
เปิดยอดใช้เงินกู้ 1.3 ล้านล้านบาท ออกมาตรการช่วงโควิด-19 ระบาด 2 ปี
เผยแพร่
สภาพัฒน์แจง “เปิดยอดใช้เงินกู้ 1.3 ล้านล้านบาท” รัฐบาลใช้เงินออกมาตรการช่วงโควิด-19 ระบาด 2 ปี
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึง ภาพรวมของการใช้จ่ายเงินกู้ ผ่าน พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติม วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ใช้จ่ายอย่างไรบ้าง โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ภาพรวม ณ วันนี้ ทั้งหมด 1.3 ล้านล้านบาท โดยประมาณ คือ
ผ่างบประมาณ 80,000 กว่าล้านบาท อุ้มค่าครองชีพคนไทย 40 ล้านคน กลุ่มไหนได้บ้าง?
เช็ก 10 มาตรการ ครม. อนุมัติช่วยประชาชน ลดค่าก๊าซหุงต้ม-ค่าไฟ-น้ำมัน
- ด้านสาธารณสุข 213,581.51 ล้านบาท
- เยียวยาประชาชน 869,430.94 ล้านบาท
- รักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและการกระตุ้นการบริโภคในระบบเศรษฐกิจ 273,508.24 ล้านบาท
ล่าสุด มีวิกฤตความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย เกิดขึ้น ถือว่าเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต โดยมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้น สภาพัฒน์ฯ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
- อัตราเงินเฟ้อ กรณีที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2565 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.0
- ภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากแนวโน้มการลดลงของนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดในช่วงต้นปี แต่ยังคงเชื่อมั่นว่าจะยังสามารถขยายตัวอย่างน้อยได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0
อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งจะยังคงยืดเยื้อไปอีกระยะหนึ่งแน่นอน และคงจะกินเวลายาวนานกว่าจะหาข้อยุติได้ แม้ว่าการสู้รบจะจบลง แต่มาตรการ sanction ก็จะยังคงอยู่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อราคาพลังงานด้วยเช่นกัน รวมถึงราคาสินค้าในบางตัว โดยการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าก็อยู่ที่ร้อยละ 24 ของจำนวนสินค้าทั้งหมด จึงจำเป็นต้องออกมาตราระยะสั้นออกมาอีก 10 มาตรการ
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline