
สรท.เปิดตัวเลขส่งออกปี 64 โต 17.1% คาดไตรมาสแรกปีนี้แตะ 5%
เผยแพร่
สรท.เปิดตัวเลขส่งออกปี 64 โต 17.1% คาดไตรมาสแรกปีนี้แตะ 5% เสนอรัฐควบคุมต้นทุนผลิตสินค้า ตรึงราคาพลังงาน
ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) พร้อมด้วย นายสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน สรท. และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร ระบุว่า การส่งออกของไทย ภาพรวม เดือนม.ค.-ธ.ค. ของปี 2564 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 271,173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 17.1% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,542,102.7 ล้านบาท ขยายตัว 18.9% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วง 11 เดือนนี้ขยายตัว 19.8%)
เช็กที่นี่! บริการชำระเงินออนไลน์ ทางออกหลัง PayPal หยุดชั่วคราว
เนื้อหมูราคาลดแล้ว-ไก่ทรงตัว พาณิชย์ ส่งฟ้อง 12 ห้องเย็น ไม่แจ้งสต๊อก
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 267,600.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 29.8% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,549,082.3 ล้านบาท ขยายตัว 32% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-ธันวาคมของปี 2564 เกินดุล 3,573.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ขาดดุลในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,979.6 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การส่งออกเดือน ธ.ค. 64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 24,930.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 24.2% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 810,711.8 ล้านบาท ขยายตัว 34.5% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนธันวาคมขยายตัว 23.0%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,284.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 33.4% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 833,237.4 ล้านบาท ขยายตัว 44.4% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2564 ขาดดุลเท่ากับ 354.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 22,525.6 ล้านบาท
อุดหนุนราคาพลังงานขาขึ้น จับตากู้แสนล้านกด "ดีเซล 30 บาท"
อย่างไรก็ตาม สรท. คาดไตรมาสแรกปี 65 โตต่อเนื่อง 5% ทั้งปี 5-8% แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงคือ
- ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง จากผลกระทบจากข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้หมวดหมู่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีมูลค่าสูงขึ้น และส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภทรวมถึงต้นทุนการขนส่งที่ต้องปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัวทั่วโลก
- แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว
- ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหา Space allocation ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถจองระวาง ตลอดจนค่าระวางเรือยังคงทรงตัวในระดับสูง
- ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 โอมิครอน โดยยังคงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ
นอกจากนี้ สรท.ยังมีข้อเสนอต่อรัฐบาง เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการค้า ยกระดับการใช้ระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) รวมถึง การควบคุมต้นทุนการผลิต (Production cost) การตรึงราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร เนื่องจากต้นทุนพลังงานคิดเป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิต ราว 2-10% หากราคาพลังงานมีการปรับตัวสูงเกินไปจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยตรง
และควบคุม ต้นทุนภาคการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ วัตถุดิบขั้นกลางสำหรับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ไปจนถึงการพิจารณาการ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอ้างอิงจากปัจจัยการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ฯลฯ
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline