จับตา กนง.เร่งขึ้นดอกเบี้ย หวั่นไม่ทันเงินเฟ้อพุ่ง ทำข้าวของแพง-ค่าครองชีพสูง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คาดการณ์ กนง.เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเกินกรอบเป้าหมาย และเศรษฐกิจไทยแนวโน้มฟื้นตัว

กนง.เสียงแตก มติ 4:3 คงดอกเบี้ย 0.50% จ่อลดผ่อนคลายนโยบายการเงิน

นักลงทุนผวา “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยแรง กดดันตลาดหุ้นไทยผันผวนตามทั่วโลก

วิจัยกรุงศรี คาดการณ์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคมนี้ หลังส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้น ซึ่งจากการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดย 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 0.75% นับเป็นการเปลี่ยนท่าทีอย่างฉับพลันจากการประชุมครั้งก่อนอย่างชัดเจน

จากมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ดังกล่าว มีโอกาสสูงที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในปีนี้  เนื่องจากประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต (GDP) 3.3% จากเดิมคาด 3.2% ปัจจัยจากอุปสงค์ในประเทศ และแรงส่งการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยจำกัด

ขณะเดียวกัน กนง. ประเมินอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงเกินกรอบเป้าหมายตลอดทั้งปีนี้ ตามราคาพลังงานโลก และทำให้ต้นทุนสินค้าในประเทศสูงขึ้น ล่าสุดปรับคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้เพิ่มเป็น 6.2% จากเดิมคาด 4.9% เพราะลดการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ชี้ให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจช้าเกินไปเมื่อเทียบกับแนวโน้มของเงินเฟ้อ

โดยวิจัยกรุงศรี คาด กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไป และปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบเร่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยแม้มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่มูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปีนี้ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 7.1% จากปีก่อน สูงสุดในรอบกว่า 13 ปี ที่ สาเหตุหลักราคากลุ่มพลังงานปรับขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.28% เพิ่มขึ้นจาก 2.0% เดือนเมษายน สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 5.19% และ 1.72% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแนวโน้มสูงกว่า 7% ต่อเนื่องในเดือนถัด ๆ ไป เพราะราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานยังคงปรับสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง และยังมีแนวโน้มปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรในรอบต่อไปอีก (เดือนกันยายน-ธันวาคม)  

ด้านราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ ขณะที่ผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง  วิจัยกรุงศรี คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้มีแนวโน้มเฉลี่ยสูงขึ้นราว 6% จากเดิมคาด 4.8%

จับตา! ปรับเพดานตรึงราคาน้ำมันดีเซล แตะ 38 บาท/ลิตร

“ทองคำ” ระยะยาวยังขาขึ้น ปัจจัยเงินเฟ้อรุนแรง แนะมีติดพอร์ตลงทุน 5-10%

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ