AWC ชี้ “เทรนด์ New Normal-นักเดินทางต่างชาติ” คำตอบฟื้นท่องเที่ยวไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




AWC ชี้ จะฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย รัฐต้องดึงชาวต่างชาติกลับมาให้ได้ เผยวางแผนปรับตัวและสร้าง 3 แลนด์มาร์กใหม่ดึงนักท่องเที่ยว

เมื่อเทศกาลปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ “เคย” มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยือนประเทศไทยและสร้างรายได้มหาศาลจากภาคการท่องเที่ยวนี้ แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า บรรยากาศอาจจะต้องเงียบเหงาไปอีก 1 ปี

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในประเทศที่ทางรัฐบาลมองว่ากำลังดีขึ้น และอาจเปิดเมืองเปิดประเทศได้ในเร็ววันนี้ ก็นับเป็นข่าวดีสำหรับภาคการท่องเที่ยวรวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

พิษโควิด-19 ระลอก 4 กระทบตลาดบ้านจัดสรร-คอนโด หลายโซนเหลือขาย

รบ.เปิดพฤติกรรมแปลกร้านค้า เหตุรัฐต้องเอาคืน "เราชนะ" 17 ล้าน แนะวิธีรอดเจอเรียกเงินคืนโครงการรัฐ

เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 เปิดลงทะเบียนรับเงินสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน เริ่ม 15 ต.ค.นี้

คุณวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย เปิดเผยในการงานแถลงข่าวครบรอบ 2 ปีครบรอบ 2 ปี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ภาพรวมสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ค่อนข้างดูดีกว่าปีที่แล้ว เพราะเมื่อมีการคลายมาตรการล็อกดาวน์เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา พบว่า การฟื้นตัวของธุรกิจไม่ต้องใช้เวลายาวนานเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องรอการฟื้นถึง 1 ไตรมาส แต่ในปีนี้ใชเวลาเพียง 1 เดือนก็ตั้งตัวได้แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากเทรนด์การใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมเพราะโควิด-19

Long Stay & Workation เทรนด์ใหม่ยุคโควิด-19

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนทำงานหลายคนทั่วโลกไม่สามารถเข้าออฟฟิศได้ และต้องทำงานจากที่บ้านแทน แต่หากเอาแต่อยู่บ้าน ก็อาจจะทำให้เฉาหรือหมดไปในการทำงานได้ จึงมีคนทำงานจำนวนไม่น้อย มีไปพักผ่อนตามโรงแรมรีสอร์ตต่าง ๆ ไกลจากบ้าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและพักผ่อนไปในตัว

จึงเป็นที่มาของการเข้าพักธุรกิจโรงแรมแบบ Long Stay และ Workation คือการพักอยู่ในโรงแรมเป็นเวลานานแทนบ้านหรือการเข้าออฟฟิศที่เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 และคาดว่าหลังจากนี้ก็จะเป็นเทรนด์การใช้บริการในหลายประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงประเทศไทยเองด้วย

คุณวัลลภากล่าวว่า “แต่เดิมเราจะมีกลุ่มลูกค้าที่อยู่ยาวอยู่แล้ว แต่ก็จะอยู่แค่ประมาณสัปดาห์กว่าหรือ 2 สัปดาห์ แต่ตอนนี้ลูกค้าอยู่เป็นเดือนหรือมากกว่าเดือนแล้ว ... Occupancy Rate หรืออัตราการเข้าพักแบบ Workation เนี่ยอยู่ที่ประมาณ 20% กว่า ๆ ของ Booking หรือการจองในช่วงนี้ ในขณะที่แต่ก่อนที่จะอยู่แค่ 2-3% อันนี้เรียกได้ว่าเป็นความต้องการใหม่ของผู้บริโภค ทาง AWC ก็เริ่มโปรแกรมลักษณะนี้ตั้งแต่ มิ.ย. ปีที่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าก็มีความสุขและทุกคนได้มาเอ็นจอยในบริการของเรา”

เธอยังบอกอีกว่า ห้องพักในโรงแรมบางแห่งทุกวันนี้ต้องเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องซักผ้า โต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงานที่นั่งสบาย หรือการแบ่งห้องเป็นโซนทำงานกับโซนพักผ่อน และมีโซนสปาหรือออกกำลังกายให้ครอบครัวของคนทำงาน เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

“เราเชื่อว่าความแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีจุดแข็งมากมาย ถ้าเรามองไปทั่วโลก ในสถานการณ์โควิด-19 เมืองไทยยังตอบโจทย์นักท่องเที่ยวในหลากหลายแนวได้อยู่ เช่นถ้าเราพูดถึง Long Stay หรือ Workation เมืองไทยเรามีการบริการ องค์ประกอบที่น่าประทับใจ โดยรวมเนี่ยเราเรียกว่า มีต้นทุนที่น่าดึงดูดมากกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นในโลก” คุณวัลลภากล่าว

โดยก่อนหน้านี้ กรุงเทพฯ และภูเก็ต เคยไดรับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่เหมาะแก่การ Workation ที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของฮอลิดู (Holidu) บริษัทเสิร์ชเอนจินเกี่ยวกับการหยุดพักผ่อนในเยอรมนี

นอกจากนี้ ในสถานที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวอย่าง “ฮาวาย” เอง ก็มีโมเดลการทำธุรกิจโรงแรมที่พักแบบปรับตัวเข้ากับเทรนด์ Workation แล้วเช่นกัน และได้ผลตอบรับที่ดี

อีกหนึ่งโอกาสจากนโยบายดึงต่างชาติปักหลักไทยระยะยาว

จากกรณีมติคณะรัฐมนตรีที่มีแผนจะดึงนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงหวังที่จะให้มาพำนักระยะยาวในประเทศไทยเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ

คุณวัลลภาบอกว่า อสังหาริมทรัพย์กลุ่มสำนักงานหรือออฟฟิศของ AWC มีบริษัทที่เป็นบริษัทข้ามชาติกว่า 60% ซึ่งกลุ่มนี้มีความต้องการอยากจะย้ายมาตั้งฐานที่เมืองไทย และถ้าเราเปิดให้ชาวต่างชาติมาอยู่ได้ด้วยก็จะยิ่งตอบโจทย์

“บริษัทข้ามชาติบางแห่งบอกว่า ถ้ามาเมืองไทยเรียกว่าเป็นการฉลองเลยเพราะว่าเป็นประเทศที่ Enjoy Lifestyle ได้ ... หลังสถานการณ์โควิด-19 หลาย ๆ องค์กรอาจจะดูทั้งตอบโจทย์พนักงานตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และยังต้องบริหารเรื่องค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเพราะฉะนั้นเมืองไทยเราวันนี้ยังมีจุดแข็งมากและมีศักยภาพเติบโตอีกมาก” คุณวัลลภากล่าว

คาดการณ์ภาพรวมการพลิกฟื้นกลับมา

คุณวัลลภามองว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ภาคการท่องเที่ยวและการโรงแรมและบริการจะพลิกฟื้นกลับมาได้

ส่วนในภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรมและการบริการ คุณวัลลภายืนยันว่า อย่างไรก็ต้องพึ่งความต้องการจากลูกค้าต่างประเทศเป็นหลัก จึงจะสามารถดึงดึงภาพรวมกลับมาได้

“วันนี้เรายังรอนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เมื่อใดที่เราเปิดประเทศแล้ว เชื่อว่านักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะสร้างโมเมนตัมให้กับไทย มองว่าไตรมาส 4 ตอนนี้จากนโยบายและมาตรการภาครัฐเรื่องการดูแลบริหารเรื่องความเสี่ยง เรื่องวัคซีนต่าง ๆ ก็มีแนวโน้มที่ดีที่เราจะเริ่มเห็นการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ” คุณวัลลภากล่าว

ทั้งนี้ เธอมองว่า หากนโยบายหรือมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น มาตรการกักตัวผ่อนคลาย กฎการเดินทางเข้าประเทศ การทำประกันโควิด การตรวจโควิด-19 เรื่องของสายการบิน จะสามารถดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาช่วยได้

โดยเฉพาะเรื่องของมาตรการกักตัวที่ยังเป็นจุดสำคัญที่ยังไม่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลับมาอย่างเต็มที่ได้ ที่สำคัญสถานการณ์ในประเทศเองก็ต้องมีความพร้อมและไม่เสี่ยงต่อการเปิดประเทศด้วย เช่น การกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง

“ถ้าไม่มีการกักตัวหรือ Quarantine เราก็จะสามารถตอบโจทย์ให้นักท่องเที่ยวหลากหลายกลุ่มกลับมาได้เร็ว แต่ถ้ายังมีการกักตัว ก็เป็นข้อจำกัดที่คนที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางมาประเทศไทยก็คงยังไม่อยากมาทันที ... เราจะกลับมาได้เร็วถ้าเรามีมาตรการที่จะซัพพพอร์ตเรื่องของ Journey ให้กับนักเดินทางของเราเข้ามาในประเทศ” คุณวัลลภากล่าว

เธอเสริมว่า “แต่เรากำลังมองถึงโอกาสแล้วก็การที่เราจะกลับมากลับมาได้เร็ว ยังไงเราก็จะเตรียมพัฒนาโครงการใหม่ ทํารีโพสิชัน รีโนเวชันครั้งใหญ่ในหลาย ๆ โครงการเพื่อที่จะเตรียมให้โครงการเราเป็นโครงการคุณภาพที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้”

 

เทรนด์ใหม่ผลักธุรกิจรีเทล (ร้านค้า) ต้องปรับตัว นำไปสู่ 3 แลนด์มาร์กใหม่

คุณวัลลภาบอกว่า ด้วยสถานการณ์โควิด-19 และเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้น ทำให้อสังหาริมทรัพย์กลุ่มเพื่อประกอบการค้าปลีก หรือรีเทล (Retail) ได้รับผลกระทบ เหมือนโดน “Set Zero” ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน

“ทุกอย่างมันจะไม่ใช่โมเดลแบบเดิม สิ่งที่ลูกค้ามองหาอาจจะไม่ได้ว่าจะไปซื้อของหรือว่าจะต้องไปช้อปปิ้งแล้ว ทุกอย่างเดี๋ยวนี้มันมีออนไลน์ จะตอบโจทย์อะไรดี ซึ่งสิ่งที่ลูกค้ามองหาก็คือ Life Experience

ประกอบกับ AWC มองว่า จำเป็นต้องมีจุดหมายปลายทาง (Destination) แห่งใหม่ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มดังที่ระบุไว้ข้างต้น จึงมีการวางแผนว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะสร้างแลนด์มาร์กใหม่ 3 โครงการขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ทั้งในแง่การท่องเที่ยว และการปรับตัวของรีเทล

โครงการแรก ASIATIQUE THE RIVERFRONT DESTINATION ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นแลนด์มาร์กระดับไอคอน (Iconic Landmark) แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ที่มีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ, โรงแรมเจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์ รวมถึง ริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ แบรนเด็ด เรสซิเดนส์ ซึ่งเป็นเซอร์วิส เรสซิเดนส์ โดยมีแผนเปิดให้บริการเริ่มจากเปิดโซนค้าปลีกและสำนักงานในปี 2567

กทม. กำชับสถานบริการ งดจำหน่ายสุรา เน้นมาตการ COVID Free Setting

โครงการที่ 2 AQUATIQUE DISTRICT PATTAYA โครงการมิกซ์ยูส (Mixed-Use) ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองพัทยา ประกอบด้วยแหล่งชอปปิ้ง แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมหรู 5 แบรนด์ และแบรนเด็ด เรสซิเดนส์อีก 2 แบรนด์ และพื้นที่ค้าปลีก นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับ Wellness ซึ่งตอบโจทย์การส่งเสริมให้พัทยาเป็นจุดหมายปลายทางของชายหาดยอดนิยม (Beachfront Destination) ระดับโลก

และโครงการที่ 3 เวิ้งนครเขษม ซึ่งพัฒนาให้เป็นโครงการพิเศษแบบ Mixed Development ทั้งโรงแรม ที่อยู่อาศัย และค้าปลีกด้วยการลงทุนกว่า 16,000 ล้านบาท โดยดึงเสน่ห์และอนุรักษ์ความเป็นไชน่า ทาวน์ ให้นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินไปกับร้านค้าปลีกใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เส้นทางมรดก มรดกทางประวัติศาสตร์ และถนนแห่งความบันเทิง พร้อมตอบโจทย์การสร้างจุดหมายปลายทางแห่งความภาคภูมิให้กับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

“เราจะมีโครงการคุณภาพที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้เร็วแล้วก็ได้แข็งแกร่งกว่าเดิมเพราะฉะนั้นการตอบโจทย์ลูกค้าตรงนี้ก็จะสร้างกระแสเงินสดกลับมาในขณะที่เราเตรียมโครงการที่ยูนิคแล้วยิ่งสร้างจุดมุ่งหมายแข็งแรงให้กับประเทศนี้เข้ามาเสริมกระแสเงินสดให้กับ AWC วันนี้เรียกว่าจะสร้างการเติบโตที่ต่อเนื่องแล้วก็จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งและก็ผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในขณะเดียวกันเราก็เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนได้” คุณวัลลภากล่าว

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ