สมาคมประกันยันฯ คุ้มครองป่วยโควิด-19 Home isolation ย้อนหลัง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สมาคมประกันชีวิตไทยยืนยัน คุ้มครองผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม Home Isolation - Community Isolation มีผลตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ พร้อมเผยแนวทางธุรกิจครึ่งปีหลัง

วันนี้ (3 ส.ค.) สมาคมประกันชีวิตไทย จัดงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ชี้แจงภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปีที่ผ่านมา และทิศทางครึ่งปีหลัง รวมถึงอนาคตหลังจากนี้

ประกันชีวิตกรณี Home Isolation – Community Isolation

ภายในงานแถลงข่าว นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ได้กล่าวถึงประเด็นร้อนความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เอาประกันที่จะเข้ารักษาตัวโควิดแบบ Home Isolation และ Community Isolation

คปภ. แจง แบบไหนเข้าข่าย เคลมค่าชดเชย รักษาโควิดแบบ Home isolation - Community isolation

เลขาธิการคปภ. สั่งนายทะเบียนด่วน ผู้ป่วย Home Isolation เคลมค่ารักษาพยาบาลได้

โดยบอกว่า “จะเป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 43/2564 ของ คปภ. ลงวันที่ 29 ก.ค. 2564 โดยอนุโลมให้จ่ายเป็นไปตามที่ความจำเป็นทางการแพทย์และที่จ่ายจริง ไม่เกินผลประโยชน์ของกรมธรรม์ รวมไปถึงค่าชดเชยรายได้ด้วยที่ให้จ่ายได้”

ความคุ้มครองจะมีผลตั้งแต่ผู้ป่วยตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในกรณีเป็นผู้ป่วยระดับสีเขียว คือไม่มีอาการหรืออาการน้อย หากแพทย์และผู้ป่วยยินยอม สามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ก็เข้าเงื่อนไขการจ่ายของประกัน

โดยจะจ่ายจากผลประโยชน์การรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ก่อน ในกรณีถ้าเกิดมีผลประโยชน์ผู้ป่วยใน (IPD) และผลประโยชน์ผู้ป่วยนอกเต็มก็จะขยายไปตามเงื่อนไขในตารางกรมธรรม์ ส่วนนี้ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวัน

การจ่ายประกันสำหรับผู้ป่วยที่รักษาตัวแบบ Home Isolation นี้มีคำสั่งย้อนหลังให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ส่วนแบบ Community Isolation ให้นับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.

ผู้เอาประกันที่รักษาตัวแบบ Home Isolation นี้ ถ้าตรวจหาเชื้อเอง ต้องติดต่อโรงพยาบาลคู่สัญญา ให้โรงพยาบาลลงทะเบียนในระบบ และให้แพทย์โทรสอบถามอาการผู้เอาประกัน ขึ้นอยู่กับว่าโรงพยาบาลจะขอตรวจ PCR ซ้ำอีกหรือไม่ ส่วนกรณีที่ไม่มีโรงพยาบาลคู่สัญญา สามารถโทร 1330 ให้ สปสช. ลงทะเบียนระบบ Home Isolation ได้

วันนี้! รพ.รามาธิบดี เปิดให้จองฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซเนก้า

 

ไม่มีหลักเกณฑ์หากหาเตียงไม่ได้ – คปภ. เร่งขอตัวเลขเคลมประกัน

ประเด็นที่ว่า หากมีประกันชีวิตประกันสุขภาพตามเกณฑ์จ่ายเบี้ย สามารถที่จะหาเตียงจากโรงพยาบาลในการรักษาได้ มีหลักเกณฑ์หรือไม่อย่างไรนั้น ได้รับคำตอบว่า “ไม่มีหลักเกณฑ์ บริษัทประกันก็คือบริษัทประกัน โรงพยาบาลก็คือโรงพยาบาล แต่การมีหลักประกันช่วยแบ่งเบาได้ในเรื่องชีวิตและค่าใช้จ่าย สัญญาที่บริษัทประกันทำกับโรงพยาบาลมายาวนาน ไม่ว่าจะป่วยโรคร้ายแรงหรือโรคอื่น เมื่อเข้าโรงพยาบาลทางโรงพยาบาลจะมาคิดค่าใช้จ่ายกับทางบริษัทประกันอยู่แล้ว”

สถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังพบผู้ติดเชื้อหลายหมื่นรายทุกวัน ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขการขอเคลมประกันน่าจะเพิ่มขึ้นสูง แต่ขณะนี้ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลโดยสมาคม แต่ คปภ. ได้ส่งหนังสือมาให้สมาคมช่วยกระจายข้อมูลให้บริษัทต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือให้ส่งตัวเลขการเคลมประกันให้ คปภ. แล้ว

ผลของโควิด-19 ต่อธุรกิจประกันชีวิตไทย

นายสาระกล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกับธุรกิจประกันชีวิตของไทยในบางด้าน ทั้งผลทางบวก และผลทางลบ

ผลทางบวก คือกระแสความใส่ใจด้านสุขภาพ (Health Awareness) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกระแสเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด แต่เมื่อเกิดวิกฤต ก็ทำให้คนไทยใส่ใจสุขภาพมากขึ้น สนใจหาความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรงมากขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจประกันชีวิตพัฒนาความคุ้มครองด้านสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) อย่างต่อเนื่อง

โควิด-19 ยังทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อุตสาหกรรมประกันภัยมากขึ้น เช่น การบริการหลังการขายที่ครบวงจรแบบออนไลน์ก็มีมากขึ้น ทั้ง Telemedicine, บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน (SOS) ฯลฯ ตลอดจนมีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านระบบดิจิทัล (Digital Face to Face) ให้ตัวแทนขายประกันสามารถติดต่อขายประกันทางไกลได้ แต่ก็ต้องมีการฝึกฝนตัวแทนให้คุ้นชินกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เรายังวางแผนใช้ระบบ E-Learning ในการอบรมต่อใบอนุญาตและนายหน้า และอาจพัฒนามีการสอบ E-Exam ในอนาคตด้วย” นายสาระกล่าว

แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีผลทางลบ เพราะทำให้ตัวแทนขายหลายคนต้องหลุดจากอาชีพนี้ไป เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน หรือมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ โดยจำนวนตัวแทนตอนนี้ ลดลงจากปี 2563 ลงมาราว 5% เหลือตัวขายขายประมาณ 240,000 เท่านั้น

นายสาระบอกว่า โควิด-19 ทำให้ลูกค้าอาจมีความกังวลในการพบตัวแทน ดังนั้นการออกไปขายก็ลำบาก ตัวแทนรักษาสภาพอาชีพไว้ไม่ได้ ... เป็นเรื่องที่แต่ละบริษัทต้องพัฒนา “พอมีการล็อกดาวน์ จัดสอบไม่ได้ การขายประกันก็มีผลกระทบ มีแค่คนที่ขายเป็นใช้เทคโนโลยีเป็นที่ขายได้ คนที่ใช้ไม่เป็นหรือไม่สะดวกก็ลำบาก”

ภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปี 2564

สำหรับภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิตครึ่งปี 2564 ที่ผ่านมา นายสาระเปิดเผยว่า ช่วงเดือน ม.ค.–มิ.ย. ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น 294,896.57 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3.13% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา

ช่องทางการจำหน่ายสูงสุดยังคงเป็นการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต (48.43๔) รองลงมาเป็นการขายผ่านธนาคาร (42.08%)

ด้านแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตไทยในครึ่งหลังของปี 2564 มองว่าธุรกิจจะเติบโตได้ตามที่คาดการณ์การเติบโตไว้ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อต้นปี 2564 ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ระหว่าง 590,000 – 610,000 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ –1 ถึง +1 ซึ่งเป็นการคาดการณ์แบบระมัดระวัง (Conservative) เนื่องจากทิศทางของสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น

เปิดจอง "ซิโนฟาร์ม" บุคคลธรรมดา รอบสอง 75,000 ราย 4 ส.ค. นี้ พร้อมเงื่อนไขลงทะเบียน

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ