ระวังมิจฉาชีพหลอกกู้เงิน แนะวิธีเช็กชื่อแหล่งเงินกู้ที่ได้รับอนุญาต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ระวังมิจฉาชีพหลอกกู้เงิน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับอนุญาตจาก ธปท. หรือไม่เพื่อป้องกันการถูกหลอก

กลโกงมิจฉาชีพมีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่มีอยู่ 2 อย่าง คือ หลอกเอาเงินและหลอกเอาข้อมูล โดยอาศัยช่วงที่ประชาชนมองหาแหล่งเงินกู้ ด้วยการใช้สารพัดวิธี เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ และเข้าถึงผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้ง SMS ไลน์ เฟสบุ๊ก แอปเงินกู้ และโทรศัพท์ โดยจะใช้ข้อความชวนเชื่อว่า กู้ง่าย ได้เร็ว ดอกเบี้ยต่ำ ใช้เอกสารน้อย ไม่ต้องมีหลักประกัน ติดแบล็กลิสต์ก็กู้ได้ ที่สำคัญมีการแอบอ้างชื่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อย้ำให้การหลอกลวงของมิจฉาชีพดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

มิจฉาชีพปลอมเฟซบุ๊กปล่อยเงินกู้นอกระบบ
ระวังแอปฯธนาคารปลอม แม่ค้าขอกู้เงินสูญ 5 พัน
คิดก่อนกด “แอปเงินกู้ปลอม” ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ แนะวิธีป้องกัน

หากหลงเชื่อมิจฉาชีพจะพบกับอะไรบ้าง? 
-มิจฉาชีพจะให้เราสมัครผ่านแอปเงินกู้  
-เริ่มขอให้ส่งเอกสารส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หน้าสมุดบัญชี  
-พูดหว่านล้อมให้เราโอนเงินค่าธรรมเนียม ค่ามัดจำต่าง ๆ หรือเงินค้ำประกันให้ก่อน จึงจะได้เงินกู้ตามจำนวนที่ต้องการ 
-หากโอนให้แล้ว มิจฉาชีพเริ่มมีข้ออ้างให้เราโอนเงินเพิ่ม เช่น กรอกเลขที่บัญชีผิด ต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมในการแก้ไขข้อมูลเพิ่ม 
-หากเปลี่ยนใจไม่อยากกู้ ก็อ้างว่าไม่สามารถยกเลิกได้ ให้เดินทางไปติดต่อที่สำนักงานใหญ่ หรือ แบงก์ชาติ และข่มขู่ให้กลัว 
-หากเราเริ่มรู้ตัวว่าโดนหลอก มิจฉาชีพก็จะปิดการติดต่อทุกช่องทาง 
-สุดท้ายมิจฉาชีพหายเงียบไปพร้อมค่าธรรมเนียม ที่เราโอนไปให้ก่อนหน้านี้

หากหลงเชื่อสมัครไปแล้ว จะมีผลกระทบอะไร? 
1. ข้อมูลส่วนตัว โดนขโมยไปแบบไม่รู้ตัว 
2. เสียทรัพย์ แต่กลับไม่ได้เงินกู้ 
3. หากผิดนัดชำระหนี้ จะไม่สามารถประนอมหนี้ได้ และอาจถูกข่มขู่จนเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
4. ดอกเบี้ยสูง เป็นภาระหนี้ที่ชำระอย่างไรก็ไม่หมด

หากถูกหลอกต้องทำอย่างไร?
1. ตั้งสติ รวบรวมหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด
2. แจ้งความ ที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ
3. ติดต่อธนาคาร แจ้งอายัดยอดเงินบัญชีของมิจฉาชีพ 

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เราสังเกตให้ดี รู้ให้เท่าทัน อย่าหลงเชื่อกลโกงของมิจฉาชีพ โดยวิธีการคือ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง และโทรติดต่อไปยังผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อถึง ก่อนตัดสินใจกู้เงิน

วิธีการเช็คแหล่งเงินกู้ที่ได้รับอนุญาต
แหล่งเงินกู้ที่ถูกกฎหมาย ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย มีทั้ง สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาต และ Non-bank ที่ได้รับอนุญาต

-เข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/
-ไปที่เมนู “เช็กแอปเงินกู้”

ในนั้นจะมีรายชื่อของผู้ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงช่องทางที่แต่ละบริษัทให้บริการอยู่ รายที่เลิกให้บริการไปแล้ว

ทั้งยังสารมารถตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ด้วย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ