อีกนานแค่ไหน? ราคาน้ำมันจะลง เมื่อการเมืองโลกส่งผลตลาดน้ำมันเปลี่ยนโฉม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




น้ำมันเป็นสินค้าการเมืองระดับโลก ทุกครั้งที่เกิดความขัดแย้ง จะตามมาด้วยความผันผวน แต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน กำลังทำให้ตลาดน้ำมันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

น้ำมันโลก นำมันไทย พุ่งทะยานต่อเนื่องนับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน ทำให้โลกตะวันตกประกาศมาตรการคว่ำบาตรหลายรอบ โดยต้องการลดพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

ราคาน้ำมันโลก ดูเหมือนจะขึ้นลงตามความสำเร็จของมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่อรัสเซีย หากมีข่าวจะเพิ่มมาตรการ ราคาน้ำมันก็จะขยับขึ้น เพราะคาดว่าน้ำมันจะหายไปจากตลาด แต่เมื่อมีข่าวมาตรการไม่ได้ผล ราคาก็จะขยับลง แม้จะประกาศคว่ำบาตรหลายครั้ง แต่บางประเทศในตะวันตกยังไม่สามารถทำได้

ผลกระทบ "เงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจไทย"

น้ำมันแพง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง-ไรเดอร์ โอดเงินหามาได้ไม่พอกินอยู่

 

 

ราคาน้ำมันช่วงก่อนและนับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน

รัสเซียบุกบูเครน นอกจากทำให้ภูมิรัฐศาสตรืการเมืองโลกเปลี่ยนโฉม นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ยังทำให้ตลาดสินค้าบริการทั่วโลกเปลี่ยนไปด้วย 

สินค้าสำคัญที่กระทบอย่างรุนแรงในเรื่องระดับราคา คือ พลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ปรับขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากสหรัฐและสหภาพยุโรป พากันออกมาตรการคว่ำบา่ตรครั้งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และเตรียมเพิ่มมาตรการมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ตลาดน้ำมันกำลังเปลี่ยนไป เมื่อประเทศผู้ปลิตน้ำมันแถบอาฟริกา เร่งผลิตส่งออกไปยังยุโรป เพื่อชดเชยน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย ในทางตรงกันข้าม รัสเซียก็เพิ่มการส่งออกไปยังเอเซีย แต่ใช้วิธีขนถ่ายผ่านเรือต่อเรือ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร

ตลาดน้ำมันกำลังเกิดการปเลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง จากก่อนหน้านี้เกิดการปฏิวัติการขุดน้ำมันจากชั้นหิน หรือ เชลออยล์ในสหรัฐ ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมหน้าตลาดครั้งใหญ่ แต่ในครั้งนี้ระสเซียกำลังหันไปหาเอเชียและจีน

เทรเดอร์กล่าวว่านับตั้งแต่สหรัฐและพันธบัตรนาโต ประกาศแซงชั่นรัสเซีย ได้กระตุ้นให้รัสเซีัยเบนเข็มออกจากตลาดยุโรป ไปหาตลาดอินเดียและจีน  ซึ่งฉวยจังหวัดซื้อด้วยราคาถูกจากราคาส่วนลดจากรัสเซีย 110 โดยราคาน้ำมันเคลื่อนไหวระดับ 110 ดอลลารฺ/บาร์เรล สูงสุดในรอบ 14 ปี

นักวิเคราะห์กล่าวว่าแม้ชาติตะวันตกจะสั่งระดับน้ำมันและก๊าซรัสเซีย แต่หากยังไม่สามารถบังคับประเทศในเอเชียได้ มาตรการก็ไม่ได้ผลตามที่คาดไว้ 

ตามมาตรการคว่ำบาตร ได้สั่งห้ามเรือสัญชาติรัสเซีย หรือ ติดธงรัสเซียเข้าเทียบท่า แต่นั่นกลับให้การซื้อขายอีกแบบเฟื่องฟู นั่นคือ การขนถ่ายหลางทะเล จากเรือรัสเซียไปสัญชาติอื่น โดยส่งไปในเอเซีย แม้จะมีความเสี่ยงอันตรายจากการขนถ่าย

อันที่จริง การขนถ่ายระหว่างเรือ แม้จะมีสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับการค้าโลก แต่ปริมาณก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนจุดเปลี่ยนถ่ายจากชายฝั่งเดนมาร์กไปใช้ทะเลเมดิตเอร์เรเนียน ซึ่งแนวโน้มการขนถ่ายกลางทะเล จากเรือรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรไปยังเรือที่ไม่ถูกคว่ำบาตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน

การเปลี่ยนแปลงการขนส่งน้ำมันนี้เอง ทำให้การส่งออกของรัสเซียไม่ได้รับผลกระทบ แม้จะมีมาตรการคว่ำบาตร โดยในเดือนเม.ย. ส่งออกเพิ่มขึ้นเหนือ 8 ล้านบาร์เรน เท่ากับระดับก่อนการบุกยูเครน

การชดเชยน้ำมันรัสเซีย บรรดาชาติตะวันตกได้หันไปนำเข้าน้ำมันจากอาฟริกาตะวันตก โดยในเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้นถึง 17% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระหว่างปี 2018-2021

ประเทศอาฟริกาตะวันตก เช่น ไนจีเรีย แองโกลา และแคมารูน ส่งออกน้ำมันไปยังประเทศตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป เพิ่มขึ้น 30% วันละประมาณ 660,000 บาร์เรล ในเดือนมี.ค. ในขณะที่ส่งออกไปยัะงอินเดียลดลงเหลือ 280,000 บาร์เรล/วันในเดือนเม.ย. เทียบกับเดือนมี.ค. ที่อินเดียนำเข้าถึง 510,000 บาร์เรล/วัน

นอกจากนี้ ประเทศในยุโรป ยังนำเข้าน้ำมันจากคลังน้ำมันที่อียิปต์ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าจริง ๆ แล้วก็คือน้ำมันจากซาอุดิอาระเบีย โดยปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 บาร์เรล/วันในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเดือนมี.ค.

สหรัฐยังเร่งส่งออกน้ำมันให้กับยุโรป โดยส่งออกเพิ่มขึ้น 15% จากเดือนมี.ค. เป็นสถิติรายเดือนสูงสุด จากก่อนหน้านี้ยุโรปลดการพึ่งพาน้ำมันดิบจากสหรัฐ

ตลาดน้ำมันโลกกำลังเปลี่ยนโฉมตามการเมืองโลก และอาจต้องใช้เวลาอีกนานกว่าราคาน้ำมันจะกลับมาสู่ระดับเดิม ๆ ก่อนภาวะสงคราม โลกคงอยู่กับราคาน้ำมันระดับกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรลไปอีกนาน

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ