เปิดรายได้ “สินมั่นคง” ก่อนบอกเลิกประกันโควิด ปี 63 กำไรพุ่ง 757 ล้านบาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณี สินมั่นคงประกันภัย แจ้งผู้ที่ทำประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา แบบ เจอ จ่าย จบ  หรือ COVID 2 IN 1 โดยจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากรมธรรม์ และให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นสุดสัญญาทั้งฉบับ เมื่อพ้นกำหนดเวลา 30 วัน หลังผู้เอาประกันรับหนังสือเป็นต้นไป ซึ่งจะคืนเบี้ยประกันภายใน 15 วัน และจะหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามสัดส่วน

ทนายชี้ "สินมั่นคง" เทลูกค้าประกันโควิด ไม่ผิดสัญญา - อาญา แต่อาจใช้สิทธิไม่สุจริต ละเมิด ต้องเยียว...

"สินมั่นคง" ยกเลิกประกันภัยโควิด พร้อมจ่ายเงินเบี้ยประกันคืนภายใน 15 วัน

คปภ. สั่งห้าม "สินมั่นคงยกเลิกประกันโควิด"

บริษัทฯ ระบุเหตุผลว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทวีความรุนแรง และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นสูง จนไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้ บริษัทจึงต้องบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

ภายหลังประกาศดังกล่าวถูกแจ้งออกไป ทำให้เกิดกระแสวิพาษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลในวงกว้าง เนื่องจากมีผู้ที่เอาประกันกลัวว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครองอีกต่อไป ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยที่ยังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากขึ้นทุกวัน 

ทั้งนี้ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SMK  ประกอบธุรกิจด้านการบริการรับประกันวินาศภัย เริ่มก่อตั้งวันที่ 27 มกราคม 2494 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ บริษัท บ้วนฮงเซ้งประกันภัย จำกัด ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)  และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2534 และปี 2534 ได้ฯจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด  โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่สุด คือ บริษัท ดุษฎีสุรพจน์ โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 50,037,760 หุ้น สัดส่วน 25.02%

 

ปัจจุบัน สินมั่นคงประกันภัย มีมูลค่าหลักทรัพย์ 7,450 ล้านบาท  (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 64) ประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัย 4 ประเภท ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยเบ็ดเตล็ด มีสาขาและศูนย์บริการ รวม 182 แห่งทั่วประเทศ 

 

ล่าสุด หุ้น SMK เปิดตลาดรอบบ่าย (16 ก.ค.64) ราคาอยู่ที่หุ้นละ 36 บาท ลดลง -1.25 บาท เปลี่ยนแปลง  -3.36 % 

 

รายได้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)  3 ปีย้อนหลัง    (ข้อมูลจากเว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)

  • ปี 2561 มีรายได้   10,020  ล้านบาท   กำไร  749  ล้านบาท   เปลี่ยนแปลง  -16.87%
  • ปี 2562 มีรายได้   11,375  ล้านบาท   กำไร   677  ล้านบาท   เปลี่ยนแปลง   -9.65%
  • ปี 2563 มีรายได้   10,413  ล้านบาท   กำไร   757  ล้านบาท   เปลี่ยนแปลง  +11.8%

 

ทั้งนี้ ในรายงานประจำ ปี 2563  นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ บมจ. สินมั่นคงประกันภัย  ได้ออกสาร ระบุว่า ปี 2563 เป็นปีของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผลกระทบจากมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสส่งผลมายังเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจาก การบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และภาคการส่งออกหดตัว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเดินทางหยุดชะงัก สภาพคล่องของธุรกิจจำนวนมากได้รับผลกระทบ

แม้ว่าปี2563 จะเป็นปีที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการะบาดของไวรัสในวงกว้าง แต่ธุรกิจประกันวินาศภัย นับว่าได้รับผลกระทบน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น นอกจากนี้อุตสาหกรรมยังมีโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้แก่ กรมธรรม์ประกันโรค COVID-19 ในปี2563 อุตสาหกรรมประกันวินาศภัยมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 3.9 ส่วนบริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับ 9,762.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ13.2  เมื่อเทียบกับปี 2562 แต่เนื่องจากมีประสิทธิภาพการพิจารณารับประกันภัย และการบริหารต้นทุนที่ดีทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 757.4 ล้านบาท ในปี2563 เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 11.8 แม้ว่า

บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากผลตอบแทนการลงทุนที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจมหภาค ในส่วนของเงินกองทุน บริษัทฯ ยังคงมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งพร้อมที่จะขยายธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าเมื่อโอกาสเอื้ออำนวย โดยมีอัตราส่วนของเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 เท่ากับร้อยละ 456.6

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการปรับตัวให้ทันกับโลกสมัยใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัทฯ ได้วางแผนและกำหนดทิศทางหลักทางธุรกิจ เน้นการเติบโตทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่กับการเติบโตแบบดั้งเดิม บริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการ Business Transformation ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และมี Platforms เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า ให้เข้าถึงสินค้าและบริการของบริษัทฯได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ