น้ำมัน..อาวุธลับรัสเซีย เมื่อราคาทะยาน จนไม่รู้ว่าจะวิ่งไปไกลแค่ไหน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โลกกำลังเข้าสู่ยุคราคาน้ำมันแพงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้อาจยืดเยื้อยาวนานกว่าทุกครั้ง เมื่อน้ำมันกลายเป็น "อาวุธ" โดยตรงและกำลังเล่นงานไปทั่วโลก

เมื่อสวิสเซอร์แลนด์ ถูกกดดันให้แสดงท่าทีต่อการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทำให้เป็นเรื่องยากที่ประชาคมโลกจะทำตัวเป็นกลางได้ เช่นเดียวกับไทย ที่คิดอยู่นาน ก่อนจะแสดงท่าทีประณามการรุกรานของรัสเซีย

แต่มีกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนบนโลก กำลังเล่นเกม "ยื้อเวลา" นั่นคือ ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอย่างโอเปก และ พันธมิตรอย่างรัสเซีย ที่รวมกลุ่มเป็น "โอเปกพลัส" แต่ไม่รู้ว่าจะเล่นกลทางการทูตไปได้นานแค่ไหน เมื่อเผชิญกับแรงกดดันทั่วโลก โดยเฉพาะจากสถานการณ์ราคาน้ำมันทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว

ระเบิดดังทั่วเคียฟ-รัสเซียเดินหน้าถล่มหนัก

สมัชชายูเอ็นมติท่วมท้น จี้รัสเซียถอนทหาร

ปั๊มเอกชนดอดปรับขึ้นราคาน้ำมัน เฉียด 40 บาท/ลิตร

 

การเคลื่อนไหวราคาน้ำมันนับตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน

การประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา กลุ่มโอเปกและพันธมิตร ตัดสินใจคงการผลิตน้ำมันตามแผนเดิม โดยเพิ่มกำลังผลิตวันละ 400,000 บาร์เรล/วัน จนถึงเดือนเม.ย.

ราคาน้ำมันฝในตลาดโลกพุ่งทะยานขึ้น โดยหลังจากโอเปกพลัสแถลงผลการประชุม น้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นไปที่ 113 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงสุดในรอบ 9 ปี โดยราคาน้ำมันดิบล่าสุดเพิ่มขึ้นถึง 45% นับตั้งแต่ต้นปี

ทางกลุ่มโอเปกพลัส บอกว่าตลาดน้ำมันในระดับปัจจุบัน "มีความสมดุล" แต่ความผันผวนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เกิดจากพื้นฐานทางการตลาด แต่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองโลก

อันที่จริง มาตรการแซงชั่นของโลกตะวันตกต่อรัสเซีย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น แต่กระนั้นตลาดน้ำมันก็ตึงตัวอยู่แล้วจากปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐิจ ดังจะเห็นว่าสต๊อกน้ำมันในกลุ่มประเทศความร่วมและพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD) อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี 

นอกจากนี้ เมื่อกลางเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สต๊อกน้ำมันในสหรัฐ รวมถึงน้ำมันทางยุทธศาสตร์การลดลงต่ำกว่า 10% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

การตอบโต้จากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและกลุ่มโอเปกพลัสยังคงการผลิตเท่าเดิม ทำให้สหรัฐและประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จับมือกันกลุ่มน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ 60 ล้านบาร์เรล ทำให้มีปริมาณน้ำมันเข้ามาในตลาดในช่วง 30 วันข้างหน้า ราว 2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ ประมาณ 2% ของความต้องการน้ำมันทั่วโลก

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันกำลังจากมีมากขึ้น จากการเจรจากับอิหร่านในประเด็นการเจรจาเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งถูกยกเลิกไปสมัยประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์คาดว่าข้อตกลงน่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมี.ค.นี้ และจะทำให้มีน้ำมันเข้ามาเพิ่มในตลาด 1 ล้านบาร์เรล/วัน

สองประเทศยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน อย่างซาอุดิอาระเบียและอาหรับอามิเรตส์ ที่ยังมีกำลังการผลิจ "เหลือ" ทั้งสองประเทศกำลังเล่นบททางการทูตอันล้ำลึกและไปอย่างเนียน ๆ แม้ว่าราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นในขณะนี้ไม่ได้เป็นเรื่องดีทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยท่าทีของทางการทูตของอาหรับอามิเรตน์ในการประชุมสภาความมั่นคงของสหประชาชาติ ที่ "งดออกเสียง"ในญัตติประณามการรุกรานของรัสเซีย

ด้านหนึ่ง แรงกดดันจากประเทศผู้ใช้น้ำมัน ให้เพิ่มกำลังการผลิต โดยมีบทเรียนมาแล้วในอดีตในวิกฤติน้ำมันทศวรรษที่ 1970 เมื่อราคาน้ำมันสูงและกลุ่มโอเปกไม่ยอมเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้เกิดการพัฒนาและผลิตน้ำมันออกมาจากหลายประเทศ ทำให้ราคาดิ่งลงจากการผลิตในแหล่งอื่น

กลุ่มโอเปกเดิมกำลังลำบากใจ ด้านหนึ่งการเพิ่มกำลังการผลิตต้องหารือกับทางรัสเซียด้วย ซึ่งรวมมาเป็นกลุ่มโอเปกพลัส แต่ในนาทีนี้ รัสเซียอาจต้องการให้ราคาน้ำมันสูงอยู่ระดับนี้ เพราะยิ่งเผชิญกับแรงกดดันจากมาตรการแซงชั่นและศึกสงครามในยูเครนยาวนานเท่าไร รัสเซียก็จำเป็นต้องการรายได้มากขึ้น 

แต่เหตุใดกลุ่มโอเปกที่ขึ้นชื่อว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐดังกับคู่แฟดตามกันมาจึงต้องโอนอ่อนตามรัสเซีย ซึ่งเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในช่วงสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิาระเบียกับรัสเซียเมื่อปี 2020 ซึ่งในครั้งนั้นตลาดน้ำมันแทบ "พัง" เจ็บตัวไปทั้งคู่ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าเสียงอขงรัสเซียจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากบทบาทการเมืองโลกแล้ว ยังมีบทบาทมากในตลาดน้ำมันโลก

ราคาน้ำมันโลกในขณะนี้ ดูเหมือนอะไรที่อยู่บน "เส้นด้าย" คงอยู่ระดับสูงไปอีกนานตราบใดที่ยังมีสงครามยูเครนและความขัดแย้งทางการเมืองโลกรุนแรง

ในช่วงเวลานี้ ราคาน้ำมันมีแต่จะพุ่งทะยานขึ้น "ไม่มีลง" แต่จะขึ้นไปไกลแค่ไหน เป็นเรื่องที่ยากประเมิน 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ