บีทีเอส ชี้แจง ค่าโดยสารสายสีเขียวไม่เกิน 65 บาท พร้อมเปิดครบ 59 สถานี 16 ธ.ค.63


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีกระแสข่าว บีทีเอส เตรียมขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดเส้นทาง เป็นจำนวน 158 บาท ล่าสุด บีทีเอสออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง การกำหนดราคาค่าโดยสาร จะเก็บค่าโดยสารตามระยะทางเริ่มต้นจาก 15 บาท และรวมตลอดเส้นทางอยู่ในระดับไม่เกิน 65 บาท

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  หรือ BTSC ในเครือ  บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)  ชี้แจ้ง ประเด็นค่าโดยสารที่จะเพิ่มขึ้นจากเส้นทางเดินรถไฟฟ้าในส่วนต่อขยาย ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า, ช่วงอ่อนนุช-เคหะ และ ช่วงหมอชิต-คูคต โดยระบุว่า

“ศักดิ์สยาม” เชื่อ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ต่ำกว่า 65 บาทแน่นอน

BTSC อยู่ในฐานะผู้รับจ้างการเดินรถในส่วนต่อขยายนี้เท่านั้น  ขณะเดียวกันที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยรวมถึงกรุงเทพมหานคร มีเป้าหมายในการทำให้ค่าโดยสารมีอัตราที่เหมาะสม โดยจะมีการเก็บค่าโดยสารตามระยะทางเริ่มต้นจาก 15 บาท และรวมตลอดเส้นทางอยู่ในระดับไม่เกิน 65 บาท  จากค่าโดยสารตลอดเส้นทางที่ศึกษาไว้เดิมสูงสุดถึง 158 บาท  เพื่อไม่ให้เป็นภาระกระทบต่อคุณภาพชีวิตชาวกรุงเทพมหานคร 

และนำมาสู่ การเจรจาเพื่อแก้ไขสัญญาสัมปทานให้สามารถจัดเก็บค่าโดยสารตามเป้าหมาย รวมทั้งแก้ไขปัญหาเรื่องภาระหนี้สินของกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและกระทรวงมหาดไทยและอยู่ระหว่างการเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 

อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทานเดิม รถไฟฟ้าบีทีเอส  ในฐานะผู้รับผิดชอบการบริหารรถไฟฟ้า ระยะทาง 23.5 กม. เส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารปัจจุบันในอัตรา  16 ถึง  44 บาท (ตามระยะทาง) ขณะที่ช่วงส่วนต่อขยายทั้งหมด (อ่อนนุช-สำโรง-เคหะฯ วงเวียนใหญ่-บางหว้า หมอชิต-วัดพระศรีฯ)  กรุงเทพมหานครเป็นผู้กำหนดค่าโดยสาร

ปัจจุบัน BTSC  เป็นผู้บริหารและรับรายได้ค่าโดยสารจากระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในส่วนเส้นทางเดิมของสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร ตามอายุสัญญา 30 ปี หรือ ตั้งแต่ ปี 2542 –2572  และนำมาสู่ความร่วมมือกับ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ของกรุงเทพมหานคร สำหรับการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยายจากเส้นทางเดิมของสัมปทาน  คือ  ส่วนต่อขยายสายสีลม (สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่) และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) รวมถึงส่วนต่อขยายเพิ่มเติมของสายสุขุมวิทจากแบริ่ง ไปเคหะ และจากหมอชิต ไปคูคต

กมธ.คมนาคม จี้ หน่วยงานขยายสัมปทานบีทีเอส ทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร

ขณะเดียวกัน BTSC  ในฐานะผู้ลงทุนขบวนรถ ส่วน กทม. ในฐานะผู้ลงทุนงานโยธาและระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ได้ร่วมรับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ส่วนต่อขยายประกอบด้วยช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-เคหะ และ ช่วงหมอชิต-คูคต   จำนวน  59  สถานี รวมระยะทางถึง  68.25 กม. สามารถเชื่อมโยงการเดินทางครอบคลุมถึง 3 จังหวัด  ได้แก่ ปทุมธานี , กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ โดยมีความคืบหน้าพร้อมเปิดเป็นทางการครบทั้ง 59 สถานี  ในวันที่ 16 ธ.ค.2563 นี้ แม้จะต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถส่วนต่อขยาย จากหนี้คงค้างของกรุงเทพมหานครกว่า 8,000 ล้านบาท

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ