เทรนด์ Personalized Food กับการต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"อาหารเฉพาะบุคคล" เทรนด์ใหม่ที่น่าจับตา รองรับพฤติกรรมต้องการสารอาหารและรูปแบบอาหารที่มีความเฉพาะบุคคลมากขึ้น คาดเติบโตสูง 14.2% ต่อปี

ปัจจุบัน อาหารและยาจะถูกทำขึ้นเพื่อทุกคน แต่ตอนนี้พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง คือ ความต้องการสารอาหารและรูปแบบอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล หรือที่เรียกว่า Personalized Food โดยในประเทศไทย สามารถเติบโตได้เฉลี่ยสูงถึงปีละ 14.2% หรือแตะระดับ 5.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2025 ด้วยทิศทางนี้ จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มธุรกิจอาหาร ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ สามารถต่อยอดได้จากธุรกิจเดิม


ส่งออกอาหารปีนี้พุ่งขยายตัว 8% เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
แนะธุรกิจอาหาร พัฒนา 3 หัวใจหลัก รับระบบนิเวศทางเศรษฐกิจปี 60

ซึ่งการใส่ใจสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยี  FoodTech และ HealthTech ทำให้เกิดนวัตกรรมด้านอาหารที่น่าสนใจมากมาย ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเร่งทำให้คนให้ความสำคัญกับอาหารที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลมากขึ้น

Personalized Food คืออะไร?
     เป็นนวัตกรรมออกแบบอาหารเพื่อสุขภาพเฉพาะบุคคล เป็นอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับการใช้ชีวิต สุขภาพ และพันธุกรรมในแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และในที่นี้ยังหมายรวมถึงอาหารบุคคลเฉพาะกลุ่มด้วย 

ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะเริ่มทำตลาดกลุ่มนี้ ควรจะเริ่มที่ตลาดผู้บริโภคที่มีความเฉพาะระดับกลุ่มบุคคลก่อน ได้แก่
- กลุ่มผู้ควบคุมน้ำหนัก
- กลุ่มผู้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- กลุ่มผู้สูงอายุ

ส่วน Personalized Food สำหรับเฉพาะบุคคล แม้จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เฉพาะเจาะจงมากกว่า และทำให้ผู้บริโภคมีความเต็มใจที่จะจ่ายสูงกว่าสินค้าปกติ 40-50% แต่จากขนาดตลาดที่ยังไม่ใหญ่นัก ทำให้ยังต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนควบคู่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ถึงคุณประโยชน์ของอาหารเฉพาะบุคคล ว่ามีความจำเป็นหรือส่งผลดีอย่างไร ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องสร้างแรงจูงใจ แก่ผู้บริโภคในการเข้าถึงการตรวจสุขภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

แนะ 5 วิธีป้องกันตัวเองให้ห่าง "โรคไข้รากสาดใหญ่"

และสำหรับผู้ที่จะทำตลาดนี้ ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพและโภชนาการ ได้แก่
1. ผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ (Testing Service)
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและอาหาร (Health and Nutrition Specialist)
3. ผู้ผลิตสารอาหาร (Food Ingredient)
เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้สะดวกขึ้น สุดท้ายต้องไม่ลืมติดตามเทรนด์ตลาดอาหารเฉพาะบุคคล เพื่อจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ