โซเชียล โวย “บีทีเอส” ยกเลิกบัตรรายเดือน จ่ายค่าตั๋วแพงขึ้น รถไฟฟ้าเผยเหตุผล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ภายหลัง รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศแจ้งจะยกเลิกการใช้บัตรโดยสารรายเดือนสำหรับการบริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส ทำให้โลกโซเชียลต่างออกมาแสดงความเห็น ชี้การทำแบบนี้จะทำให้ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากที่เคยจ่ายเงินได้ถูกเพราะโปรโมชั่นตั๋วรายเดือน ก็ต้องมาจ่ายตามระยะทางจริง ผลักภาระให้ลูกค้า ซึ่งผู้โดยสารสามารถซื้อ หรือ เติมเที่ยวเดินทางได้ ถึงวันที่ 30 ก.ย.นี้ เป็นวันสุดท้าย

เพจ เฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส เผยแพร่ประกาศว่า บริษัทฯ จะสิ้นสุดการจำหน่ายโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทุกประเภท (ตั๋วเดือน) ซึ่งผู้โดยสารสามารถซื้อ หรือ เติมเที่ยวเดินทางได้ ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้ เป็นวันสุดท้าย จากนั้นจะไม่สามารถซื้อ หรือ เติม เที่ยวเดินทางแบบรายเดือนได้อีก ส่วนบัตรโดยสารที่มีเที่ยวเดินทางคงเหลือ สามารถใช้จนกว่าเที่ยวเดือนทางจะหมด หรือ เที่ยวเดินทางหมดอายุการใช้งาน 

ครั้งแรก! เปิดเส้นทางรถไฟขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จากแหลมฉบังสู่คลองเตย

กกร.ปรับเพิ่ม GDP หลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยโค้งสุดท้ายปีนี้ดีขึ้น

โดยอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บในเส้นทางสัมปทาน 23.5 กิโลเมตร จากสถานีหมอชิตไป สถานีอ่อนนุช และจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติไปสถานีสะพานตากสิน รวมส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสิน ถึงสถานีวงเวียนใหญ่ ยังคงอยู่ในอัตรา 16 - 44 บาท ผู้โดยสารสามารถใช้บัตรโดยสารใบเดิมเพื่อเติมเงินและเดินทางได้ตามปกติ ในส่วนของบัตรสำหรับผู้สูงอายุ ยังคงได้รับโปรโมชั่นส่วนลดครึ่งราคาจากอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บในอัตราเดิม

สำหรับ สาเหตุของการยกเลิกโปรโมชั่นแบบรายเดือนนี้ นาย สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ให้เหตุผลว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีรูปแบบการเดินทางที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของของโควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้นานแบบเมื่อก่อน  อีกทั้งเรื่องการชำระค่าโดยสารล่วงหน้าก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป บริษัทฯ ได้พิจารณา และเห็นว่าโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง  30 วัน สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ทางบริษัทฯ จึงจะยุติการจำหน่ายโปรโมชั่นดังกล่าว

ต่อมา ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย แสดงความเห็นในโพสต์ประกาศดังกล่าวไปในเชิงไม่พอใจ เพราะเมื่อไม่สามารถซื้อบัตรแบบรายเดือนได้ ทำให้จะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างหนึ่งคอนเม้นท์หนึ่ง ระบุทำนองว่า  “ถ้าไม่มีแบบรายเดือน (แล้วนั่งไป-กลับ สุดสาย ไป44บาท กลับ 44 บาท) รวม 88 บาทต่อวัน หากเอามาคูณ 20 วัน จะตกที่  1,760 บาท ซึ่งหากลูกค้าเงินเดือนอัตราปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท จะมีค่าเดินทางแค่บีทีเอส เป็นสัดส่วน 11 % ของเงินเดือน ซึ่งยังไม่รวมค่าวินมอเตอร์ไซต์ ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นการบีบบังคับให้ไปใช้บริการรถเมล์”  และยังมีอีกหลายความเห็นที่ระบุคล้ายกันว่า ทำให้ค่าใช้จ่ายลูกค้าเพิ่มขึ้น

ทีมข่าวPPTV ลงพื้นที่สอบถามประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส หลายคนไม่เห็นด้วยหากจะยกเลิกตั๋วรายเดือน แต่เมื่อจะยกเลิกก็ควรปรับราคาตั๋วรายวันให้ถูกลง อยากให้คำนึงถึงภาระของประชาชนด้วยและบางรายมองว่า จะทำให้ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น 20 %

ข้อมูลจาก เว็ปไซต์บีทีเอส มีราคาเฉลี่ยของการซื้อตั๋วแบบ 30  วัน สำหรับบุคคลทั่วไป หากยิ่งซื้อจำนวนเที่ยวเยอะมากเท่าไหร่ ก็จะได้ราคาต่อเที่ยวถูกลงเท่านั้น ซึ่งการเดินทางต่อเที่ยวไม่จำกัดสถานี หรือ ระยะทาง ยกเว้นส่วนต่อขยาย เช่น หากซื้อแบบ 15 เที่ยวต่อเดือน ราคา 465 บาท จะตกเฉลี่ย 31 บาทต่อเที่ยว และหากซื้อสูงสุดถึง 50 เที่ยวต่อเดือน ราคา 1,300 บาท จะตกเฉลี่ย 26 บาทต่อเที่ยว

ทั้งนี้ทีมข่าว ยกตัวอย่าง กรณีผู้โดยสารรายหนึ่ง เช่น เดิมที “นางสาวมะปราง” เคยนั่งบีทีเอส สุดสายจากสถานีต้นทางไปยังปลายทาง ราคา 26 บาทต่อเที่ยวเพราะซื้อรายเดือนแบบ 50 เที่ยวไว้ แต่หลังจากบีทีเอสยกเลิกโปรโมชั่นเติมเงินรายเดือน ก็จะทำให้หากนั่งสุดสายเส้นทางเดิมต้องจ่ายเงินเที่ยวละ 44 บาท หรือเพิ่มขึ้น 18 บาทต่อเที่ยว หากใช้บริการบีทีเอสวันละครั้ง หรือ ประมาณ 30 วัน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 540 บาทต่อเดือน ซึ่ง ลูกค้าแต่ละคนก็จะมีส่วนต่าง ๆ ตามระยะทาง และความถี่ในการใช้บริการ

เริ่มทันที! กรมการขนส่งทางบกให้ต่อใบขับขี่ได้แล้ว ให้จองคิวผ่านแอป

ประกันสังคมอัปเดต! เงื่อนไข ขั้นตอนยื่นทบทวนสิทธิเยียวยา ม.33 ม.39 ม.40 เคาะไทม์ไลน์ 2 ช่วง

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ