ทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤตโควิด-19 อัตราเงินเดือน สายแบงก์-ไอที โต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ระบาดระลอกที่ 2 จ๊อบส์ ดีบี เผย อัตราเงินเดือน สายแบงก์-ไอที โต รวมถึงสายงานเป็นที่ต้องการมากที่สุด หลังโควิด-19 ระบาดระลอก

นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต (Wake-up Talk : Job Market Projection after Crisis) พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% โดยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2

สำรวจ 10 อาชีพเงินเดือนมากที่สุดในปี 2564

สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดแรงงานไทยผ่านจำนวนความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการว่า ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากช่วงเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2 และคาดการณ์ว่าจำนวนประกาศงานทั้งประเทศจะกลับมาเป็นบวก 5% ในกลางปี 2564 (เมื่อเทียบกับกลางปี 2563) และจะฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์โควิด–19 ในต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่

โดยกลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่

1.สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 16.0%

2.สายงานไอที คิดเป็น 14.7%

3.สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 9.8%

ส่วนมุมมองกลุ่มธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่

1. กลุ่มธุรกิจประกันภัย  42.9%

2.กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 41.9%

3. กลุ่มธุรกิจการผลิต 37.7%

ขณะที่ อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยกระจุกตัวอยู่เพียงในเงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19

กลุ่มสายงานที่มีจำนวน ประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่

1.สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ คิดเป็น 29.7%

2. สายงานขนส่ง คิดเป็น 24.7%

3.สายงานการผลิต คิดเป็น 20.8%

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 เช่น นักพัฒนาเอไอ ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

ส่วนธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่

1.กลุ่มธุรกิจไอที คิดเป็น 12.9%

2.กลุ่มธุรกิจการผลิต คิดเป็น 8.1%

3.กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง คิดเป็น 6.6%

ขณะที่ อัตราเงินเดือนสายไอที และ สายธนาคารเติบโต ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่จนถึงผู้บริหาร

นอกจากนี้ ยังพบว่า เกิด 2 ปรากฏการณ์สำคัญในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 คือ

1.คนทำงานหันมาให้ความสนใจการทำงานแบบเวอร์ชวล โดยกว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลก ยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัทที่อยู่ต่างพื้นที่ ซึ่ง 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1. ออสเตรเลีย 2. ญี่ปุ่น 3. สิงคโปร์ และ 5 อันดับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานให้กับบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. มาเลเซีย 3.จีน 4. อินโดนีเซีย 5. รัสเซีย

ซึ่งในปี 2020 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018 ตามลำดับ

และปรากฏการณ์ที่  2  จากผลสำรวจของ จ๊อบส์ ดีบี คือ คนทำงานในประเทศไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 มีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบเวอร์ชวลมากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์

ทั้ง 2 ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มคนทำงานแบบเวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) ที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับภาครัฐ นายจ้าง รวมถึงคนทำงานในยุคหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการหางานในต่างประเทศโดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน หรือโอกาสในการหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ

แบงก์ชาติ ประเมินแรงงานพื้นที่สีแดงกระทบโควิด-19 รอบใหม่ 4.7 ล้านคน

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ