จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? "เมื่อแซงก์ชั่นรุนแรงถึงขั้นยุติการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สงครามรัสเซีย-ยูเครน เริ่มบานปลาย มาตราการแซงก์ชั่น จาก สหรัฐและชาติตะวันตกแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อไปกระทบกับการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ผลที่ตามมาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

สงครามรัสเซีย-ยูเครน รุนแรงขึ้น การสังหารพลเรือนจำนวนมากส่งผลทำให้มีผู้ลี้ภัยหลายล้านคน ประชาคมโลกออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านการกระทำที่รุนแรงของรัสเซีย ไปจนถึงขั้นใช้มาตรการแซงก์ชั่น (คว่ำบาตร) 

ราคาทองวันนี้ 9 มี.ค. พุ่ง 900 บาท หลังสหรัฐ-ตะวันตกแซงชั่นรัสเซียหนัก

รัสเซียประกาศรายชื่อ 48 ประเทศ “ไม่เป็นมิตร” มีไต้หวัน ยังไร้ไทย

ล่าสุด สหรัฐยกระดับการแซงก์ชั่นรุนแรงขึ้น เมื่อ ปธน. โจ ไบเดน ประกาศว่า สหรัฐฯ จะห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย ด้วยปริมาณการส่งออกน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันวันละประมาณ 7 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สหรัฐเองคือผู้นำเข้าน้ำมันที่มากที่สุดในโลก

ยิ่งไปกว่านั้นอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันและน้ำมันเบนซินพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในสหรัฐและสหภาพยุโรป ส่งผลกระทบรุนแรงไปยังผู้บริโภค ธุรกิจต่างๆ ตลาดการเงิน และอาจลุกลามไปจนถึงเศรษฐกิจโลก

แต่นักวิจารณ์ของรัสเซียกลับ มองว่า นี่อาจเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ถอนกำลังออกจากยูเครน

1. ทำไม? สหรัฐทำได้เร็วแต่ยุโรปยังลังเล

การแซงก์ชั่นห้ามการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากสหภาพยุโรปร่วมด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าสหภาพยุโรปจะตอบรับการแซงชั่นที่รุนแรงขึ้นนี้หรือไม่

มีเพียงท่าทีของอังกฤษที่มีแผนยุติการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียในสิ้นปีนี้ เนื่องจากหลายประเทศในยุโรปยังต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะ "ก๊าซธรรมชาติ" จากรัสเซีย เช่น โครงการท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ของรัสเซียไปเยอรมนี

ตรงนี้เองคือข้อแตกต่างจากสหรัฐที่อาจทำให้ยุโรปอาจต้องคิดหนัก เพราะสหรัฐสามารถหาพลังงานเชื้อเพลิง น้ำมัน มาทดแทนการนำเข้าจากรัสเซียได้แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยลง แต่กลับยุโรปไม่เป็นเช่นนั้นจึงไม่อาจตัดสินใจตอบรับมาตรการแซงก์ชั่นที่รุนแรงขึ้นได้ในทันที

Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีเยอรมนี Olaf Scholz  ชี้แจงว่า เยอรมนีพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียรายใหญ่ที่สุดในยุโรป จึงไม่มีแผนที่จะเข้าร่วมในการห้ามนำเข้าพลังงานใดๆ จากรัสเซีในขณะนี้

2.ยุโรปจะไปต่อหรือไม่?

อย่างที่กล่าวไป เป็นเรื่องที่สหภาพยุโรปตัดสินใจยากมาก เพราะยุโรปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียประมาณ 40%  ของการใช้พลังงานในระดับครัวเรือน ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม หรือประมาณ 1 ใน 4 พลังงานน้ำมันของยุโรปมาจากรัสเซีย ซึ่งการหาจากแหล่งอื่นมาทดแทนต้องใช้เวลา

ด้านท่าทีของอังกฤษระบุว่า จะใช้เวลาที่เหลือของปีนี้ยุติการนำเข้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อมีเวลามากพอที่จะหาแหล่งอื่นๆ มาทดแทนการนำเข้าของรัสเซีย ซึ่งคิดเป็น 8% ของความต้องการในสหราชอาณาจักร

โรเบิร์ต ฮาเบ็ค รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนี บอกว่ามาตรการแซงก์ชั่นกระทึ้นเพื่อกดดันเศรษฐกิจรัสเซียและระบอบการปกครองของ ปธน.ปูติน แต่เราก็ต้องคิดอย่างรอบคอบเช่นกัน เพราะหากด่วนตัดสินใจผลของมันอาจนำมาสู่สิ่งที่ตรงข้ามกัน

3. แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการใช้มาตรการแซงชั่น “ห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย”

การแซงชั่นที่รุนแรงนี้ดันราคาน้ำมันเบนซินในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น แน่นอนว่าฝั่งทำเนียบขาวต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่ทางทำเนียบขาวก็ส่งสัญญาณว่าการแซงก์ชั่นเรื่องพลังงานนี้สหรัฐอาจทำโดยลำพังหรือร่วมกับกลุ่มพันธมิตรอื่นๆ ด้วย

“ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะทำสิ่งเดียวกันทุกประการ” เวนดี้ เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว  

4. แซงก์ชั่น “ห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย” มีผลต่อรัสเซียเองหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญ มองว่า รัสเซียจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้น้อย เพราะแม้ว่าสหรัฐจะเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันมากที่สุดในโลก แต่กับรัสเซียแล้ว มีสัดส่วนที่น้อยและไม่มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติอื่นๆ 

จากข้อมูลเมื่อปี 2021 สหรัฐนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพียง 8% มูลค่า 245 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนนำมาใช้ในการผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประมาณ 672,000 บาร์เรลต่อวัน แต่การนำเข้าน้ำมันของรัสเซียจะน้อยลงเพราะผู้บริโภคหันไปใช้พลังงานอื่นๆทดแทนการใช้น้ำมัน

ปริมาณน้ำมันที่สหรัฐฯ นำเข้าจากรัสเซียมีปริมาณน้อย และรัสเซียอาจขายน้ำมันนั้นที่อื่นได้ เช่น จีน อินเดีย แทน แม้ว่าจะอยู่ในราคาที่ถูกลงมากเพราะสัดส่วนผู้ซื้อน้อยลงเรื่อยๆ  

แต่ก็มีความเป็นได้ว่า หากในท้ายที่สุดรัสเซียถูกจำกัดการนำเข้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้นในฝั่งอิหร่านหรือเวเนซุเอลาจะมีบทบาทมากขึ้น อาจส่งผลทำให้ราคาน้ำมันอ่อนลงหรือกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น

ด้านโฆษกทำเนียบขาว  แจ้งว่า ทีมเจ้าหน้าที่บริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน อยู่ในเวเนซุเอลาเพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางราย มองว่า การยกระดับการแซงชั่น จะไปกดดันราคาน้ำมันในรัสเซียและจะทำให้รายได้ของรัสเซียลดลง เพราะในทุกบาเรลที่ขายได้ลดลงทำให้รายได้ของรัสเซียหายไป ซึ่งคำถามสำคัญคือ “ฝั่งสหภาพยุโรปเห็นดีด้วยหรือไม่”

 

5. การห้ามนำเข้าน้ำมันของรัสเซียมีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกและอาจนำไปสู่ตำแหน่งของไบเดน 

หลังจากมีรายงานข่าวจากสหรัฐถึงการหยุดเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ย่อมส่งให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอาจแต่ะระดับ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากผู้ซื้อหลีกเลี่ยงน้ำมันดิบของรัสเซีย เช่น ยักษ์ใหญ่อย่างเชลล์ ประกาศ หยุดซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และปิดสถานีบริการเชื้อเพลิงที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบิน หลังถูกรัฐมนตรีต่างประเทศของยูเครนวิพากษ์วิจารณ์บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่แห่งนี้ว่ายังคงซื้อน้ำมันรัสเซียต่อไป

นักวิเคราะห์ด้านพลังงาน เตือนว่า ราคาอาจสูงถึง 160 ดอลลาร์หรือ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหากผู้ซื้อยังคงหลีกเลี่ยงน้ำมันดิบของรัสเซีย แนวโน้มดังกล่าวอาจทำให้ราคาน้ำมันเบนซินของสหรัฐพุ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ต่อสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐโดยเฉพาะผลโดยตรงต่อตำแหน่ง ปธน.ของ โจ ไบเดน หากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6.ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณการหยุดนำเข้าน้ำมันของรัสเซียจากสหรัฐแล้วหรือยัง?

การยกระดับการแซงก์ชั่นของสหรัฐมีเป้าหมาย เพื่อคลี่คลายความรุนแรงและความขัดแย้งของรัสเซีย-เครน ขณะที่อีกด้านหนึ่งสหรัฐมีเป้าหมายในการลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ  ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีการแซงชั่นโรงกลั่นบางแห่งของสหรัฐก็ยุติการทำสัญญากับรัสเซีย ซึ่งก็ทำให้การนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียลดลงเช่นกัน

แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องการแซงก์ชั่นเข้ามาด้วย ข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ จึงคาดว่า การนำเข้าน้ำมันดิบของรัสเซียจะลดลงเหลือศูนย์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์

7.ท่าทีรัสเซียเป็นอย่างไร?

อเล็กซานเดอร์ โนวัก รองนายกรัฐมนตรีแห่งรัสเซีย เน้นย้ำว่า รัสเซียมีสิทธิ์ที่จะหยุดการขนส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปผ่านท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 เพื่อตอบโต้เยอรมนีที่ระงับท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 แต่เรายังไม่ได้ตัดสินใจที่จะทำเพราะไม่มีใครจะได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ตีความได้ว่ารัสเซียยังไม่ได้มีเจตนาที่จะหยุดส่งก๊าซไปยังยุโรป

หยุดนำเข้าน้ำมันมันง่ายกว่าก๊าซธรรมชาติ ประเทศอื่นสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันและส่งไปยังยุโรปได้ แต่ก็อาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นไปอีกเพราะการขนส่งที่ไกลกว่าเดิม อเล็กซานเดอร์ โนวัก รองนายกรัฐมนตรีแห่งรัสเซีย กล่าว

หากดูจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากผลพวงของการแซงก์ชั่นรัสเซียที่รุนแรงขึ้นของสหรัฐ สหภาพยุโรปอาจอยู่ในจุดที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก และอาจได้ไม่คุ้มเสียหากตอบรับมาตรการดังกล่าว ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกจับตาพอๆกับที่ยุโรปต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมากๆ เช่นกัน

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ