สรุปดีลยักษ์วงการโทรคมนาคม "ทรู-ดีแทค" ดันผู้ใช้หมายเลขขึ้นเบอร์หนึ่ง 51.3 ล้านหมายเลข


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระแสข่าวการควบรวม 2 บริษัทยักษ์ค่ายมือถือ ระหว่าง เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) ค่ายทรู และกลุ่มเทเลนอร์ ค่ายดีแทค มีมาตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ก่อน ล่าสุด จับมือแถลงข่าวควบรวมกิจการเรียบร้อย เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวใหญ่ของธุรกิจโทรคมนาคม ในปีนี้

22 พ.ย.64 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ 

ทรู-ดีแทค ปิดดีลควบรวมกิจการสู่เทคโนโลยีฮับ

บางกอกแอร์เวย์ส แถลงแผนธุรกิจ ปี 2565

กรณี ทรู ควบรวม ดีแทค จะมีผลกระทบผู้บริโภคด้านใดบ้าง

เปิดตัวเลขผู้ใช้ "หมายเลข 2 ค่าย" 51.3 ล้านหมายเลข

ต้องยอมรับว่า ในบรรดาค่ายมือ 3 เจ้าของเมืองไทย  อันดับหนึ่งคือ เอไอเอส อันดับ 2 คือ ทรู แะอันดับ 3 คือ ดีแทค โดยตัวเลขผู้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของทรู ณ สิ้นเดือน ก.ย.2564 อยู่ที่ 32 ล้านหมายเลข ขณะที่ดีแทค อยู่ที่ 19.3 ล้านหมายเลข แต่เมื่อทั้งสองต่าย ทรู-ดีแทคมารวมกัน จำนวนผู้ใช้จะอยู่ที่ 51.3 ล้านหมายเลข ขณะที่เอไอเอสอยู่ที่ 43.66 ล้านหมายเลข

ส่องรายได้ ทรู-ดีแทค

และเมื่อไปดูที่รายได้ของแต่ละบริษัท พบว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค (DTAC) รายได้รวมจนถึงไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 59,855.12  ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,184.86  ล้านบาท 

ส่วน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) รายได้รวมจนถึงไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 103,177.24 ล้านบาท ขาดทุน 1,483  ล้านบาท

"การควบรวมกิจการ" วิถีการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงวิกฤต

สรุปภาวะ "หุ้นไทย" 22 พ.ย.64 แรงหนุนหุ้นกลุ่มสื่อสารจาก ทรู-ดีแทค ควบรวมกิจการ

กสทช.ตั้งคณะทำงานติดตามอภิมหาดีล "ทรู-ดีแทค" นักวิชาการมองอาจไม่ผูกขาด

ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์หลังประกาศควบควมกิจการ

จากนั้น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดย แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการควบบริษัท ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) และรับทราบความประสงค์ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนการทําคําเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer)

โดยได้มีมติที่สําคัญ ดังต่อไปนี้

อนุมัติให้บริษัทฯ ทําการศึกษาความเป็นไปได้และ ดําเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท
ระหว่างบริษัทฯ และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน)  (“dtac”) และ อนุมัติให้บริษัทฯ เข้าทําบันทึกความตกลงเบื้องต้นแบบไม่มีผลผูกพัน (Non-Binding Memorandum of Understanding) (MOU) กับ dtac เพื่อบันทึกความประสงค์ของ คู่สัญญาในการพิจารณาและศึกษาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัทฯ และ dtac เข้าด้วยกันด้วยวิธีการควบบริษัท (Amalgamation) รวมถึงกําหนดเงื่อนไขบังคับก่อนของการควบบริษัทซึ่งรวมถึง (แต่ไม่จํากัดเพียง)

1. บริษัทฯ และ dtac ทําการตรวจสอบกิจการ (Due Diligence) ของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ

2. ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ dtac ได้พิจารณา และมีมติ อนุมัติการควบบริษัท

3. บริษัทฯ และ dtac สามารถดําเนินการให้เงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสําเร็จครบถ้วนตามที่ๆ ประชุมคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ dtac จะได้พิจารณากําหนดต่อไปในการพิจารณาอนุมัติการควบบริษัทและในการเข้าทําสัญญาควบรวมกิจการทรสําหรับการควบบริษัทระหว่างบริษัทฯ และ dtac

พิจารณากําหนดอัตราการจัดสรรหุ้น (Swap Ratio)

นอกจากนี้บริษัทฯ ได้พิจารณากําหนดอัตราการจัดสรรหุ้น (Swap Ratio) สําหรับการจัดสรรหุ้นใน
บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบบริษัท (“บริษัทใหม่”) ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของ dtac
ในอัตราส่วนดังนี้

1 หุ้นเดิมในบริษัทฯ ต่อ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่

และ 1 หุ้นเดิมในทรู ต่อ 2.40072 หุ้นในบริษัทใหม่

อัตราการจัดสรรหุ้นข้างต้นกำหนดขึ้นจากสมมติฐานว่า ภายหลังควบบริษัท บริษัทใหม่จะมีหุ้น
ที่ออกและจําหน่ายแล้วทั้งหมด จํานวน 138,208,403,204 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
อย่างไรก็ตาม จํานวนหุ้นที่ออกและจําหน่ายแล้วทั้งหมดและมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัทใหม่
ภายหลังการควบบริษัทจะมีการเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมของบริษัทฯ และ dtac พิจารณาอนุมัติ
ตามขั้นตอนของการควบบริษัทต่อไป

ตลอดจนสามารถดําเนินการให้เงื่อนไขและขั้นตอนตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการควบบริษัทตามที่กําหนดไว้ใน พ.ร.บ.บริษัทมหาชน กฎหมาย และ กฎเกณฑ์อื่นๆ สําเร็จลงอย่างครบถ้วน และ การดําเนินการขออนุญาตในการนําหุ้นของบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ได้สําเร็จ

เสนอซื้อหุ้นทรู หุ้นละ 5.09 บาท - หุ้นดีแทค หุ้นละ 47.76 บาท 

บริษัท ซิทริน โกลบอล จํากัด (“Citrine Global”หรือ “ผู้ทําคําเสนอซื้อ”) ซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ระหว่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็น ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ เทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ dtac ว่า Citrine Global มีความประสงค์ ที่จะทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนการทําคําเสนอซื้อ ในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 5.09 บาท

ส่วนหุ้นดีแทค มีความประสงค์ที่จะทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยสมัครใจแบบ มีเงื่อนไขก่อนการทําคําเสนอซื้อ ในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 47.76 บาท

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ