แนะผู้ประกอบการรายย่อย ปรับตัว เพิ่มรายได้ในช่วงโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ประกอบการรายย่อย ควรปรับตัว-หาทางรอดและดูแลธุรกิจให้เดินหน้าต่อในยุคโควิด-19

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยที่หดตัวต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบธุรกิจแทบทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบจากยอดขายสินค้าและบริการที่ลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ที่เป็นส่วนสำคัญของภาคธุรกิจ

ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้ SME หลายรายต้องพากันปรับตัวเพื่อหาทางรอดและดูแลธุรกิจให้เดินหน้าต่อ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้ให้คำแนะนำ สำหรับแนวทางในการปรับตัวเพื่อก้าวผ่านวิกฤตในช่วงนี้ไปได้ดังนี้

ส่อง SME สายสุขภาพ ยอดขายพุ่งสวนทางวิกฤตโควิด-19

เชฟร้านดังเอกมัยเจอพิษโควิด-19 หนี้ท่วม

"หอการค้าไทย" แนะผู้ประกอบการลดงบฯ คุมต้นทุน ประคองธุรกิจสู้โควิด -19

1.เพิ่มช่องทางขายสินค้าและบริการทางออนไลน์

ภาวะโรคระบาดและการล็อกดาวน์ที่ทำให้ผู้คนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาเป็นการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากความสะดวกที่ไม่ต้องออกไปนอกบ้านและยังหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะโรคระบาดมากขึ้น

โดยบรรดา SME จำนวนมาก ก็มีการเปลี่ยนแนวทางขายสินค้า จากเดิมที่มีหน้าร้าน หันมาขายผ่านทางออนไลน์ ทั้งแอปพลิเคชัน เว็บไซต์หรือแม้แต่ไลฟ์สดขายสินค้ากันมากขึ้น ขณะที่การสร้างช่องทางรับรู้ การโปรโมทสินค้าและบริการ รวมถึงการแจ้งกิจกรรมส่งเสริมการขายทางออนไลน์ ยังทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นและขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้นและมียอดขายเพิ่มขึ้นด้วย

2.ใช้ Data วิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค

ปัจจุบัน Data หรือข้อมูลนั้นถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจในทุกระดับ รวมถึง SME โดยเปรียบเสมือนการติดอาวุธที่ทำให้การแข่งขันในทางธุรกิจทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการนำข้อมูลสถิติของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถกำหนดกลยุทธ์สำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการออกแบบสินค้าและบริการที่ดีขึ้น ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้ามากขึ้น และยังทำให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการแข่งขันในตลาดได้ทันท่วงทีมากขึ้นด้วย

3.พัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า

การพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการเพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้า เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงภาวะโรคระบาดและการล็อกดาวน์ เช่น ธุรกิจร้านอาหารแบบเน้นการนั่งในร้าน อย่างร้านหมูกะทะ หรือร้านชาบู ต้องปรับรูปแบบ พัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้สามารถขายแบบ Take Home หรือนำกลับบ้านได้

ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ โดยการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และเทรนด์ความต้องการของลูกค้า สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น เช่นในอนาคต ทั่วโลกรวมถึงไทยอาจก้าวไปสู่สังคมผู้สูงวัย หรือ Aging Society มากขึ้น จึงควรปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าเพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย

4.ปรับเปลี่ยนและเพิ่มรูปแบบธุรกิจ

โอกาสในการก้าวผ่านวิกฤตทางธุรกิจ คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ทันกับสถานการณ์ เช่นผู้ประกอบการร้านอาหาร อาจเปลี่ยนพื้นที่ร้านส่วนหนึ่ง เป็นพื้นที่ขายสินค้า หรือการเปลี่ยนรูปแบบขายสินค้าอุปโภคบริโภคจากขายส่งมาเป็นขายปลีก และกำหนดราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า

สำหรับบางธุรกิจที่มีพนักงานในสำนักงาน อาจปรับเปลี่ยนให้พนักงานทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home ได้มากขึ้น โดยเพิ่มช่องทางการติดต่อและระบบการทำงานผ่านทางออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ยังลดโอกาสในการแพร่ระบาดของโรค

คอนเทนต์แนะนำ
คุณยายนอนไม่หลับหลังได้เงิน 100 บาทชดเชยพายุพัดบ้าน ตัดสินใจมอบคืนรัฐ
สลด! พยาบาลดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กระโดดตึกเสียชีวิต คาดเครียดเรื่องงาน

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ