หวั่นโรคASF ทำผู้เลี้ยงหมูรายย่อยกิจการล้ม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลกระทบจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู หรือ ASF ที่ทำให้หมูตายเป็นจำนวนมาก ล่าสุดมีความเห็นจากผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี ที่มองว่ากลุ่มผู้เลี้ยงหมูรายเล็ก อาจไม่สามารถประคองกิจการเพื่อฟื้นตัวกลับมาเลี้ยงหมูได้อีกครั้ง เนื่องจากต้องปรับระบบการเลี้ยงแบบใหม่เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากขึ้น

นายพีรพล ฤทธิเพชรอัมพร ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด มองว่าสถานการณ์การเลี้ยงหมูของไทย หลังเจอเหตุโรคระบาด ASF จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะการเลี้ยงหมูต่อจากนี้ฟาร์มหมูต้องปรับเป็นแบบ Biosecurity หรือ ระบบที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพแบบระบบปิดเท่านั้น เพราะหากเลี้ยงแบบระบบเปิดก็มีความเสี่ยงที่หมูจะตายจากโรค ASF ได้ เนื่องจากเชื้อ ASF  มีความคงทนในสภาพแวดล้อมได้นาน และตอนนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนรักษา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่หมูจะติดเชื้อตายได้ อีกทั้งต้นทุนการทำระบบ Biosecurity 

ซากหมูตายถูกยัดในโอ่ง "ไม่มีที่ฝังกลบ"

ฟาร์มหมู เผย 2 ปีเนื้อหมูส่วนใหญ่ติดเชื้อASF

อย่างเช่น ค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อหมูแม่พันธุ์ 1 ตัว คือ 1 แสนบาท  ถ้าหากฟาร์มขนาดเล็กเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ 10 ตัว ก็ต้องใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมค่าปรับปรุงโครงสร้างอาคารและรายจ่ายอื่นๆที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 ทำให้ นายพีรพล กังวลว่าผู้เลี้ยงหมูรายเล็กจะกลับมาเลี้ยงหมูไม่ได้ และจะเหลือแค่ผู้เลี้ยงรายใหญ่เท่านั้น พร้อมเสนอให้ภาครัฐเร่งพัฒนาวัคซีน ASF   พักชะลอหนี้เดิมให้ผู้เลี้ยงหมูรายเล็ก และสนับสนุนแหล่งเงินทุน นอกเหนือจากเงินเยียวยาจากภาครัฐ

ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยาไบโอเทค-สวทช. โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าเชื้อ ASF เป็นไวรัสที่มีโครงสร้างซับซ้อนมาก ทำให้การพัฒนายาต้านไวรัสตัวนี้ทำได้ลำบาก และมีเคยมีการตีพิมพ์ข้อมูลเชิงวิชากรว่าเชื้อ ASF สามารถอยู่ภายนอกเซลล์ เช่น เลือดสุกรที่ติดเชื้อ และแช่ในอุณหภูมิตู้เย็นช่องธรรมดาที่ 4 องศา ซึ่งเชื้อสามารถอยู่ได้ยาวนานถึง 6 ปี โดยที่ไวรัสยังมีคุณสมบัติแพร่กระจายเชื้อได้อยู่

อีกทั้งการนำหมูที่ติดเชื้อไปรวมกัน  เช่น ในโอ่ง โดยไม่มีการทำลายอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นแหล่งสะสมของไวรัสจำนวนมหาศาล ถึงแม้ว่าซากสัตว์อาจจะเปื่อยเน่าไปแล้ว  แต่จากข้อมูลยืนยันว่าน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผลกับไวรัสทั่วไป ก็น่าจะยังใช้ได้ผลกับเชื้อ ASF แต่อาจจะต้องให้เวลาน้ำยาสัมผัสกับพื้นที่ปนเปื้อนนานขึ้น  พร้อมยืนยันว่าโรคนี้จะไม่ติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มี ASF ไม่มีประเด็นต่อการติดเชื้อในคน

 

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ