เปิดใจ! ธุรกิจกลางคืนเชียงใหม่ โอดโควิดกระทบหนัก เข้าไม่ถึงสินเชื่อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดใจ SME ธุรกิจภาคกลางคืน จ.เชียงใหม่ โอด โควิดกระทบหนัก ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อของได้ ต้องดิ้นรนกันเอง

ร้าน “East Bar” ร้านอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่ปกติเปิดให้บริการช่วงกลางคืน แต่ต้องปิดให้บริการไปหลายเดือนเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โพสต์ภาพร้านที่ต้องปิดลงในเพจ East Bar เชิงตัดพ้อว่าเดือดร้อนอย่างหนักจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยตลอดช่วงประมาณ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ร้านต้องปิดให้บริการไปเกือบ 6 เดือน แม้จะพยายามปรับตัวด้วยการทำอาหารขายผ่านทางแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ และอื่นๆ แต่ก็ยังไม่คุ้มทุน

รัฐบาล เร่งช่วย SME เข้าถึงสภาพคล่อง "พักทรัพย์พักหนี้"

โควิดรอบใหม่ ฉุดการค้า-ท่องเที่ยวไทย วูบ 1.4 แสนล้านบาท กทม.กระทบเยอะสุด

ซึ่งต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยปราศจากการช่วยเหลือเยียวยาใดๆ จากทางภาครัฐ จนดูเหมือนผู้ประกอบการร้านกลางคืนไม่ได้รับการเหลียวแลในการประคับคองธุรกิจให้อยู่รอด โดยเฉพาะการไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อหาเงินทุนหมุนเวียนได้

อย่างไรก็ตามทางร้านยืนยันที่จะสู้ต่อและเป็นกำลังใจให้กับร้านอื่นๆ อีกหลายร้านที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ด้วย ซึ่งโพสต์ดังกล่าวมีผู้ใช้โซเชียลเชียลมีเดียเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ทั้งให้กำลังใจและเห็นด้วยกับสิ่งทางร้านสะท้อนปัญหาออกมา รวมทั้งมีการแชร์โพสต์ดังกล่าวต่อไปเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวระบุว่า “นี่คือสภาพร้าน East Bar ในวันนี้ ตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ร้านเราได้ทำการปิดแล้วเกือบ 6 เดือน หรือ 1/3 ของช่วงเวลาทั้งหมด ถ้าถามเราว่า ที่ผ่านมาเราทำอะไรไปบ้าง ตลอดช่วงเวลาที่เราปิดตลอดมา เราได้ทำอะไรหลายๆ อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขายอาหารผ่าน Grab, Food Panda, ทำอาหารส่งเอง, เปิดหน้าร้านขายเครื่องดื่ม, live ดนตรี ในลูกค้า ผ่าน facebook, เปิดฉายข้อความทางร้าน, เปิดขายอาหารกลางวัน และกลางคืน (ไม่มีเครื่องดื่ม) แต่ทำไม่ได้เนื่องจากภาพลักษณ์เป็นร้านคล้ายสถานบริการแต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้ทำอะไรร้านถึง "จุดคุ้มทุน" เลยแม้แต่น้อย แต่ร้านก็ยังไม่ท้อแท้ที่จะพยายามรักษาพนักงาน ไว้เท่าที่ร้านจะไปต่อได้ โดยทางร้านก็ยังมี Fixed cost ที่ต้องจ่ายอยู่รายเดือนในทุกเดือน และเราก็ยังสู้ต่อไป อีกทั้งทางเราก็มีพนักงานหลายคน ที่มีงานใหม่และมีรายได้ ทางร้านก็ดีใจกับน้องๆ พนักงานอย่างยิ่ง

เราเข้าใจดีว่า การเปิดร้านกลางคืน อาจจะทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และไม่ได้ต้องการให้กลับมาเปิดถ้ายังมีผู้ติดเชื่ออยู่ (ซึ่งตอนแรกทางร้านดำเนินการปิดเองด้วยซ้ำ ก่อนมาตรการรัฐ เนื่องจากไม่อยากให้ลูกค้าหรือพนักงานทุกๆ คนมีความเสี่ยง) แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาทั้งหมด ปราศจากการเยียวยา หรือช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้นจากภาครัฐ ซึ่งคล้ายกับการปล่อยให้ SME ตัวเล็กๆ สู้ด้วยตัวเอง ทางเราจึงอยากให้มีการสนับสนุน

1.นโยบายจากภาครัฐ อย่างน้อยการสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือให้แก่ร้านกลางคืน เพียงแค่ ค่า Fixed cost เล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ SME เล็กๆ ยังดำเนินต่อไปได้

2.การเข้าถึง "สินเชื่อ" จากธนาคาร หรือภาครัฐเอง แม้นโยบายจากรัฐสนับสนุนสินเชื่อให้การ SME แต่ในทางปฏิบัติ ร้านกลางคืนยังถูกมองว่าเป็นร้านที่เสี่ยงต่อการจ่ายสินเชื่อ ทำให้ SME กลางคืนยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ ในส่วนนี้

3.การที่มีนโยบายชัดเจน ไม่ทิ้งร้านกลางคืนไว้ข้างหลัง เพราะตอนนี้หลายๆ sme ที่เคยเป็น GDP ให้กับประเทศ กำลังทยอยหายไปจากระบบแล้ว และกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทั้งหมดนี้ร้านยังสู้ต่อไป ด้วยตัวของเราเอง และยังให้กำลังใจเพื่อนๆ SME กลางคืนหลายๆ ท่าน และพนักงานของเราทุกคน ที่สู้ไปด้วยกันครับ หากประสบปัญหาเดียวกัน แชร์ออกมาเยอะๆ นะครับ #savebar”

ทั้งนี้ จากการสอบถามนายณพัทธ์ ตรงดี หนึ่งในหุ้นส่วนเจ้าของร้าน “East Bar” เปิดเผยว่า เหตุผลที่โพสต์เรื่องราวดังกล่าวออกไปนั้น เป็นการระบายความรู้สึกส่วนหนึ่งจากการที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนอย่างหนักจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทางร้านต้องเผชิญกับสถานการณ์และรับผลกระทบอย่างหนักเป็นรอบที่ 3 แล้ว ซึ่งรอบล่าสุดต้องปิดร้านมานานประมาณ 2 เดือนแล้ว แม้ว่าจะพยายามปรับตัวอย่างเต็มที่แต่ติดปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดที่ร้านถูกตีความว่าเป็นสถานประกอบการคล้ายสถานบันเทิง จึงไม่สามารถเปิดขายหน้าร้านได้ ทำได้แต่เพียงขายอาหารผ่านทางแอปพลิเคชั่นเดลิเวอรี่เท่านั้น ซึ่งรายรับไม่คุ้นทุนและไม่พอกับภาระค่าใช้จ่ายที่แบกรับอยู่ ทำให้หุ้นส่วนแต่ละคนต้องควักเงินส่วนตัวกันทุกเดือน  แต่ก็จำเป็นต้องทำโดยรอคอยความหวังให้สถานการณ์คลี่คลายในเร็ววัน ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการช่วยเหลือหรือมีมาตรการเยียวยาใดๆ จากทางหน่วยงานภาครัฐเลย

“ออมสิน” ปล่อยกู้ซอฟต์โลน 1.5 หมื่นล้านบาท ช่วย ธุรกิจท่องเที่ยว สู้โควิด-19

นายณพัทธ์ บอกด้วยว่า การต้องปิดร้านและขาดรายได้โดยที่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ อยู่ ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งที่ผ่านมาพยายามดิ้นรนให้เข้าถึงการสนับสนุนด้านการเงินด้วยการขอสินเชื่อจากทางสถานบันการเงิน แต่ถูกปฏิเสธตลอด เนื่องจากธุรกิจที่ทำอยู่ถูกประเมินว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่ใช่แต่เพียงร้านตัวเองเท่านั้น แต่ร้านอื่นๆ อีกหลายร้านต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ ทั้งๆ ที่หากมองกันตามความเป็นจริงแล้วร้านกลางคืนถือเป็น SME และกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเช่นกัน แต่กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเท่าที่ควร ทั้งนี้หากเป็นไปได้อยากวิงวอนให้ภาครัฐมีการกำหนดนโยบานหรือออกมาตรการช่วยเหลือที่ชัดเจน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อเป็นทุนหมุนเวียน หรืออย่างน้อยมีการคลี่คลายมาตรการให้ร้านสามารถเปิดขายได้ โดยจะมีการกำหนดเวลาเปิดปิดให้สั้นลง และมีมาตรการข้อบังคับที่เข้มงวดเพียงใดก็ใด เชื่อว่าทุกร้านพร้อมจะปฏิบัติตามด้วยดี ขอเพียงให้ได้เปิดขายและมีรายได้บ้าง

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ