ก.ท่องเที่ยว เร่งหามาตรการช่วยผู้ประกอบการ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งหารือผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อหามาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่ ล่าสุดภาคเอกชนขอให้ช่วยจ่ายค่าจ้าง ในลักษณะการร่วมจ่ายระหว่างภาครัฐและเอกชน ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน เพื่อพยุงการจ้างงาน

กทม.ติดเชื้อแตะ 400 เปิดไทม์ไลน์โควิดอีก 10 ทัวร์วัดปีใหม่ ติดยกครัวปาร์ตี้ตากอากาศ ร้านดังติดเกือบท...

"อนุทิน" ยกกฎหมายย้ำจุดยืน ไม่ปฏิเสธรักษาคนลอบเข้าเมือง แต่ชี้นี่คือภาระภาษี เงินกู้ ที่คนไทยต้องชดใ...

จากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19  ส่งผลกระทบหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเดินทางต้องหยุดชะงักลง ทำให้รายได้หายไปตาม แม้ความจริงจะมีผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ จากการระบาดไวรัสรอบแรก แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบใหม่ขึ้น ก็ทำให้ผลกระทบกลับมามากขึ้นอีก

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในวันพรุ่งนี้ ( 11 ม.ค.64) ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะหารือร่วมกับภาคการท่องเที่ยว เพื่อหามาตรการบรรเทาผลกระทบให้กับเอกชน  เบื้องต้นภาคเอกชนกลุ่มโรงแรม มีข้อเสนอที่ต้องการให้ช่วยเหลือมากที่สุด คือ การร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้แรงงานในภาคการท่องเที่ยว ในลักษณะร่วมกันจ่ายระหว่างรัฐบาลและเอกชน หรือโคเพย์ (Co-pay) ในสัดส่วนฝ่ายละ 50% จำนวนเงินไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานไว้ การช่วยลดค่าไฟฟ้าในอัตรา 15% ต่อหน่วย ไม่จำกัดปริมาณการใช้ไฟของโรงแรมแต่ละแห่ง และการช่วยให้เอกชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่การระบาดโควิด-19 รอบแรก นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดการตั้งกองทุนเพื่อดูแลผู้ประกอบการท่องเที่ยว  ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะมีการนำเสนอ แก่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 มกราคมนี้

ขณะนี้  การเลื่อนการจอง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ขณะนี้ได้หารือร่วมกับ กระทรวงการคลังให้สามารถขยายเวลาใช้สิทธิจองห้องพักในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน  ที่เป็นการจองเข้ามาในช่วงก่อนปีใหม่ 2564 หรือก่อนเกิดการระบาดของโควิดรอบใหม่ โดยขยายเวลาให้ใช้ได้ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขระบบของธนาคารกรุงไทย ให้ผู้ใช้สิทธิสามารถเลื่อนได้ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ 40 %ด้วย โดยขอเวลาดำเนินการ 1 เดือน

 ส่วนผู้ใช้สิทธิบางรายต้องการยกเลิกการจองห้องพักและไม่เดินทางท่องเที่ยวแล้ว ซึ่งทางโรงแรมบางส่วนพร้อมคืนเงินจองในอัตรา 60 % แต่ติดในเรื่องค่าธรรมเนียมการโอน มีการตั้งคำถามว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวฯ รับเป็นผู้เจรจาร่วมกับเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายท่องเที่ยวออนไลน์ (โอทีเอ) ว่าจะสามารถคืนค่าธรรมเนียมที่ 2 % ได้หรือไม่

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ