ไทยกำลังเจออะไร? จากศึกรัสเซีย-ยูเครน เมื่อผลกระทบตามมาหลังน้ำมันพุ่ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลกระทบเศรษฐกิจจากสงครามยูเครน หลังเกิดสงครามตั้งแต่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา เมื่อกองทัพรัสเซียบุกยูเครน ขณะนี้ได้ส่งผลไปทั่วแล้ว แต่ไทยจะได้รับผลกระทบแค่ไหน

จากสงครามรัสเซียที่เกิดขึ้น ได้กระทบต่อเศรษฐกิจไทยทันที เมื่อราคาน้ำมันและพลังงานทั่วโลกพุ่วทะยานขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อและต้นทุนสินค้าบริการปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ไม่เพียงแต่ราคาพลังงานเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสงคราม แต่ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เริ่มออกอาการ ซึ่งมีทั้งผลกระทบทางตรง ที่เศรษบกิจอิงกับรัสเซัยและยูเครนโดยตรง อาทิ ภาคท่องเที่ยว และผลกระทบทางอ้อม เมื่อสงครามดังกล่าวกระทบต่อประเทศคู่ค้า และเศรษฐกิจโลก

สงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบอุตฯยานยนต์โลก กำลังผลิตหาย 4 ล้านคันใน 2 ปี

เปิดกลยุทธ์ลงทุนรับสงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ 4 สถานการณ์ที่เป็นไปได้

  

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประเมินผลกระทบ ในรายงานนโยบายการเงิน ไตรมาส 1 ฉบับเดือนมีันาคม 2565 ว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ปะทุขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นเหตุ ให้ชาติพันธมิตรตะวันตกนาโดยสหรัฐฯ และกลุ่มชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ตอบโต้ โดยใช้มาตรการคว่าบาตรทางเศรษฐกิจและการเงิน (economic and financial sanctions) อย่างรุนแรงต่อรัสเซีย

พัฒนาการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของรัสเซียและยูเครนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปทั่วโลกในหลายมิติรวมทั้ง ประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครนต่อเศรษฐกิจไทยผ่าน 3 ช่องทางหลัก  ดังนี้

ผลกระทบผ่านราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ ความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจาก รัสเซียเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสาคัญหลายประเภท อาทิ น้ามัน (10% ของการส่งออก โลก) เหล็กดิบ (35%) แพลเลเดียม (25%) นิกเกิล (20%) ปุ๋ยเคมี (13%) และข้าวสาลี (8%)

ดังนั้น หลังสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรประกาศคว่าบาตรรัสเซีย ราคาสินค้า โภคภัณฑ์โดยรวมจึงปรับเพิ่มขึ้น โดย S&P Goldman Sachs Commodity Index (GSCI Index) ปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 171 เทียบกับสัปดาห์ก่อนการคว่าบาตร นอกจากนี้ การขาดแคลนสินค้าโภคภัณฑ์ข้างต้นอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าในห่วงโซ่อุปทานโลก (global supply chain) ได้ เช่น พาลาเดียมที่เป็นวัตถุดิบสาคัญสาหรับผลิตท่อไอเสีย รถยนต์และชิป semiconductor นิกเกิ้ลที่ใช้ในการผลิตสแตนเลสและแบตเตอรีรถยนต์ ไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุน การผลิตสินค้าและบริการของประเทศ ที่สะท้อนผ่านดัชนีราคาผู้ผลิต (producer price index: PPI) และหากผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนไม่ไหวจะส่งผ่านต้นทุนนี้ต่อไปยังราคา สินค้าและบริการของผู้บริโภค (consumer price index: CPI) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น

อัตราเงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินกรอบเป้าหมายและสูงสุดในช่วง ไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปี 2565 ก่อนทยอยลดลงและกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 (ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 USD/barrel จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.5) 2 ระดับราคาที่สูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง และในอีกด้านหนึ่ง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นยังส่งผลให้กำไรของผู้ประกอบการลดลง และอาจกระทบต่อเนื่องไปยังการลงทุนของภาคเอกชนได้ อุปสงค์ภายในประเทศ (domestic demand) ที่ลดลงทั้งการบริโภคและการลงทุนอาจส่งผลให้การฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทยชะลอลงบ้างในภาพรวม

ผลกระทบผ่านเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ผลของราคาพลังงานและสินค้า โภคภัณฑ์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น รวมทั้งความไม่แน่นอนของการตอบโต้ระหว่างสองฝ่าย กระทบต่อหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทย โดยเฉพาะประเทศ ในยุโรป ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทาให้อุปสงค์ต่างประเทศ (external demand) ลดลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ

การส่งออกสินค้า

เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้ม ชะลอลงด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการบริโภคและการลงทุนในไทย รวมถึงการเติบโต ของเศรษฐกิจไทยโดยรวม ทั้งนี้ หากกลุ่มประเทศ EU ได้รับผลกระทบมาก จะส่งผลที่มีนัย ต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกไปกลุ่มประเทศ EU ซึ่งเป็น ในขณะที่ผลกระทบโดยตรงจากการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนคู่ค้าสาคัญลาดับ 4 ของ ไทย โดยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกประมาณ 10% ของการส่งออกรวมมีไม่มากนัก เนื่องจาก การส่งออกไปยังสองประเทศดังกล่าวรวมกันแล้วมีมูลค่าเพียง 0.5% ของการส่งออกรวม

นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ความขัดแย้งในครั้งนี้ส่งผลให้จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มลดลงใน 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 4% ของจานวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เข้าไทยในช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 โดยอาจปรับลดลงมากจากผลของ การคว่าบาตรของชาติตะวันตกที่ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงกว่า 60% และช่องทาง ชำระราคาสินค้าและบริการถูกจากัดจากการที่ธนาคารรัสเซียหลายแห่งถูกตัดออกจากระบบ SWIFT3 รวมทั้งผู้ให้บริการชาระเงินรายใหญ่ เช่น VISA และ Mastercard ระงับ การให้บริการแก่ธนาคารรัสเซีย และ

(2) นักท่องเที่ยวชาวยุโรปซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 16% ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยในช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 ที่อาจ ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการปิดน่านฟ้าของรัสเซีย ทาให้ต้นทุนการเดินทางสูงขึ้น ซึ่ง นักท่องเที่ยวทั้งชาวยุโรปและชาวรัสเซียมีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทย

โดยเฉพาะในปี 2565 ที่นักท่องเที่ยวจีนยังเดินทางเข้ามาไทยได้น้อยจากมาตรการควบคุมการระบาดแบบเข้มงวด (Zero-COVID policy) ของรัฐบาลจีน

ผลกระทบผ่านตลาดการเงิน

มาตรการคว่าบาตรที่รุนแรงส่งผลให้บรรยากาศ การลงทุนทั่วโลกเข้าสู่ภาวะปิดรับความเสี่ยง (risk-off) ในช่วงแรก โดยนักลงทุนลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับลดลงทั่วโลก ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้น หลังนักลงทุนคลายความกังวล เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลง ในช่วงแรกร้อยละ 5 และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 3 จากช่วงก่อนหน้า4

อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวค่อนข้างจำกัด ส่วนหนึ่งเนื่องจากเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง จากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และหนี้ต่างประเทศที่อยู่ใน ระดับต่ำ

นอกจากนี้ ผลกระทบผ่านกองทุนรวมของไทยที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรรัสเซียมีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกองทุนรวมของไทยที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรรัสเซียมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.35 ของมูลค่าเงินลงทุนใน กองทุนรวมไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) อีกทั้งในช่วงที่ ผ่านมายังไม่เห็นสัญญาณการเร่งไถ่ถอนหน่วยลงทุนที่ผิดปกติ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ