอข่าวอันเป็นเท็จทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว กระทบต่อความมั่นคงรัฐ หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ยื่นค้านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.20(4) เปิดช่องปิดเว็บไซต์

แจ้งจับเว็บปลอม กุข่าว "บิ๊กตู่-บิ๊กแดง" เพิ่มเวลาทหารเกณฑ์

หากพบมีการกระทำผิดดังกล่าว ให้อำนาจ กสทช.ควบคุมระงับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต และส่งดำเนินคดีได้ นั้นเป็นการกระทำริดรอนสิทธิ์ของสื่อมวลชน และประชาชนหรือไม่ 

ซึ่งหากดูตามอำนาจของกฎหมาย การที่รัฐบาลจะดำเนินการปิดเว็บไซต์ ก็ต้องสอดคล้องรับกับกฎหมาย 2 ฉบับ ประกอบด้วย  พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ใน มาตรา 20 เพื่อระงับการเข้าถึงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ชั่วคราวหรือถาวรอันเนื่องจากกระทำความผิดกฎหมายด้านความมั่นคง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สื่อการพนัน - ลามกอนาจารและความผิดอื่นๆ ตามกฎหมายคอมพิวเตอร์   และ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 35 วรรคสอง เขียนว่าห้ามรัฐปิดสื่อมวลชนเพื่อริดรอนสิทธิเสรีภาพการนำเสนอข่าวสาร ดังนั้นการสั่งปิดสื่อจึงทำไม่ได้โดยเด็ดขาด

แต่ถ้าหากมีความจำเป็นจริงๆ ในการจะต้องปิดเว็บไซต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ก็ต้องทำเรื่องมาให้ศาลอาญา ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณา ปิดเว็บไซต์ เท่านั้น 

โดยเรื่องการปิดเว็บไซต์ หรือ บล็อคเว็บ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เคยมีการลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้ผู้พิพากษาศาลอาญามีแนวทางในการปฏิบัติและพิจารณาคำร้องอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน โดยมีขั้นตอนการพิจารณาดังนี้ 

1. เมื่อกระทรวง DES พบข้อมูลเว็บไซต์ละเมิดกฎหมาย ให้ยื่นคำร้องของระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ แยกคำร้องเป็นรายข้อกล่าวหา 
    1.1 ความผิดด้านความมั่นคง 
    1.2 ความผิดเกี่ยวกับสถาบันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 
    1.3 ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร
    1.4 ความผิดเกี่ยวกับการพนัน
    1.5 ความผิดด้านอื่นๆ เช่นการฉ้อโกง หลอกลวง

2. ศาล
    2.1 เมื่อคำร้องชัดเจน ศาลรับคำร้องไว้รอไต่สวน 
    2.2 ออกหมายนัดไต่สวนภายใน 7 วัน แจ้งผู้ร้อง และผู้ถูกกล่าวหา โดยระบุชื่อผู้ร้อง - ผู้ถูกกล่าวหา ข้อกล่าวหา วันนัดไต่สวนเท่านั้น 
    2.3 ส่งหมายนัด รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ผ่าน 2 ช่องทาง     
        - ประกาศหมายลง e-Notice System บนเว็บไซต์ศาล 
        - กระทรวง DES ผู้ช่วยส่งหมายศาลผ่าน E-mail , Facebook , Messenger, Twitter ที่อยู่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรากฎบนสื่ออื่นๆ 
    2.4 การนัดพิจารณาแบบเปิดเผยไต่สวนพยาน 2 ฝ่าย 
        - ผู้ถูกกล่าวหา ขอคัดคำร้องกระทรวง DES พร้อมเข้าสู่สถานะผู้คัดค้าน
        - ขอขยายเวลายื่นคำคัดค้าน - ขอเลื่อนไต่สวนได้ตามเหตุจำเป็น
        - ผู้คัดค้าน เสนอพยานเข้าไต่สวนได้ 

3. กรณีไต่สวนฝ่ายเดียวทำได้ 
    3.1 เหตุฉุกเฉิน เป็นเรื่องเร่งด่วน 
    3.2 ผู้ถูกกล่าวหา ไม่ยื่นคำคัดค้าน 
        - วิธีการไต่สวนยึดเอกสารผู้ร้องเป็นหลัก 

4. ผลคำสั่งศาล 
    4.1 ยกคำร้อง
    4.2 ลบเฉพาะข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
    4.3 ปิดทั้งเว็บไซต์ เช่น กลุ่มสื่อลามก สื่อบริการพนัน 

5. ขั้นตอนการบังคับคดี  เมื่อศาลสั่งปิดกั้น - ลบเนื้อหาที่ผิดกฎมายในเว็บไซต์ 
    5.1 เจ้าหน้าที่ DES เป็นผู้ปิดเว็บไซต์
    5.2 เจ้าหน้าที่ DES ส่งให้ ISP บล็อกภายในเวลากำหนด 


สำหรับผลบังคับตามคำสั่ง  ถือเป็นแนวทางมาตรฐานปัจจุบันซึ่งศาลอาญาเป็นศาลชั้นต้นผูกพันตามคำวินิจฉัยของตนเองที่เห็นว่ากระบวนพิจารณาที่ถูกกฎหมายควรเป็นอย่างนี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแนวทางได้จนกว่าจะมีการอุทธรณ์-ฎีกา แล้วศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ดังนั้นหากสุดท้ายมีการวินิจฉัยเห็นว่ากระบวนการพิจารณาที่ถูกต้องต้องเป็นอย่างอื่นจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอน

โปรแกรมถ่ายทอดสด โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2564

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ