หมูแพง! ร้านแจ่วฮ้อนปิดขอเวลาทำใจ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปริศนาหมูตายเพราะโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู หรือ ASF ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ เมื่อเช้า ส.ส.พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่นครปฐมไปคุยกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเพื่อสอบถามข้อมูล ขณะที่ราคาหมูในท้องตลาดหลายจังหวัดยังพุ่งสูง ล่าสุด ที่จ.ขอนแก่น ร้านแจ่วฮ้อน ติดป้ายประกาศขอปิดร้านเพราะราคาหมูแพงจนทนไม่ไหว

ป้ายหน้าร้านแจ่วฮ้อนอภิรมย์ มข. ที่จ.ขอนแก่น เขียนว่า “หมูแพง! ขอเวลาทำใจแป๊ป แจ่วฮ้อนอภิรมย์ ปิดร้านชั่วคราว 18-24 มกราคม 2565” ทีมข่าวลงพื้นที่ที่ร้ายแจ่วฮ้อน พบกับ นายวิวัฒน์ กิตติโรจนเสถียร อายุ 48 ปี เป็นเจ้าของร้าน

เขาบอกว่า ที่ติดป้าย เพราะ หมูมันแพงจริงๆ พยายามตระเวนหาร้านค้าส่งเนื้อหมูที่มีราคาไม่แพงมากแต่หาไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากขึ้นราคาขาย จึงตัดสินใจขึ้นป้ายปิดร้าน ให้พนักงานพักผ่อน 

ส่องชีวิตแรงงาน หันไปกินผักแทนเนื้อหมูแพง

“นุ่น สินิทธา” ร่วมอาลัย “ไมเคิล พูพาร์ต” อดีตคู่ขวัญ เผยไม่เจอนาน 18 ปี

 

และ ถือโอกาสปรับปรุงร้านในช่วงนี้ ยืนยันไม่ได้ประชด แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะ ไม่สามารถหาวัตถุดิบดีราคาถูกได้

ส่วนฟาร์มหมูในจ.นครปฐม  ทีมข่าวสำรวจ พบว่า ฟาร์มหมูรายย่อย และ ผู้ประกอบการขนาดกลางที่เลี้ยงหมูได้มากกว่า 2,000 ตัว ปัจจุบันอยู่ในสภาพร้างเกือบทั้งหมด เพราะตายมาเกือบ 2 ปีแล้ว ผู้ประกอบการฟาร์มหมู ให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่า ตอนนี้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กส่วนใหญ่เลิกเลี้ยงหมูไปนานแล้ว หลังจากมีโรคระบาดหมูล้มตายไปหมดฟาร์ม ส่วนที่มีอยู่ตอนนี้ก็เหลือหมูในฟาร์มไม่ถึง 10  ตัว เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ไม่ใช่หมูขุนสำหรับขายเนื้อ

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวในพื้นที่จ.นครปฐม คือ วันนี้ นายสัตว์แพทย์ปดิพัทธ์  สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต1 พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ฟาร์มหมูเฮียแป้น จ.นครปฐม สำรวจพื้นที่ภายในฟาร์มหลายจุด  พร้อมแสดงความเห็นว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้ มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อได้ว่ามีโรค ASF ในพื้นที่ เช่น ซากหมูจำนวนมากที่ตาย และ หมูที่เพิ่งตายใหม่ไม่นาน นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า หลังจานกี้จะจอเก็บตัวอย่างซากหมูภายในฟาร์มเฮียแป้นไปตรวจหาเชื้อ ASF ในห้องแล็ปของเอกชน

นายสัตว์แพทย์ปดิพัทธ์  ย้ำว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ สะท้อนความล้มเหลวในการรับมือโรคระบาดในสัตว์เกษตรกรจำนวนมากเดือดร้อน จนหมดตัว

ด้าน นายสัตวแพทย์สมควร ปิยะพงศ์เดชา ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม  ชี้แจงกับทีมข่าวพีพีทีวี ย้ำว่า ที่ผ่านมาทำงานเชิงรุกตลอด นับจากปี 2562 มีการสุ่มตรวจมากกว่า 30,000 ตัวอย่าง ยืนยันว่า ไม่เคยพบ เชื้อ ASF ในพื้นที่มาก่อน

แต่นายสัตวแพทย์สมควร ก็ยอมรับว่า การตรวจส่วนใหญ่จะเน้นตรวจโรงเชือดหมูเป็นหลัก เพราะ มีข้อมูลอยู่ระบบของปศุสัตว์เวลาที่ขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ เมื่อถามเรื่องงบประมาณการตรวจเชิงรุกที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง นายสัตวแพทย์สมควร ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2562 สำนักงานปศุสัตว์นครปฐม ไม่เคยใช้งบประมาณแผ่นดินในการวางมาตรการเชิงรุกป้องกัน ASF เลย ทั้งหมดใช้เงินที่รวบรวมโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ