ย้อนดูค่าเดินทาง "คนกรุง" ตั้งแต่ต้นปี 64 อะไรปรับราคาขึ้น - ลง มาดูกัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปี 2564 เป็นปีที่ ค่าสาธารณูปโภคหลายอย่างขอปรับขึ้นราคา แทบทุกอย่างงานนี้มาดูกันว่ามีค่าอะไรบ้างที่ปรับขึ้น - ลงบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่า ตั้งแต่ต้นปี 2564 ประเทศไทยก็ต้องประสบปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 งานนี้ทำให้ผู้ประกอบกิจการหลายส่วนต้องขาดทุนในการบริหาร โดยเฉพาะกลุ่มขนส่งสาธารณะที่หลายที่ของปรับขึ้นราคา จนทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของคนทำงานในกรุงเทพมหานคร ต้องเพิ่มขึ้น งานนี้จะมีค่าอะไรบ้างที่ปรับขึ้นราคามาดูกัน

ลุ้น! MUT 2021 รอบตัดสิน ชมสดหน้าจอ “พีพีทีวี”

เคาะแล้ว! ทบทวนสิทธิเยียวยา ม.33 ม.39 ม.40 ลุ้นตรวจสอบสิทธิ รับเงินเข้าพร้อมเพย์ - เตือน 2 แสนคนเช็ก...

จับตา “ทางออก” ขึ้นค่าโดยสาร BTS 104 บาท

สำหรับโดยสารแรกที่มีการปรับขึ้น คือค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ที่มีการปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 ซึ่งจากเดิม เริ่มต้นเก็บค่าโดยสารในราคา  16 บาท สูงสุด 42 บาท แต่ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ระหว่าง รฟม. กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ได้กำหนดให้มีการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารใหม่ทุกๆ ระยะเวลา 24 เดือน (2 ปี)  จึงทำให้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2564 ได้มีการปรับราคา โดยเริ่มต้นเก็บค่าโดยสารในราคา 17 บาท สูงสุด 42 บาท

ตามมาด้วย วันที่  เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ทีมบริหารได้หาหรือกับ กรุงเทพมหานคร ขอปรับราคาค่าโดยสารที่ตลอดสาย ไม่เกิน 104 บาท แบ่งเป็น

1. หมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน ค่าโดยสารอยู่ที่  16-44 บาท

2. ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

3. ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

4. ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

โดยมีผลในวันที่ 16 ก.พ. 2564 

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่มีการคงราคาค่าโดยสารตลอดสาย ในราคา 20 บาทตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 2562 และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ม.ค. 2564 จึงทำให้ในวันที่ 1 ก.พ. 2564 ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเสียค่าโดยสารตามราคาปกติ 14-42 บาท  เมื่อคำนวณค่าเดินทางต่อเนื่องทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วงสูงสุด 48 บาท เมื่อเดินทางร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ปรับขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้ จะทำให้อัตราค่าโดยสารตลอดสายสูงสุดไม่เกิน 70 บาท 

ขณะที่ เรือด่วนเจ้าพระยา กลับสวนกระแส จัดโปรโมชั่นลดราคา เรือด่วนเจ้าพระยาธงเขียว เส้นทางสะพานพระนั่งเกล้า - สาทร จาก 30 บาท เหลือเพียงราคา 20 บาท โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. จนถึง 31 ต.ค.นี้ 

และล่าสุด ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เตรียมทำตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  ที่อนุญาตให้มีการปรับอัตราค่าผ่านทางทุก5 ปี นับจากเปิดโครงการ  จึงส่งผลให้ ค่าผ่านทางโครงการ ทางด่วนศรีรัช- วงแหวนรอบนอกฯ สำหรับรถ 4 ล้อ อัตราปัจจุบัน 50 บาท ปรับเพิ่ม 15 บาท เป็น 65 บาท รถ6-10 ล้อ อัตราปัจจุบัน 80 บาท ปรับเพิ่ม 25 บาท เป็น 105 บาท และรถมากกว่า 10 ล้อ อัตราปัจจุบัน 115 บาท ปรับเพิ่ม 35 บาท เป็น 150 บาท  

แต่รายละเอียดดังกล่าว กทพ.จะกลับไปหารือกับ BEM อีกครั้ง ว่าจะมีการชะลอการปรับขึ้นราคาได้หรือไม่ 

ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินรถ กูปรับราคาขึ้นๆ ลงๆ แต่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ราคาน้ำมันถือว่ามีการปรับสูงถึง 0.60 สต.ต่อลิตร 

 

อ้างอิงข้อมูล
- บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ