8 ปีรัฐบาลบิ๊กตู่ ทั้งก่อน-หลังโควิด หนี้รัฐบาลเพิ่ม 5.23 ล้านล้าน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




8 ปีรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่ปี 2557 พบว่าหนี้รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งช่วงก่อนและหลังโควิด-19 จนนำไปสู่การแก้ไขขยายเพดานหนี้

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะตามมาตรา 50 โดยหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 60.58% ภายใต้พ.ร.บ.วินัย การเงินการคลัง ซึ่งมีการขยายเพาดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70%

ในปี 2557 เป็นปีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าบริหารประเทศท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ 43.33% ของจีดีพี เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,891,603.18 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 50.81% ของหนี้สาธารณะ

ประเทศที่มี “ภาระหนี้สาธารณะ” พุ่งสูงติดอันดับโลก

ราชกิจจาฯ ประกาศ ขยายเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% คาด ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2565 แตะ 62.69%

อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก

 

 

สัดส่วนหนี้สาธารณะตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565  โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) อยู่ที่ 60.58 ซึ่งยังภายใต้กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 70

รายละเอียด กรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามมารา 50  ดังนี้

  • สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  ร้อยละ 60.58 กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 70  หนี้สาธารณะ 9.9 ล้านล้านบาท  GDP  16.4  ล้านล้านบาท
  • สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณร้อยละ 26.77  กรอบที่กำหนด ไม่เกินร้อยละ 35 
  • สัดส่วนหนี้ฯ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ร้อยละ 1.79 กรอบที่กำหนด ไม่เกินร้อยละ 10
  • สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ อยู่ที่ ร้อยละ 0.07 กรอบที่กำหนด ไม่เกินร้อยละ 5   โดยที่ภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ  6,795 .69 ล้านบาท รายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ  10, 177,826. 46 ล้านบาท

สัดส่วนหนี้สาธารณะ 60.58% ของจีดีพี หรือ 9,951,962.73 ล้านบาท เป็นหนี้รัฐบาลกู้โดยตรง 8,129,540.46 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 81.69% ของหนี้สาธารณะ

หากนับตั้งแต่ปี 2557 ภายใต้การบริหารของพลเอกประยุทธ์ หนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้น 5,235,937.28 ล้านบาท โดยเป็นการกู้มาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนโควิด-19 และกู้มากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19  

นายธนกร  วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่าจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19  รัฐบาลจึงมีความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกู้เงิน ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้ปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  เป็นผลให้ช่วงเดือนมีนาคมนี้ มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศและทั่วโลก ที่มีแนวโน้มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว  ทำให้ความสามารถในการจัดเก็บรายได้สูงขึ้นประกอบกับการบริหารความเสี่ยงหนี้ต่างประเทศที่มีต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด และสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้ของการส่งออกและสินค้าอยู่ในระดับต่ำ

โฆษกรัฐบาล ยัน ไม่มีนโยบายถอดหน้ากากอนามัย

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผล 1 มิ.ย. นี้ คนไทยพร้อมไหม?

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ