จับตาแนวโน้มเศรษฐกิจไทย “ปีเสือหมอบ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทุกคนคาดหวังว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะดีขึ้น เพราะเราผ่านจุดเลวร้ายที่สุดของวิกฤติโควิด-19 ไปแล้ว แต่อนาคตของเศรษฐกิจไทย จะถูกปลุกขึ้นมาฟื้นได้จริงหรือไม่

คาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจโลกปี 2565 จะฟื้นตัวต่อเนื่องหลังวัคซีนโควิด-19 มีใช้อย่างแพร่หลาย เป็นวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้หนุนกิจกรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างจีนและอเมริกาที่จีดีพีขยับขึ้นมาถึง 8%และ 6% หนุนให้การค้าระหว่างประเทศของไทยได้รับอานิสงส์ที่ดีไปด้วย

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผอ.โครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ TDRI มองว่าการส่งออก ถือเป็นพระเอกของเศรษฐกิจไทยในปีแห่งโควิดระบาด เพราะยังเติบโตได้ 10-15% ขณะที่การจับจ่ายในประเทศยังคงไม่สามารถพึ่งพาได้

ติดกับดักหนี้นอกระบบ แก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วย 3 วิธีนี้

รพ.จุฬาลงกรณ์ เปิดจองวัคซีน "โมเดอร์นา" ฉีดฟรีเป็นเข็มกระตุ้น เริ่ม 8 ธ.ค. 64

เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ยาวนาน ทำให้ประชาชนขาดรายได้ แม้จะมีการเปิดประเทศแล้วแต่นักท่องเที่ยวก็ยังไม่กลับมา และคาดว่าผลกระทบยังลากยาวไปถึงกลางปีหน้า

แม้ปี 2565 ตัวเลขจีดีพีจะกลับมาเติบโตได้ ประมาณ 3.5-4% จากการคาดการณ์ของสำนักวิจัยต่างๆ แต่ทำไมประชาชน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน คนหาเช้ากินค่ำ จึงยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้น เป็นเพราะชั่วโมงการจ้างงานลดลงไปในช่วงที่มีโควิด ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้เงินในกระเป๋าน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเคยเฟื่องฟูจนได้รับสมญานามว่า เสือเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย แต่เส้นทางของอดีตเสือตัวนี้ในปีหน้า

ดร.อมรเทพ จาวะลา จากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นปีเสือหมอบ ที่ยังไม่พร้อมกระโจนอย่างพุ่งทะยาน  โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีศักยภาพ เพียงแต่รอปัจจัยที่เอื้ออำนวยและมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนการเติบโตระยะยาวอย่างเต็มที่

แม้ปี 2565 ตัวเลขจีดีพีจะกลับมาเติบโตได้ ประมาณ 3.5-4% จากการคาดการณ์ของสำนักวิจัยต่างๆ แต่ทำไมประชาชน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน คนหาเช้ากินค่ำ จึงยังไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้น เป็นเพราะชั่วโมงการจ้างงานลดลงไปในช่วงที่มีโควิด ประกอบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้เงินในกระเป๋าน้อยลง

กำลังซื้อระดับกลาง-บน ที่เริ่มเห็นสัญญาณการใช้จ่ายหลังเปิดเมือง แต่คนระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะขาดความเชื่อมั่นในความมั่นคงของงาน ดังนั้น หากมีมาตรการของภาครัฐเข้ามากระตุ้นได้ตรงจุด จะช่วยให้กำลังซื้อกลับมาได้

ขณะเดียวกันยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา คือการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดรอบใหม่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ที่อาจกดดันบรรยากาศการค้าทั่วโลก ปัญหาเงินเฟ้อ หรือ ค่าครองชีพของคนไทยที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน อาหารสด  ซึ่งจะกระทบกำลังซื้อของคนรายได้น้อย รวมทั้งหนี้ครัวเรือนระดับสูง ที่ยังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยต่อไป

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ