เปิดวิธีเช็กสุขภาพการเงินง่ายๆ เตรียมสำรองเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แนะวิธีตรวจเช็คสุขภาพการเงิน 4 ขั้นตอน เตรียมพร้อมรับมือภาวะขาดสภาพคล่อง

ระยะนี้หลายคนอาจรู้สึกไม่มั่นคง ทั้งการงาน และ การเงิน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องพึ่งพารายได้ประจำเลี้ยงชีพ ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก เราควรเตรียมตัวรับกับสถานการณ์และสำรวจสุขภาพการเงินของเรา เพื่อนำไปสู่การวางแผนสำรองเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน วางแผนสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคต และ ป้องกันไม่ให้เราล้มเหลวทางการเงิน

มาสำรวจพฤติกรรมของทางการเงินของเรา ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ เพื่อให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินอย่างเร่งด่วน ก่อนปัญหาจะถาโถมจนแบกรับไม่ไหว

โควิด-19 ทำเงินหด หนี้บัตรท่วม How To แก้หนี้ ปรึกษาฟรี 'คลินิกแก้หนี้' รับสิทธิลดดอกเบี้ย

นายกฯ สั่งแบงก์ชาติเข้มบัตรเครดิตป้องคนไทยใช้เงินเกินตัว

1.เช็กความมั่งคั่ง ง่ายๆ คือ ยอดหนี้ไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่

รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันเรามีเงินสด ทรัพย์สินอื่นๆ และหนี้สินอยู่จำนวนเท่าใด ? ลองกลับไปสำรวจข้อนี้ดูก่อน หากเราหาคำตอบข้อนี้ไม่ได้ หมายความว่าอยู่ในภาวะที่เสี่ยงมาก เพราะหนี้สินก็ไม่รู้ว่ามีอยู่เท่าไร เงินทองทรัพย์สินที่ตัวเองมีก็ยังไม่รู้อีก มันอาจจะทำให้เราตกหลุมพรางความโลภ หรือ ความปรารถนาถึงสิ่งที่อยากได้อยากมี สินค้าใดก็ตามที่โผล่มาอยู่ตรงหน้าเรากะทันหัน หากห้ามใจไว้ไม่ได้ หรือไม่ได้เป็นคนวางแผนในการใช้จ่ายเงิน เงินเราจะไหลออกไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีก็ใช้เงินจนหมุนกันไม่ทันเสียแล้ว สิ่งที่ควรทำคือ นำรายได้ และรายจ่าย หนี้ เอาออกมากางให้หมด เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวเอง

2.เก็บเงินเป็นประจำ? ทุกๆ 100 บาทควรเก็บ 25 บาท

          หากตอบว่า “ไม่เคยออมเงิน” หมายความว่า ชีวิตเริ่มมีปัญหาแล้ว ถ้าไม่มีเงินออมแล้วเจอเรื่องฉุกเฉินต้องจ่ายเงิน จะเจอปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง หยิบยืมชาวบ้านมาใช้แน่ ๆ

          ต้องมีเงินออมฉุกเฉิน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จะมีเงินสำรองหรือไม่? ยกตัวอย่างเช่นถูกเลิกจ้าง ประสบอุบัติเหตุ ป่วยจนไม่สามารถทำงานต่อได้ เราจะมีเงินสำรองใช้เลี้ยงชีพหรือไม่ ถ้ามีจะใช้ได้นานที่สุดเป็นระยะเวลาเท่าใด หากตอบว่าประมาณ 3 เดือน ถือว่าการเงินของเราเข้าข่ายอันตรายมาก ๆ จะให้ดีต้องมีเงินสำรองเป็น 6 เท่าของเดือน

         แนะนำให้เก็บเงินสำรองในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หรือนำออกมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ เช่น บัญชีเงินฝาก หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เมื่อกันเงินสำรองไว้เพียงพอแล้ว จึงค่อยจัดสรรเงินออมส่วนที่เหลือไปลงทุนสร้างผลตอบแทนและกำไร

3.จดรายรับ รายจ่าย รั่วตรงไหน อุดได้ ฝึกหักห้ามใจใช้เฉพาะที่จำเป็น

ลองกำหนดงบประมาณ ทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ บันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนตั้งแต่วันนี้ เราจะได้เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตัวเราเอง ได้เรียนรู้ว่าอะไรควรจ่าย อะไรควรประหยัด

หากจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอย่างไร ด้วยเหตุผลที่ว่า เห็นก็ซื้อได้ทันที ถูกใจก็ซื้อทันที แสดงว่าเราใช้เงินเข้าข่ายอันตรายมากๆ เปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการ “หักห้ามใจ” ตั้งแต่ตอนนี้น่าจะดีที่สุด คิดและมีเหตุผลในการซื้อสินค้าทุกๆ ครั้ง

4.หนี้สิน มีได้ แต่อย่าให้มีภาระผ่อนเกิน 1 ใน 3 ของรายรับ

หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนสินค้า หนี้บัตรเงินสดอื่นๆ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 1 ปีหนี้สินระยะยาว ได้แก่ หนี้เงินกู้บ้าน หนี้เงินผ่อนรถยนต์ ซึ่งมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

แนะนำว่าอัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน ถ้าหากลองคำนวณแล้ว ค่าที่ได้น้อยกว่า 30% แสดงว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะนำรายได้ไปชำระหนี้ แต่ถ้าหากลองคำนวณแล้ววสูงกว่า 30% ต้องระวังอาจจะประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้สินคืนได้ หากในอนาคตจะวางแผนก่อหนี้สินเพิ่มควรชะลอไปก่อน และพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดี พยายามเร่งผ่อนเร่งโปะหนี้ที่มีให้หมดโดยเร็วที่สุด

ลองสำรวจตัวเองเพื่อสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี และ แข็งแรงในภาวะแบบนี้กัน หรือ หานึกไม่ออกมีวิธีสำรวจง่ายๆ คลิกเข้าไปทำแบบทดสอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดู https://www.set.or.th/project/caltools/www/html/financial-check.html

 

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

www.maruey.com

www.kinyupen.co

คอนเทนต์แนะนำ
เช็กมาตรการเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33 ชดเชยรายได้ เงินเพิ่มพิเศษ ปิดกิจการจากโควิด

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ