ไร้ข้อสรุป เคาะเงินโรงกลั่นน้ำมันเอกชน หนุนให้กองทุนน้ำมันฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วันนี้ยังไม่มีข้อสรุป สำหรับตัวเลขที่โรงกลั่นน้ำมันเอกชน จะนำกำไรส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อช่วยลดราคาน้ำมันให้ประชาชน โดยคาดว่าภายในเดือนนี้จะได้ข้อสรุป

ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลกำลังดูแลความมั่นคง เสถียรภาพพลังงาน ไม่ให้เกิดความขาดแคลน เพื่อให้การประกอบธุรกิจ เศรษฐกิจ เดินหน้าต่อไปได้ รวมทั้งจะต้องดูแลราคาพลังงาน ไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนมากเกินไป โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล และก๊าซหุงต้ม ที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนเป็นวงกว้าง พร้อมกับย้ำว่าราคาน้ำมันของไทย เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านยังต่ำ อยู่ในลำดับที่ 7 หรือ 8 จาก 10 ประเทศของอาเซียน

"ประยุทธ์"​ชู 3 หลักคิดสู้วิกฤตพลังงาน ลั่นราคาต้องไม่กระทบค่าครองชีพ

“สุพัฒนพงษ์” ขออย่ากดดัน เรียกค่ากลั่นน้ำมันหนุนกองทุนฯ คาดสัปดาห์นี้รู้ผล

ขณะที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า วันนี้ยังไม่มีข้อสรุปตัวเลขที่โรงกลั่นน้ำมันเอกชนจะนำเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หลังจากที่หารือกับโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 6 แห่ง แล้ว โดยให้เชิญนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มาพูดคุย ถึงตัวเลขค่าการกลั่นที่ถูกต้องว่าเป็นตัวเลขไหน เนื่องจากตัวเลขของนายกรณ์ กับของโรงกลั่นไม่ตรงกัน จึงทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งจะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาหาจุดสมดุล ซึ่งเชื่อว่าภายในเดือนนี้จะได้ข้อยุติ

นายสุพัฒนพงษ์ ยืนยันว่า ประเทศไทยไม่ขาดแคลนพลังงาน และ ราคาต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน บางประเทศที่ราคาถูกกว่าไทย แต่อาจจะมีน้ำมันน้อย หรือไม่มีน้ำมันให้เติมก็ได้ ให้ลองไปหาเติมดู ดังนั้นสถานการณ์พลังงานของไทย ดีกว่าหลายประเทศ

รองนายกรัฐมนตรี ย้ำว่ากระบวนการที่ทำตอนนี้คือการขอความร่วมมือ เพราะทุกคนเห็นความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ถ้าหากไม่ได้ก็ค่อยไปดูในเรื่องของการใช้กฎหมาย ซึ่งกระทรวงพลังงานเตรียมการไว้แล้ว โดยการใช้พ.ร.บ.น้ำมันเชืัอเพลิง

นอกจากไทยแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่เผชิญวิกฤตด้านพลังงานเช่นกัน เช่น สปป.ลาว เจอทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ น้ำมันแพง และขาดตลาด โดยเมื่อช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีภาพของชาวลาวต้องไปต่อคิวรอเติมน้ำมันนานเป็นชั่วโมง บางคนมาขอซื้อใส่ขวดน้ำแบบลิตรเพื่อกักตุน ขณะที่ปั๊มบางส่วนที่ไม่มีน้ำมันจะจำหน่าย ต้องตัดสินใจปิดให้กิจการ

สาเหตุหลักๆ มาจาก รัฐบาลนำเข้าน้ำมันลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เงินกีบอ่อนค่า ทำให้ขาดเงินดอลลาร์ ไปซื้อน้ำมันจากประเทศอื่น

เมียนมา ก็มีภาพของประชาชนแห่ต่อคิวซื้อน้ำมันเช่นกัน นอกจากนี้หลายพื้นที่ในประเทศยังเจอกับปัญหาถูกตัดไฟฟ้า เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

ส่วนที่ฟิลิปปินส์ ราคาน้ำมันทั้งดีเซลและเบนซินปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี และทำสถิติสูงสุด 53.63 บาทต่อลิตร เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เช่นเดียวกับราคาสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ปรับขึ้นตามไปด้วย

เวียดนาม ก่อนหน้านี้รัฐบาลออกมาขอความร่วมมือให้ประชาชนประหยัดพลังงาน และเตือนถึงปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน เนื่องจากปริมาณถ่านหินที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามีจำกัด

นอกจากในอาเซียนแล้ว ประเทศที่เผชิญกับวิกฤตพลังงาน ยังมีกลุ่มประเทศในอียู ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากยังต้องพึ่งพาก๊าซและน้ำมันส่วนใหญ่จากรัสเซีย นอกจากนี้ ยังมีปากีสถาน ศรีลังกา เนปาล ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา และไนจีเรีย

หมดยุคทอง "ฟู้ดเดลิเวอรี" คนกลับไปทำงาน-ต้นทุนพุ่ง-แข่งเดือด

น้ำมันโลก ดิ่ง 6 ดอลลาร์ ผวาเศรษฐกิจถดถอย จับตาสหรัฐฯยกเว้นภาษีตรึงราคา

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ