เทียบค่าครองชีพ เม.ย.-พ.ค.65 เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 300 บาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เทียบค่าครองชีพ เม.ย.-พ.ค.65 เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 300 บาท จากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 7.10% สูงที่สุดในรอบ 13 ปี

ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่งประกาศออกมาล่าสุด 7.10% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 13 ปี โดยมีผลพวงหลักมาจาก กลุ่มสินค้าพลังงาน เทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น  37.24% และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น  6.18% เมื่อแยกดูค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ระหว่าง เดือน เม.ย. กับ เดือน พ.ค. พบว่า ภาพรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 246 บาท 

ราคาพลังงาน-อาหาร ดันเงินเฟ้อ พ.ค.พุ่ง 7.1% สูงสุดในรอบ 13 ปี

ปี 65 "ก่อสร้างเผชิญความท้าทาย"ต้นทุนสูง ทั้ง เหล็ก ปูนซีเมนต์ ค่าแรง

 

โดย 3 ค่าใช้จ่ายที่ต้อง จ่ายเพิ่มคือ กลุ่มอาหารเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ รวมถึงค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน และค่าโดยสารธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ 

ในเดือน เม.ย. ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 17,681 บาท ขณะที่เดือน พ.ค. ค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 17,927 บาท เพิ่มขึ้น  246 บาท  โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น คือ 

  • ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม  รองเท้า จาก 374 บาท เพิ่มเป็น 375 บาท 
  • ไข่และผลิตภัณฑ์นม จาก 374 บาท เพิ่มเป็น 377 บาท
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ จาก 384 บาท เพิ่มเป็น 385 บาท
  • เครื่องปรุงอาหาร จาก 428 บาท เพิ่มเป็น 433 บาท
  • ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งจาก 646 บาท เพิ่มเป็น 651 บาท
  • ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ จาก 750 บาท เพิ่มเป็น 752 บาท
  • ผักและผลไม้ จาก 919 บาท เพิ่มขึ้นเป็น  920 บาท
  • ค่าแพทย์ ค่ายา และบริการส่วนบุคคล จากเดิม 964 บาท เพิ่มเป็น 967 บาท 
  • อาหารบริโภคนอกบ้าน (ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง KFC Pizza) 1,211 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
  • อาหารบริโภคในบ้าน เดลิเวอรี่ จาก 1,572 บาท เพิ่มเป็น 1,577 บาท
  • เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ จากเดิม 1,667 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 1,719 บาท
  • ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน จากเดิม 3,919 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 3,950 บาท
  • ค่าโดยสารธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ จากเดิม 4,233 บาท เพิ่มเป็น 4,370 บาท 

นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า สัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือนระหว่างเดือน เม.ย.และเดือน พ.ค. มีการเปลี่ยนแปลง คือ 

ค่าโดยสารธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด เดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จาก 23.94% เป็น 24.38%

ส่วนค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน  เดือน พ.ค. ลดลงจากเดือน เม.ย. จาก 2.17% เหลือ 22.03% เป็นต้น

ต้นทุนวัสดุก่อสร้างขึ้น! ส่งสัญญาณราคาบ้านขึ้นตาม

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ