เปิดปฏิบัติการ "กู้ซากเรือล่ม" อยุธยา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เหตุเรือล่มที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร มีการคาดการณ์ว่า เป็นเพราะ น้ำจากแม่น้ำป่าสักและน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันทำให้น้ำเชี่ยวเกิดเป็นน้ำวนอยู่ใต้น้ำ คนขับเรือชาวอยุธยา บอกว่า จุดที่เป็นน้ำวนทำให้เกิดอุบัติเหตุง่าย รวมถึงมีการคาดการณ์ว่า หากเมื่อวานสามารถตัดเชือกลากจูงเรือทิ้งได้ เรือลำเกิดเหตุน่าจะไม่ล่ม

เหตุเรือล่มที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร มีการคาดการณ์ว่า เป็นเพราะ น้ำจากแม่น้ำป่าสักและน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกันทำให้น้ำเชี่ยวเกิดเป็นน้ำวนอยู่ใต้น้ำ คนขับเรือชาวอยุธยา บอกว่า จุดที่เป็นน้ำวนทำให้เกิดอุบัติเหตุง่าย รวมถึงมีการคาดการณ์ว่า หากเมื่อวานสามารถตัดเชือกลากจูงเรือทิ้งได้ เรือลำเกิดเหตุน่าจะไม่ล่ม

เจ้าหน้าที่กู้ภัย จากทั่วสารทิศ เดินทางมาร่วมภารกิจกู้ซากเรือและตามหาร่างผู้เสียชีวิต เหตุเรือล่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร

เรือขนส่งเจ้าพระยา หยุดวิ่งหลังเหตุเรือล่ม

เรือล่มสามแยกแม่น้ำวัดพนัญเชิง คาดมีผู้สูญหาย 2 ราย

เรือหลายลำออกปฏิบัติการ ระดมค้นหา  แต่เพราะ กระแสน้ำไหลเชี่ยวทำให้การทำงานยากลำบาก

ทุ่นสีส้ม ที่ลอยอยู่เหนือน้ำ คือ จุดที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยทางน้ำ นำเชือกลงไปผูกกับเรือที่จมอยู่ใต้น้ำ  แต่ยังไม่สามารถลงไปเก็บกู้ได้ เพราะ ใต้น้ำมีลักษณะเป็นน้ำวนไหลเร็ว แรง มีขยะ และ วัชพืชเป็นอุปสรรคในการทำงาน

หนึ่งในทีมกู้ภัยที่งมลงไปใต้น้ำ บอกว่า ใต้น้ำเชี่ยวมาก เมื่อลงไปถึง ตัวถูกพัดจนไม่สามารถบังคับทิศทางเวลาที่ลงไปอยู่ในน้ำได้ ความแรงหรือความเร็วของน้ำอยู่ที่ 4-5 เดซิเมตร เทียบเท่าความเร็วการขี่รถจักรยานยนต์ 80-100 กม./ชม.

ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ใช้เรือ 2 ลำขับวนหาวัตถุใต้น้ำ เมื่อประเมินจุดกลางน้ำว่าน่าจะเป็นจุดที่ซากเรืออยู่ มีการโยนโซ่ที่ผูกต่อกับเชือกลงไปเกี่ยววัตถุใต้น้ำ จากนั้น นำเรืออีก 1 ลำที่ติดอุปกรณ์แสกนวัตถุใต้น้ำ เรียกว่า “ไซส์โซน่า” สามารถแสกนวัตถุใต้น้ำลึกราว 100 เมตร เมื่อแสกนแล้ว ไปตรวจสอบ เมื่อพบว่าวัตถุที่เกี่ยว คือ ซากเรือ ก็ส่งนักประดาน้ำลงไปผูกทุ่นระบุตำแหน่งตามแนวทางจะต้องให้เรือ 2 ลำแรก ลากซากเรืออกมาในจุดที่ปลอดภัย เพื่อส่งทีมเก็บกู้ลงไปกู้ซากเรือ เนื่องจาก จุดที่ซากเรืออยู่ น้ำเชี่ยว นักประดาน้ำลงไม่ได้

แต่จนถึงตอนนี้ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะ โซ่ที่ผูกต่อกับเชือก ต้านทานกระแสน้ำไม่ไหว กู้ภัยกำลังเตรียมพร้อมเพิ่มโซ่ลงไปผูกเกี่ยวกับซากเรือ

โดยทีมที่ลงน้ำไประบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เรือจะอยู่ในลักษณะตะแคงและถูกทับถมด้วยดินโคลนซ้ำไปอีก

มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นราว ราวอลูมิเนียมของเรือนะครับ แต่ว่าเป็นราวตรงไหนเราไม่สามารถยืนยันได้นะครับ เพราะว่าหลังจากนำมาวิเคราะห์ราวลักษณะแบบนี้มี 3-4จุด ด้วยความที่เราลงไปมีบางจังหวะที่สัมผัสพื้นดินได้ ทำให้เราคาดการณ์ว่าตัวเรือน่าจะอยู่ในลักษณะตะแคง พอถูกเรือลากทั้ง 2 ลำ ลากมา ทำให้ดินโคลนทับถมบางส่วน

หากเราย้อนดูเหตุการณ์เมื่อวานนี้ จะพบว่า ตอนแรก เรือยนต์ลากจูง ขับมากลางแม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งหน้า แม่น้ำป่าสัก เรือลำที่อยู่กลางลำน้ำเลี้ยงโค้งไม่พ้น ถูกกระแสน้ำวนพัด ทำให้เชือกที่ใช้เป็นเชือกลากจูงถูกดึงจน “ตึง”

 จากนั้นน้ำพัด เรือลำนี้ วนมาชน เรือบรรทุกทำให้เรืออยู่ในทิศทางขวางน้ำ ก่อนที่จะค่อยๆจมลงในน้ำ

ทีมข่าวพีพีทีวี พูดคุยกับ นายเรวัต แจ้งกิจ หนึ่งในคนขับเรือที่คุ้นเคยกับแม่น้ำเจ้าพระยา เขาบอกว่า ตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เกิดเหตุเขาติดตามข่าวเพื่อเก็บไว้เป็นบทเรียนของตัวเอง

นายเรวัต ยังบอกอีกว่า จุดนี้เป็นจุดที่อันตรายอยู่แล้ว ยิ่งในช่วงฤดูน้ำหลาก เดือนกันยายน-ตุลาคม จะเกิดอุบัติเหตุอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ทำให้คนเดินเรือต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง

นายเรวัติ บอกว่า เท่าที่ไล่ดูคลิปตอนเรือล่ม เขาเชื่อว่าหากตัดเชือกได้ เรือจะไม่ล่ม เพราะ หากตัดเชือก จะไม่มีอะไรรั้งเรือ และเรือจะไหลไปตามกระแสน้ำ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับก่อนหน้านี้ ที่คนขับเรือในขบวนเดียวกับเรือลำเกิดเหตุ บอกกับทีมข่าวว่า ก่อนที่เรือจะจม คนขับเรือบอกว่า ให้ปล่อยเชือก แต่ตอนนั้นเชือกตึงมากจนไม่สามารถปล่อยหรือตัดทิ้งได้ 

TOP อาชญากรรม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ