เปิดแนวโน้มเงินเฟ้อ "พุ่งขึ้น" ทุกประเทศทั่วโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แนวโน้มเงินเฟ้อ “พุ่งสูง” ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาทั่วโลก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  คาดการแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วโลกปี 2565 คาดการณ์ว่าจะแย่ลงในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.7% ตลอดทั้งปีนี้ ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.7%  

จับตาสินค้าพาเหรดขึ้นราคาจากต้นทุนเพิ่ม ดันเงินเฟ้อพ.ค.พุ่ง

เงินเฟ้อขึ้นแรงปีนี้ ค่าใช้จ่ายครัวเรือน-ต้นทุนผู้ประกอบการ "พุ่ง"

ผลพวงที่ทำให้ “อัตราเงินเฟ้อ” พุ่งขึ้นทั่วโลก แน่นอนว่ามาจากสถานการณ์การรุกรานยูเครนจากรัสเซีย เมื่อเดือน ก.พ.หากย้อนไปดูก่อนเกิดสถานการณ์ความขัดแย้ง IMF ประเมินว่าปีนี้เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูง

โดยก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่า ประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.8% และ 2.8% ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา 

แสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งก่อนสงครามในยูเครนจะส่งผลกระทบต่อแหล่งพลังงานและอาหารทั่วโลก การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อก็ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานขยายเกินความจำเป็นหลังทั่วโลกเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่จากโควิด-19 ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน

ประเทศที่ประสบปัญหาความขัดแย้ง ความวุ่นวาย หรือปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ในปี 2565 คาดว่า จะเห็นอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 7.4% รวมถึง เวเนซุเอลา ซูดาน ซิมบับเว ตุรกี เยเมน อาร์เจนตินา รวมถึงอีก เกือบ 80 ประเทศ ทั้งจากประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา และอีก 60 ประเทศทั่วโลกคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 5%

สำหรับกลุ่มประเทศที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทะลุเพดานส่วนใหญ่ ยังเป็น  เวเนซุเอลา  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 500%

ซูดาน  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 245.1%

ซิมบับเว  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 86.7%

ตุรกี  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.5%

เยเมน  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 59.7%

อาร์เจนตินา  เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.7%

ส่วน ประเทศไทย แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบร้อยละ 4.0 - 5.0 (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์ ระบุ 

โดย ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ