กรมพัฒน์ฯ เตือน! เช็กให้ชัวร์ก่อน "กู้เงินออนไลน์" ป้องกันการสูญเสีย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนภาคธุรกิจที่กำลังมองหาสินเชื่อ ต้องเช็กให้ชัวร์ ก่อน"กู้เงินออนไลน์" ป้องกันมิจฉาชีพหลอกลวง หลังพบแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ

ยังมีให้เห็นกับกรณี "กู้เงินออนไลน์" ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแก๊งเงินกู้นอกระบบ ดอกเบี้ยแพงกว่าที่กฎหมายกำหนด และมีการติดตามทวงหนี้โหด ทั้งการข่มขู่ทำร้ายร่างกาย และการข่มขู่นำเอกสารสำคัญไปใช้ในทางผิดกฎหมาย
โดยมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมีรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เหยื่อหลงกล เช่น ปล่อยกู้ง่าย ไม่มีเงินคำ และล่าสุด อ้างตัวเป็นหน่วยงานรัฐ ปลอมแปลงเลียนแบบเว็บไซต์ ให้ประชาชนที่ต้องการกู้เงินหลงเชื่อ จนรับความเสียหายมาแล้วหลายราย

หนุ่มโคราช เสียค่าโง่แอปฯกู้เงินออนไลน์สูญ 2 หมื่นบาท เมีย ลั่น “กลับบ้านเจอทืบแน่”

โร่แจ้งความกู้เงินออนไลน์ 1,000 บาท กลับมีหลายเจ้าแห่โอนเงินให้ แถมดอกเบี้ยโหด กู้ 8,000 จ่าย 20,00...  

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นอีกหน่วยงานที่ถูกมิจฉาชีพแอบอ้าง

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ให้ดำเนินการตรวจสอบการกระทำของกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายมิจฉาชีพหลอกลวง
โดยคนเหล่านี้ จะอ้างว่าเป็นธุรกิจให้บริการสินเชื่อ (เงินกู้) และมีการปลอมแปลงเว็บไซต์ของกรมฯ ในส่วนให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล หรือ DBD Datawarehouse+ โดยโฆษณาเชิญชวนประชาชนให้สมัครใช้บริการกู้เงินผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่น และการส่งต่อลิ้งค์ของเว็บไซต์ต่างๆ

ประกอบกับอ้างถึงความมีตัวตนในการจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมฯ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและหลอกลวงให้หลงเชื่อ แต่ในที่สุดประชาชนกลับไม่ได้รับบริการกู้เงินจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว และยังต้องชำระเงินที่อ้างว่าเป็นค่าดำเนินการไปก่อนจึงจะโอนเงินกู้กลับไปให้ได้หรือต้องรอรับรหัสในการขอกู้เงิน ซึ่งการกระทำนี้เข้าข่ายการหลอกลวงและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ก่อนจะกู้เงินออนไลน์ หรือกระทำการใด ๆ จะต้องระมัดระวัง ซึ่งที่ผ่านมา กรมฯ ได้เปิดให้บริการระบบให้บริการตรวจค้นข้อมูลนิติบุคคล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการลงทุน และตรวจสอบสถานะความมีตัวตนของนิติบุคคล

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นส่วนประกอบเพียงส่วนหนึ่ง ในการตรวจสอบการมีอยู่ของนิติบุคคล ว่ามีการจดทะเบียนกับกรมฯ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

นอกจากจะตรวจสอบการมีตัวตนของนิติบุคคลแล้ว ยังต้องตรวจสอบเชื่อมโยงไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บริการด้านการเงินด้วย เช่น

ระวังมิจฉาชีพหลอกกู้เงิน แนะวิธีเช็กชื่อแหล่งเงินกู้ที่ได้รับอนุญาต

-รายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อ สามารถค้นหาได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ www.bot.or.th
-ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อฟิโกไฟแนนซ์ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
-ธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นต้น

ดังนั้น ภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องการทำธุรกรรมที่มีความละเอียดอ่อน ต้องแสวงหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมก่อน โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ประชาชนส่วนหนึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อนด้านการเงินและต้องการใช้เงินเร่งด่วน มิจฉาชีพจึงอาศัยช่องว่างจากความเดือดร้อนนี้เข้ามาซ้ำเติม 

แนะ 7 วิธีตรวจสอบหมายเรียกตำรวจ จะได้ไม่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอก

ซึ่งหากตกเป็นเหยื่อแล้วอาจทำให้สูญเสียเงิน เวลา หรือทรัพย์สินต่าง ๆ และยังอาจถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไปใช้โจรกรรมทางการเงินจนเกิดความเสียหายตามมาภายหลัง

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ